ค่า PSA เท่าไรถึงจะถือว่าผิดปกติ

การตรวจ PSA สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก       มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของมะเร็งที่คร่าชีวิตของผู้ชาย รองจากมะเร็งปอด พบว่าผู้ชาย 1 คน ในทุก 10 คน จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า มะเร็งต่อมลูกหมากมักไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทั่ว ๆ ไป        ที่กล่าวเช่นนี้เป็นเพราะว่า ส่วนมากแล้วมะเร็งทุกชนิด มักไม่แสดงอาการในระยะแรกเริ่มให้เห็น แต่จะมารู้ตัวว่าเป็น ก็แสดงอาการในระยะที่  2 ที่ 3 เข้าไปแล้ว ดังนั้น วิธีการตรวจคัดกรองหรือตรวจหาว่ามีความผิดปกติของการเกิดมะเร็ง จึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีในการระมัดระวังตัวเอง ให้ห่างไกลจากมะเร็ง (Prostate-specific antigen; PSA) ซึ่ง พีเอสเอ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก พีเอสเอ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของต่อมอสุจิที่ทำให้มีลักษณะเป็นน้ำ ส่วนใหญ่ พีเอสเอ มักจะออกจากร่างกายระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ แต่มีปริมาณน้อยที่จะสามารถเข้าสู่กระแสเลือด ค่าปกติ ของ PSA      ค่าปกติของ PSA  อยู่ในช่วง 4 ถึง 10 ng/mL ในช่วงอายุที่แตกต่างกันอาจมีระดับของ PSA ที่ไม่เท่ากันได้ แต่จะไม่สูงเกิน10 ng/mLกรณีที่มีการตัดต่อมลูกหมากไปแล้วเพื่อรักษามะเร็งจะมีระดับPSA เป็น 0 ได้ แต่ยังต้องมีการตรวจระดับ PSA เพื่อติดตามอาการต่อไป หากพบว่ามีระดับสูง อาจเกิดเนื่องจากการพบการกระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งไม่สามารถกำจัดออกได้หมด ระดับ PSA ที่ตรวจพบบ่งชี้ถึงโอกาสในการเกิดมะเร็งที่แตกต่างกันได้   ระดับ Standard PSA โอกาสในการเกิดมะเร็ง ระดับ free PSA โอกาสในการเกิดมะเร็ง 0-2 ng/mL 1% 0-10% 56% 2-4 ng/mL 15% 10-15% 28% 4-10 ng/mL 25% 15-20% 20% >10 ng/mL >50% 20-25% 16%     >25% 8%  ผลจากการวัดค่า พีเอสเอ มีความหมายอย่างไร            ถ้าการตรวจทางทวารหนักและค่า พีเอสเอ ปกติเป็นที่น่าพอใจ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจโรคเพิ่มเติม แพทย์อาจจะแนะนำให้มาตรวจทั้งทางทวารหนักและค่า พีเอสเอ ปีละหนึ่งครั้ง ถ้าค่าพีเอสเอสูงหรือการตรวจทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากมีความผิดปกติ แพทย์ก็จะนำชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ           ย้ำอีกครั้งว่า การตรวจวัดค่า พีเอสเอ เพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่หนทางที่เพียงพอนัก จึงอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมทางทวารหนัก และพิจารณาจากอายุ ซึ่งทั้งหมดจะถูกนำมาประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต่อไป อะไรเป็นสาเหตุให้พีเอสเอมีการเปลี่ยนแปลง           บางครั้งค่า พีเอสเอ ที่สูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากเหตุผลอื่น ๆ นอกเหนือจากมะเร็งก็ได้ เพราะการมีต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ การมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้ส่งผลต่อระดับ พีเอสเอ ซึ่งรวมทั้งการตรวจทางทวารหนัก และการรับประทานยาก็อาจทำให้ค่า พีเอสเอ เปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อฮอร์โมน เป็นต้น  ควรได้รับการตรวจค่าพีเอสเอหรือไม่        ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในยุโรป มีการแนะนำให้มีการตรวจต่อมลูกหมากปีละครั้ง สำหรับผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และคาดหวังว่าจะสามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้อย่างน้อย 10 ปี สำหรับผู้ชายที่มีอัตราเสี่ยงของ มะเร็งต่อมลูกหมาก จากการมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรได้รับการตรวจเริ่มต้นที่อายุ 45 ปี ส่วนผู้ชายอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหา มะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะเริ่มแรก การตรวจเพื่อหามะเร็งควรทำทันทีเมื่อมีอาการทางระบบปัสสาวะ           สิ่งสำคัญที่ควรมีการตระหนักคือ การตรวจ พีเอสเอ เป็นเครื่องมือในการตรวจโรคของ มะเร็งต่อมลูกหมาก ที่ไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การตรวจร่างกายประจำปีสามารถช่วยให้หลีกเลี่ยงการมีภาวะแทรกซ้อนของโรค มะเร็งต่อมลูกหมากได้  ควรตรวจค่าพีเอสเอบ่อยแค่ไหน           ถ้าค่าพีเอสเอและการตรวจทางทวารหนัก ได้ผลเป็นปกติตั้งแต่เริ่มแรก แพทย์ผู้มีประสบการณ์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้มีการตรวจทั้งสองวิธีทุกปี          การตรวจวัดค่าพีเอสเอ ร่วมกับการตรวจทางทวารหนัก เป็นวิธีการที่ใช้กันมากในปัจจุบัน จุดประสงค์เดียวคือเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แต่หากสงสัยว่าตัวเองเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ หนทางที่ดีที่สุดก็คือ การตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป                       ฉะนั้น อย่านิ่งนอนใจ หันมาดูแลสุขภาพกันดีกว่าต้องมารักษาโรคร้าย                                                   ด้วยความปรารถนาดี      จาก นพ.ไชยสิทธิ์ มัจฉริยกุล ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว

                การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว CLEAN INTERMITTENT CATHETERIZATION คนไข้จำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ อาทิ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไหลออกโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น บ่อยครั้งที่การรักษาโดยใช้ยาหรือทำการผ่าตัด ไม่สามารถช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นเลยและต้องลงท้ายด้วยการคาสายยางทิ้งไว้ตลอดเวลา ในบางรายอาจต้องทำกระเพาะปัสสาวะเทียม โดยเปิดออกทางหน้าท้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการเก็บปัสสาวะและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก   การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว (CLEAN INTERMITTENT CATHETERIZATION)                  คนไข้จำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ อาทิ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไหลออกโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น บ่อยครั้งที่การรักษาโดยใช้ยาหรือทำการผ่าตัด ไม่สามารถช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นเลยและต้องลงท้ายด้วยการคาสายยางทิ้งไว้ตลอดเวลา ในบางรายอาจต้องทำกระเพาะปัสสาวะเทียม โดยเปิดออกทางหน้าท้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการเก็บปัสสาวะและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก    ทำไมจึงเกิดการติดเชื้อ โรคที่ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติและต้องพึ่งการสวนปัสสาวะ 1. โรคสมอง อาทิเช่น อุบัติเหตุต่อเนื้อสมอง เนื้องอกในสมอง เนื้อสมองฝ่อ สมองอักเสบ ฯลฯ 2. โรคของไขสันหลัง อาทิเช่น อุบัติเหตุต่อไขสันหลัง เนื้องอกไขสันหลังอักเสบ พยาธิเข้าไขสันหลัง ซิฟิลิส ฯลฯ 3. โรคของเส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ เช่น เบาหวาน ฯลฯ 4. ปลายประสาทที่มาควบคุมกระเพาะปัสสาวะบางส่วนถูกทำลายจากการผ่ตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน 5. โรคของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะยืดมากเกินไปจนไม่มีแรงขับปัสสาวะ   การหลีกเลี่ยงการคาสายยางทิ้งไว้นาน             การคาสายยางทิ้งไว้ในท่อปัสสาวะหรือคาสายยางไว้ในกระเพาะโดยผ่านทางหน้าท้องเป็นระยะเวลานานๆ เปรียบเทียบดาบสองคมในแง่ของประโยชน์นั้นคงจะแก้ปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะได้   ส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาที่จะตามมาอาทิ เช่น คนไข้จะต้องมาเปลี่ยนสายยางทุกๆ 1 เดือน หรือมาก่อนถ้าสายยางตัน ในบางรายอาจจะมีอาการเจ็บมีนิ่วหรือมีเลือดออก และมีอาการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ในผู้ชาย อาจมีหนองออกจากท่อปัสสาวะ อัณฑะบวมหรือมีรูทะลุจากท่อปัสสาวะออกมาได้และยังก่อให้เกิดความรำคาญหรือความยุ่งยากในการที่จะต้องหิ้วสายและถุงเก็บปัสสาวะจะไปไหนมาไหนอีกด้วย           ดังนั้นผลเสียมีมากทีเดียว ในปัจจุบันนี้เรามักจะหลีกเลี่ยงการคาสายยางทิ้งไว้ในกระเพาะปัสสาวะนานๆ นอกจากไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว(Clean Intermittent Catheterization) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้เหนือกว่าการคาดสายยางทิ้งไว้นาน ๆ การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว แบ่งเป็น 2 แบบคือ 1. การสวนปัสสาวะด้วยตนเอง 2. ให้ผู้อื่นสวนปัสสาวะให้กรณีไม่สามารถทำเองได้   ประโยชน์ของการสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว   1. ช่วยลดปัญหาการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะและการเสื่อมสภาพของ ไตได้ดีกว่า 2. ในบางกรณีอาจจะทำให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะกลับเข้าสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น 3. หลีกเลี่ยงปัญหาแทรกซ้อนและสิ่งไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นแบบการคาสายยางทิ้งไว้ได้ 4. ทำให้คุณภาพของชีวิตดีขึ้น คนไข้สามารถเข้าสู่สังคมและไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น  5. ทำให้คนไข้เป็นตัวของตัวเองและเป็นภาระต่อผู้อื่นน้อยที่สุด   อุปสรรคของการสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว 1. สำหรับผู้ที่สวนปัสสาวะด้วยตนเอง โดยเฉพาะผู้หญิงอาจจะมีความลำบากในตอนเริ่มต้นทำใหม่ๆ    2. สำหรับผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องให้ผู้อื่นสวนให้ ถ้าเป็นเด็กพ่อแม่หรือญาติจะเป็นผู้ทำให้จนกระทั่งเด็กโตทำการสวนเองได้ แต่กรณีที่เป็นผู้ใหญ่จะสวนให้ได้ยาก ควรจะต้องปรึกษาแพทย์   3. คนไข้ที่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ทำให้สวนได้ลำบาก   อุปกรณ์การสวนปัสสาวะ 1. สายยางสำหรับสวนปัสสาวะ   2. น้ำยาฆ่าเชื้อโรคแซฟลอน (savlon – สีเหลือง) หรือสบู่ (วิธีผสม น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 5 ซีซี : น้ำต้มสุก 500 มิลลิลิตร(ซีซี)) 3. น้ำต้มสุก 1 ขวด 4. สำลีสะอาด 5. เยลลี่สำหรับหล่อลื่นสายสวนปัสสาวะก่อนที่จะสวนปัสสาวะ 6. ภาชนะ 2 ใบ (ใบเล็กใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ใบใหญ่ใส่น้ำปัสสาวะที่สวนออกมาจากตัวผู้ป่วย) 7. กระจกเงา(ก่อนจะสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยใช้กระจกเงาส่องดูท่อปัสสาวะเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้นแต่ถ้าป่วยสวนปัสสาวะชำนาญแล้วไม่จำเป็นต้องใช้กระจกเงา)   การเตรียมตัวและของใช้ในการสวนปัสสาวะครั้งต่อไป 1. ล้างอุปกรณ์การสวนปัสสาวะทั้งหมดด้วยน้ำสบู่แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้ง 2. นำสายสวนที่ล้างสะอาดแล้วมาแช่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคในหลอดพลาสติก โดยเทน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในหลอดพลาสติกให้เต็มหลอด นำสายสวนปัสสาวะใส่ลงในหลอดพลาสติกให้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคไหลเข้าไปอยู่ภายในสายสวนปัสสาวะด้วย แล้วจึงเอาฝาจุกเปิดปลายสายสวนปัสสาวะและปิดหลอดท่อพลาสติกไว้       ทุกครั้งที่นำสายสวนแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ต้องเอาฝาจุกปิดปลายสายสวนปัสสาวะไว้ทุกครั้งเพื่อความสะดวกในการนำสายสวนออกมาจากหลอดพลาสติกในการใช้ครั้งต่อไป   วิธีการสวนปัสสาวะ 1. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ 2 ครั้ง (ควรตัดเล็บให้สั้นและไม่สวมเครื่องประดับ) 2. เตรียมอุปกรณ์การสวนให้พร้อมที่จะสวนปัสสาวะและสายสวนปัสสาวะที่นำออกมาจากการแช่น้ำ     แซฟลอนแล้วให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกก่อนที่จะนำมาสวนปัสสาวะ 3. ท่าสวนปัสสาวะ สวนด้วยตนเองหรือผู้อื่นสวนให้               ผู้หญิง : นั่งยองๆ แยกขาหรือนอนแยกขาออก 2 ข้าง หรือยืนโดยให้เท้าข้างหนึ่งเหยียบบนเก้าอี้  เอากระจกส่องดูท่อปัสสาวะหรือใช้นิ้วมือคลำก็ได้          ผู้ชาย : ยืน, นอนหรือนั่ง 4. ทำความสะอาดบริเวณปากท่อปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค กรณีที่ต้องไปทำนอกบ้าน สามารถใช้สบู่ล้างอวัยวะสืบพันธุ์ และท่อปัสสาวะได้ 5. จับสายสวนโดยห่างจากปลายด้านสายสวนปัสสาวะ ประมาณ 1 นิ้ว ทาเยลลี่หล่อลื่นปลายสายสวนเข้าท่อปัสสาวะเพื่อลดความระคายเคืองแล้วจึงใส่สายสวนเข้าท่อปัสสาวะในผู้หญิงใส่สายสวนเข้าไปลึกประมาณ 3 นิ้ว ส่วนผู้ชายใส่ลึกจนสุดสายสวนปล่อยให้น้ำปัสสาวะไหลลงภาชนะรองรับหรือโถส้วม 6. เมื่อน้ำปัสสาวะจากสายหยุดไหล ใช้มือข้างหนึ่งจับสายสวนได้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งกดเหนือหัวเหน่า ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ของกระเพาะปัสสาวะจะมีน้ำปัสสาวะไหลออกมาอีก เมื่อน้ำปัสสาวะจากสายสวนหยุดไหลให้ดึงสายสวนออกทีละนิดพร้อมกับกดเหนือหัวเหน่าทำซ้ำจนแน่ใจว่าน้ำปัสสาวะไหลออกหมดแล้วจึงดึงสายสวนออกจากท่อปัสสาวะ 7. ล้างบริเวณอวัยวะสืบพันธ์และท่อปัสสาวะด้วยน้ำสะอาดหรือใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดบริเวณดังกล่าวให้แห้งเมื่อสวนปัสสาวะเสร็จแล้วทุกครั้ง.   ข้อควรจำ 1. จำนวนการสวนในแต่ละวันควรเป็นแพทย์ เป็นผู้กำหนด 2. ควรสวนให้ตรงกับเวลาที่กำหนดเสมอโดยไม่ต้องคำนึงถึงความสะอาดหรือสิ่งแวดล้อม การสวนปัสสาวะเมื่อเลยเวลา ปล่อยให้ปัสสาวะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนานๆ อาจยิ่งทำให้มีการอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น 3. การสวนปัสสาวะแบบนี้ทำด้วยความสะอาดเท่านั้น ไม่ใช่ทำแบบปราศจากเชื้อ เหมือนในโรงพยาบาล ดังนั้น ไม่ต้องนำมาเป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจเป็นอันขาด 4. อย่าเลิกการสวนเอง ต้องปรึกษาแพทย์และหากมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสวนให้รีบมาพบแพทย์ทันที 5. การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการสวนปัสสาวะแบบสะอาดจะเป็นเหตุให้เกิดแรงจูงใจในการทำที่ถูกต้องและสม่ำเสมออันจะทำให้คนไข้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ   ข้อมูลโดย : นพ.ไชยสิทธิ์  มัจฉริยกุล ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม