โรคของต่อมลูกหมาก

โรคของต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่จะเกิดกับผู้ชายทุกคนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในจำนวนนี้มะเร็งของต่อมลูกหมากเป็นโรคอันตราย

 

โรคของต่อมลูกหมาก

โรคของต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่จะเกิดกับผู้ชายทุกคนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในจำนวนนี้มะเร็งของต่อมลูกหมากเป็นโรคอันตราย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาในระแรก จะสร้างความทรมานแก่ผู้ป่วยอย่างมากเป็นการทำลายคุณภาพชีวิตในวัยทองของตน ในปัจจุบัน

ปรากฏว่ามะเร็งของต่อมลูกหมาก เป้นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด เป็นอันดับสองของมะเร็งในผู้ป่วยเพศชาย

มะเร็งของต่อมลูกหมาก สามารถตรวจพบได้ในระยะแรก และเมื่อตรวจพบแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้

การปฏิบัติตนเองเพื่อการตรวจค้นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก

1.การตรวจสุขภาพประจำปี ครอบคลุมโรคของต่อมลูกหมาก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1.1 ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งของต่อมลูกหมากได้แก่(ปู่ ตา บิดาและพี่ชายร่วมสายโลหิต) เมื่ออายุเกิน 40 ปี จะต้องได้รับการตรวจต่อมลูกหมาก ในการตรวจสุขภาพประจำปี ทุกๆปี อย่างสม่ำเสมอ

1.2 บุคคลทั่วไปเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจสุขภาพครอบคลุมโรคของต่อมลูกหมากปีละ1ครั้ง

2.ผู้ที่มีอาการของต่อมลูกหมากโตผิดปกติ จะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อความมั่นใจ อาการของต่อมลูกหมากโต ได้แก่

- ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน(เกินกว่า2ครั้ง)

- ปัสสาวะบ่อย (เร็วกว่า 2 ชั่วโมง)

- ปัสสาวะไม่สุด กะปริบกะปรอย

- กลั่นปัสสาวะไม่ได้ มีปัญหาราดเล็ด

- ปัสสาวะไม่พุ่ง

- ปัสสาวะไม่หยด เปรอะเปื้อนมือเท้า

- ต้องออกแรงเบ่ง เวลาถ่ายปัสสาวะ

การตรวจของแพทย์ ดำเนินเป็นขั้นๆ ดังนี้

1.การตรวจโดยแพทย์ทั่วไป แพทย์จะสั่งตรวจ

- น้ำปัสสาวะ เพื่อตรวจว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยหรือไม่ หากมีการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการรักษาเริ่มต้นพร้อมกันไป

- ตรวจเลือด เพื่อวิเคราะห์สภาพของไต(ส่งตรวจCREAYININE หรือ B.U.N.) ว่ามีการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะเพียงไร การตรวจเลือดหาปริมาณของ ENZYME ซึ่งผลิตในต่อมลูกหมาก เรียกว่า P.S.A. (Prostatic Specific Antigen) หากพบสูงในเลือด (ค่าปกติ 4ng%) จะนำไปสู่การพิจารณา เพราะอาจเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากได้

2. การตรวจโดยแพทย์ของระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อแพทย์ทั่วไปได้พบการเปลี่ยนแปลงในน้ำปัสสาวะในเลือดแล้ว หรือเมื่อผู้ป่วยมีอาการของต่อมลูกหมากโต (7 ข้อความ กล่าวแล้ว) จะส่งให้แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะตรวจวิเคราะห์ต่อไป โดยจะทำการตรวจตามขั้นตอน คือ

2.1 ใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนัก เพื่อคลำต่อมลูกหมากว่ามีขนาดโตเพียงไร มีปุ่มก้อนเนื้อคลำได้หรือไม่ และต่อมลูกหมากมีความแข็ง และเคลื่อนไหวได้เพียงไร

2.2 หากพบก้อนในต่อมลูกหมากจะต้องทำการตรวจในขั้นต่อไป คือ การตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound ทางทวารหนัก พร้อมกับพิจารณาเจาะชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก ในบริเวณที่เป็นก้อนออกมาตรวจ ยืนยันการเป็นมะเร็งอีกครั้งหนึ่ง

2.3 หากการตรวจโดยเครื่องมือไม่พบก้อน และต่อมลูกหมากไม่แข็งกว่าปกติ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยมาตรวจวัดปริมาณของ PSA ในเลือดในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน หากผลของ PSA ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นไม่มาก โอกาสเป็นมะเร็งจะน้อย ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายติดตามดูต่อไปอย่างใกล้ชิน หากผลของ PSA สูงมากกว่าเดิม จะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจด้วย Ultrasound และเจาะเอาชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากออกมาวิเคราะห์ด้านมะเร็งและเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าติดตามต่อไป

การตรวจของแพทย์ทางระบบทางเดินปัสสาวะ จะเป็นการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ว่าต่อมลูกหมากเป็นโรคชนิดใดและควรจะได้รับการรักษาด้วยวิธีใด จึงจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตในระยะวัยทองได้อย่างมีความสุข

LINETwitterFacebook

แพทย์

FAQ

<