ไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) มีความชุกร้อยละ 1.2 ของประชากรทั่วไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการของไทรอยด์เป็นพิษ             อาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยอาการที่พบได้ มีดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารได้ดีแต่น้ำหนักตัวลดลง ชีพจรเต้นเร็ว จังหวะไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย อ่อนเพลีย มีอาการสั่น โดยเฉพาะมือ ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย วิตกกังวลง่าย ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือท้องเสีย ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอบวม หรือโตขึ้น นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประจำเดือนมาน้อยลงในเพศหญิง ในผู้สูงอายุอาจมาด้วยอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF) เหนื่อยเวลาออกแรง, ตัวบวม ขาบวม, รับประทานอาหารได้น้อยและน้ำหนักตัวลดลง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหลายระบบ การรักษาอย่างถูกต้องจะสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค   สาเหตุของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ พยาธิกำเนิด และแนวทางการรักษา สาเหตุ พยาธิกำเนิด แนวทางการรักษา -Graves’s disease โรคเกรฟส์ เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด TSH receptor antibodies (ร่างกายมีภูมิต่อสู้เนื้อเยื่อไทรอยด์ตนเอง) - ยาต้านไทรอยด์อย่างน้อย 12 – 18 เดือน - รังสีไอโอดีน - ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ -Nodular thyroid disease (ก้อนที่ไทรอยด์แบบมีพิษ พบมากในผู้สูงอายุ) Activating somatic mutation TSH receptor gene หรือ Gs-alpha - ยาต้านไทรอยด์ตลอดชีวิต  - รังสีไอโอดีน - ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ -Thyroiditis (ต่อมไทรอยด์อักเสบ) การอักเสบของต่อมไทรอยด์ทำให้มีการปลดปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์ ให้ยาลดการอักเสบ (NSAID’s glucocorticoids) -TSH producing pituitary adenoma (เนื้องอกต่อใต้สมอง) ก้อนที่ต่อมใต้สมองหลั่ง TSH มากกว่าปกติ ผ่าตัดก้อนที่ต่อมใต้สมอง -Ectopic thyroid hormone production การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์จากอวัยวะอื่น เช่น เนื้องอกรังไข่ (struama ovarii) ผ่าตัดเนื้องอก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง Insulin จากตับอ่อน หรือ การออกฤทธิ์ของ Insulin ผิดปกติ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน เป็นโรคที่พบบ่อย 10.2% ของประชากรอายุ >35 ปี   เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน นพ.พงษ์สันติ์ ลี้สัมพันธ์ อายุรแพทย์โรคเบาหวาน ต่อมไร่ท่อ และเมแทบอลิซึม           โรคเบาหวาน คือภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง Insulin จากตับอ่อน หรือ การออกฤทธิ์ของ Insulin ผิดปกติ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน เป็นโรคที่พบบ่อย 10.2% ของประชากรอายุ >35 ปี อาการของโรคเบาหวาน           ดื่มน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย ตัวมัว เพลีย น้ำหนักตัวลดลงดดยอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุอื่น           ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาโรคเบาหวานในบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อนและไม่มีอาการผิดปกติ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ 1. อายุ _> 45 ปีถ้าหากผลตรวจปกติ ควรตรวจซ้ำทุก3ปี 2. ผู้ที่ควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 45 ปี หรือต้องมีการตรวจซ้ำเป็นระยะถี่ขึ้น ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ -          ดัชมีมวลกาย_> 25 (คำนวณจาก(น้ำหนัก(kg) / ส่วนสูง (เมตร)) -          ประวัติโรคเบาหวานในญาติ เช่น มี พ่อ แม่ พี่ น้องเป็นเบาหวาน -          ประวัติคลอดบุตรน้ำหนัก มากว่า 4 กิโลกรัม หรือประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ -          ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90mmHh                 -          ไขมันในเลือดผิดปกติ HDL<35 mg/dl, Triglyceride _> 250mg/dl -          เคยพบน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง_>100 mg/dl -          ออกกำลังกายน้อย -          มีโรคของหลอดเลือด -          เป้นโรคถุงน้ำรังไข่ (Pilycystic Ovarian Syndrome) การวินิจฉัย 1. งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี แคลอรี่ เป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ลัวเจาะระดับน้ำตาลในเลือดได้ _>126mg/dl 2ครั้ง ต่างวันกัน 2. มีอาการของโรคเบาหวาน ร่วมกับ ผลน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ของวัน ดดยไม่คำนึงถึงเวลาที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย ได้ _>200mg/dl HbA คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด ในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป้าหมายในการรักษา คือ ควบคุมให้ระดับ HbA1c _< 6.5 หรือ7(แล้วแต่ประเภทของผู้ป่วย) ค่านี้มีประโยชน์เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ควบคุมอาหารอย่างดีเพียง 1-2 วัน ก่อนวันพบแพทย์ ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลที่ตรวจพบดี แต่ความเป็นจริงคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มิได้ควบคุมตนเอง ซึ่งค่าHbA จะสูง ฟ้องให้เห็นทำให้แพทย์สามารถเห็นค่าน้ำตาลที่แท้จริงได้และหากค่า HbA ยิ่งสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง (หรืออันตรายภัยเงียบจากเบาหวาน) 1. หลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย 2. หลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดภาวะอัมพาต อัมพฤกษ์ 3. หลอดเลือดส่วนปลายที่ขา ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาไม่เพียงพอ มีอาการปวดน่องเวลาเดิน และอาจทำให้เกิดแผลที่เท้าเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง 4. จอประสาทตา ผู้ป่วยได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากพบความผิดปกติ สามารถรักษาได้โดยการ Laser เพื่อป้องกันระดับสายตาเสื่อมลงและตาบอด 5. ไต ขั้นแรกจะตรวจพบ ไข่ขาว รั่วออกมาในปัสสาวะ และหากไม่ระวังดูแลให้ดีอาจทำให้เกิดภาวะไตวายในอนาคตได้ 6. เส้นประสาท อาการที่พบบ่อยคือ มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อน หรือปวดรุนแรงหรือรู้สึกชาแบบเหน็บชา หรือเหมือนถูกเข็มแทง โดยมักมีอาการที่ปลายเท้า และปลายมือก่อน หากไม่อยากให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานดังกล่าว ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี ตั้งแต่แรกวินิจฉัย รวมทั้งตรวจหาและรักษาปัจจัยเสี่ยงที่พบร่วมอันได้แก่ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 30-60 นาที ต่อครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน                   1.      ควบคุมอาหาร โดยลด ข้าว แป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลโดยเฉพาะ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และนมเปรี้ยว 2.      ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 30-60 นาทีต่อครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ 3.      งดสูบบุหรี่ 4.      รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์แนะนำ 5.      รักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบร่วม ได้แก่ ความดัน โลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง 6.      หากมีอาการผิดปกติ เช่นอาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากระดับน้ำตาลจะแกว่งสูงหรือต่ำได้มาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม