เทคโนโลยีการรักษา

Bladder Scan เครื่องวัดปริมาณปัสสาวะ ด้วยคลื่นความถี่สูง 3 มิติ

เครื่องวัดปริมาณ Bladder Scan            Bladder Scan เป็นเครื่องตรวจวัดปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้างอยู่หลังการปัสสาวะ โดยใช้อุปกรณ์อัลตราซาวด์ (Ultrasound) ตรวจบริเวณหน้าท้อง ซึ่งเดิมการวัดปริมาณปัสสาวะที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะจะต้องใช้การสอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปโดยตรงที่ท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองและต้องรบกวนความเป็นส่วนตัวของคนไข้ได้ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการตรวจวัดและไม่จำเป็นต้องใส่สายเข้าไปในท่อปัสสาวะ ทำให้คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บและลดการระคายเคืองจากการใส่สายสวนปัสสาวะด้วยการตรวจ Bladder Scan เพื่อดูปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้างอยู่หลังจากปัสสาวะแล้ว การตรวจวัดปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้าง มีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการปัสสาวะ อาทิเช่น ภาวะต่อมลูกหมากโต, ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ภาวะกระเพาะบีบตัวไวเกิน ขั้นตอนการทำ ดื่มน้ำปริมาณ 500 – 1,000 CC จากบ้าน (โดยปริมาณปรับลดได้ขึ้นอยู่กับระยะทางจากบ้านมารพ.) กลั้นปัสสาวะเล็กน้อยประมาณ 30 นาที จนรู้สึกปวดมากและค่อยปัสสาวะ โดยปัสสาวะลงในขวดตวงปัสสาวะที่เตรียมไว้ให้ ทำการตรวจด้วยเครื่อง Bladder Scan เพื่อวัดปริมาณปัสสาวะคงค้างในกระเพาะปัสสาวะ พบแพทย์ เพื่อฟังผลและทำการรักษาต่อไป การตรวจอัลตราซาวด์ด้วย Bladder Scan ช่วยในการวินิจฉัยอาการของท่านได้ เช่น ปัสสาวะแสบขัด เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ปัสสาวะสีผิวปกติ เช่น ปัสสาวะขุ่น, ปัสสาวะมีตะกอน หรือมีเลือดปน เพื่อตรวจติดตามโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ อาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด ผู้ที่มีอาการปวดหลัง หรือ ปวดเอวเรื้อรัง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เครื่องฉายแสงอาทิตย์เทียมอัลตร้าไวโอเลตบี (UVB Phototherapy)

เครื่องฉายแสงอาทิตย์เทียมอัลตร้าไวโอเลตบี (UVB Phototherapy) การฉายแสงอาทิตย์เทียมด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี คือ อะไร? Excimer เป็นส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์อยู่ในรังสียูวีบีที่มีความยาวคลื่น 308 นาโนเมตร ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคผิวหนังได้หลายชนิด ได้แก่ โรคด่างขาว (Vitiligo)    โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)  โรคผิวหนังอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มอาการผื่นแพ้อักเสบเรื้อรัง (Eczema, Atopic Dermatitis, EAC, Pityriasis Alba ในเด็ก), โรคผมร่วงเป็นหย่อมๆ (Alopecia Areata)          โรคสะเก็ดเงิน เป็นการอักเสบเรื้อรังของผิวหนัง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนที่เป็น โดยอาการจะเป็นปื้นนูนแดงปกคลุมด้วยสะเก็ดสีเทาเงิน มักพบบริเวณ ข้อศอก เข่า หนังศรีษะ ซึ่งการรักษาจะเริ่มตั้งแต่ทายา หากไม่ดีขึ้นต้องใช้การฉายแสงอาทิตย์เทียมอัลตร้าไวโอเลตบี รวมถึงโรคด่างขาว โรคผิวหนังผื่นแพ้อักเสบเรื้อรัง ก็ใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียมนี้ด้วย   เครื่อง Excimer 308 เหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน?    1.เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยในกรณีที่รักษาด้วยยาแล้วไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง    2.ผู้ป่วยที่มีรอยโรคทุกบริเวณ รวมถึงบริเวณที่เข้าถึงยากและบริเวณเล็กๆ เช่น ไรผม ข้อพับ ริมฝีปาก หนังศีรษะ    3.ผู้ป่วยที่มีรอยโรคไม่เกิน 20% ทั่วทั้งร่างกาย    4. มีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงน้อย สามารถใช้ในการรักษาได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่             การรักษาด้วยการฉายแสง มีข้อควรระวังอะไรบ้าง?        1. ผู้ป่วยตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร        2. ผู้ป่วย SLE, HIV        3. ภาวะด่างขาวจากโรค Hyperthyroidism       4. ผู้ป่วยที่ใส่เครื่อง Pacemaker       5. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีความไวต่อแสง       6. มีประวัติเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง   ขั้นตอนการรักษาด้วยเครื่อง Excimer 308 การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา    1. ทำความสะอาดผิวหนังในบริเวณที่จะรับการรักษาหรือทำ MED Test (Minimal Erythema Dose)    2. สำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินสามารถทา Salicylic acid ในช่วงกลางคืนก่อนวันที่เข้ารับการรักษาได้    3. แนะนำให้ทำการทดสอบแสง (MED Test) เพื่อหาระดับพลังงานที่เหมาะสมในการรักษา โดยจะทดสอบที่บริเวณท้องแขนหรือหลัง แพทย์จะอ่านผลภายใน 24 ชั่วโมงภายหลังจากการทดสอบ          **ผู้ป่วยโรคด่างขาวและศีรษะล้านเป็นหย่อมๆ สามารถทำการรักษาได้ทันทีโดยไม่ต้องทดสอบ MED Test    4. งดการทาผลิตภัณฑ์ประเภท  Oil ,  ครีมกันแดด  ก่อนเข้ารับการรักษา   ขณะได้รับการรักษา    1.ผู้ป่วยควรเปลี่ยนชุด หรือ เปิดเสื้อผ้าบริเวณที่จะทำการรักษา เพื่อให้บริเวณรอยโรคได้รับแสง    2. ขณะทำการรักษา  ควรอยู่นิ่งๆ ไม่เล่นโทรศัพท์หรือพูดคุยโทรศัพท์    3. ควรสวมใส่แว่นตาเพื่อป้องกันรังสียูวีบี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำการรักษา ในกรณีที่มีรอยโรครอบดวงตา ให้ผู้ป่วยหลับตาตลอดทั้งการรักษา การดูแลปฏิบัติตัวภายหลังได้รับการรักษา    1.หากเกิดอาการคัน ผู้ป่วยไม่ควรแกะเกาในบริเวณที่ได้รับการรักษา รวมถึงหลีกเลี่ยงการถูกขีดข่วนในบริเวณที่เป็นโรค    2.หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้โรคมีอาการกำเริบหรือมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความเครียด    3. ควรรักษาสุขอนามัยของร่างกาย อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่อ่อนๆ    4. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ    5. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ผู้ป่วยต้องมาเข้ารับการรักษานานแค่ไหน?       ในช่วงแรกผู้ป่วยต้องมาเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเว้นระยะห่างในแต่ละครั้ง ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง เมื่ออาการของรอยโรคตอบสนองต่อการฉายแสงได้ผลดี แพทย์จะเป็นผู้ประเมิน และสามารถเว้นระยะห่างเป็น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ และหากรอยโรคหายแล้ว สามารถลดการฉายแสงให้เหลือสัปดาห์ละ 1 ครั้งจนกระทั่งหยุดฉายได้ ผลการรักษา เป็นอย่างไร?       ผู้ป่วยโรคด่างขาว : ขึ้นอยู่กับบริเวณและความรุนแรงของโรค โดย  จำนวนครั้งในการรักษาที่เห็นผลประมาณ 20-25 ครั้ง       ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน : จะเห็นผลการรักษาประมาณ 15-20 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของสะเก็ดและความรุนแรงของโรคด้วย       ผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง และอื่นๆ : จะเห็นผลในการรักษาประมาณ 4-8 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย การรักษาด้วยการฉายแสง มีผลข้างเคียงหรือไม่?       อาจพบอาการข้างเคียงภายหลังจากการได้รับการรักษา เช่น คัน แสบ ผิวหนังแห้ง ลอก รวมถึงผิวหนังที่ได้รับการรักษาและผิวหนังรอบบริเวณที่ทำการรักษาอาจมีสีที่คล้ำหรือเข้มขึ้นในช่วงที่ได้รับการรักษา แต่สีผิวที่เข้มขึ้นนั้นจะค่อยๆ จางลงภายหลังหยุดการรักษาด้วยการฉายแสง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม        ศูนย์ผิวหนัง โรงพยาบาลวิภาวดี ชั้น G อาคาร Tower B โทร 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 ต่อ 1123, 1124

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density)

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก  (Bone Mineral Density)  แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ให้บริการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกทุกวัน โดยเครื่องวัดความหนาแน่นกระดูกที่ทันสมัยของ HOLOGIC ซึ่งเป็นชนิดใช้พลังรังสีเอกซ์ 2 ค่าพลังงาน (DXA) ทำให้สามารถตรวจกระดูกส่วนที่หนาๆได้ เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกข้อสะโพก ทำไมเราจึงต้องวัดความหนาแน่นของกระดูก กระดูกพรุน (Osteoporosis) เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกสามารถตรวจเช็คปริมาณความหนาแน่นของกระดูกได้ และทำให้สามารถวางแผนป้องกันและสามารถรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างถูกต้อง กระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ อะไร คือภาวะที่กระดูกมีเนื้อกระดูกที่มีความหนาแน่นน้อย ทำให้มีโอกาสกระดูกแตกหัก หรือยุบตัวได้ กระดูกปกติจะมีโครงสร้างเส้นใย ที่มีโพรงเป็นตาข่ายในเนื้อกระดูก เมื่อเกิดกระดูกโพรงระหว่างเส้นใยจะใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดการแตกของกระดูกได้ง่าย กระดูกจะไม่สามารถตั้งตรงได้ เช่น กระดูกสันหลัง เมื่อเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนจะยุบตัวทำให้หลังงอผิดปกติ เสียบุคลิกภาพไป โรคกระดูกพรุนโดยทั่วไปมักพบในคนอายุมากประมาณ 50 ปีขึ้นไป และในสตรีวัยหมดประจำเดือน สาเหตุโรคกระดูกพรุน • อายุมาก  • วัยหมดประจำเดือน  • ขาดแคลเซียม (Ca)  • การรักษาโรคบางชนิดด้วยฮอร์โมน หรือ Steroid  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน มีหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ใช้เครื่องวัดความหนาแน่นกระดูก สามารถทราบผลได้ทันที เครื่องมือตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกที่ทันสมัย มีรายละเอียดของเครื่องดังนี้  • สามารถตรวจ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เกือบทั้งหมด  • ใช้เวลาตรวจน้อย  • ภาพคมชัดและถูกต้องแม่นยำ  • ปริมาณรังสีต่ำ เพียงเท่ากับ เมื่อได้รับขณะอยู่บนเครื่องบินใครต้องตรวจบ้าง  • เมื่อคุณรู้สึกว่ากระดูกสันหลังผิดปกติ  • มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)  • ผู้หญิงที่มีระดับเอสโตรเจน (Estrogen) ต่ำ และวัยหมดประจำเดือน  • คนผอมมาก ๆ  • คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน  • คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย  • คนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มี Alcohol เป็นประจำทำอย่างไรบ้าง ถ้าคุณเป็นโรคกระดูกพรุน  • แพทย์จะอธิบายวิธีการป้องกันและการรักษาที่ถูกต้อง  • การออกกำลังกายทุกวัน ร่างกายจะสร้างแคลเซียม และเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มี Alcohol และงดการสูบบุหรี่ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุน การเตรียมตัวเพื่อตรวจ  • ไม่ต้องเตรียมตัวอะไร รับประทานอาหารได้ตามปกติ  • ถ้ากำลังให้ยา Thyroid โปรดแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ทราบ  • กำลังกินแคลเซียม โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ  • ถ้ามีการตรวจทางรังสีด้วยแบเรียมมาก่อน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อนัดตรวจ  • การตรวจระบบไตด้วยสารทึบรังสี ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อนัดตรวจ  • การตรวจร่างกายด้วยสารกัมมันตรังสี บริเวณใกล้กับกระดูกสันหลังส่วนเอว ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อนัด  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง Electroencephalogram (EEG) การตรวจคลื่นไฟฟ้า Electroencephalogram (EEG) วิธีการตรวจที่แพทย์มักจะใช้ประกอบกับการซักประวัติและการตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรคลมชัก และจำแนกชนิดของการชักเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง คลื่นไฟฟ้าสมองสามารถบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้า (Electrode) รับสัญญาณไฟฟ้าที่ผิวหนังศีรษะ สัญญาณไฟฟ้านี้เกิดขึ้นจากผลรวมของศักย์ไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ประสาทของสมองที่มีอยู่มากมายในสมองภายใต้ขั้วไฟฟ้า (Electrode) นั้นผลการตรวจจะปรากฏเป็นกราฟ บนแถบกระดาษหรือในจอภาพ หลังจากได้รับสัญญาณไฟฟ้าผ่านเครื่องตรวจซึ่งได้ทำการขยายสัญญาณไฟฟ้าให้มากขึ้นเป็นหลายร้อยเท่า  ข้อบ่งชี้ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 1. ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะชัก เช่นหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเกร็งกระตุกตามกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงฉับพลัน อาการทางจิตที่ไม่ทราบสาเหตุ 2. เพื่อวินิจฉัยโรคลมชักและเพื่อช่วยแยกชนิดของโรคลมชัก เช่น โรคชักเหม่อลอยในเด็ก absence Seizure โรคชักทั้งตัว Generalize epilepsy,Pseudo epilepsy 3. เพื่อวินิจฉัยโรคบางชนิดเช่นภาวะ Hepatic Encephalopathy,โรควัวบ้า Brain tumor 4. เพื่อช่วยวางแผนการรักษาภาวะ Status epilepticus โดยการทำ EEG monitoring 5. เพื่อช่วยในการเลือกยากันชักที่เหมาะสมกับผู้ป่วย 6. เพื่อช่วยวางแผนในการหยุดยากันชักในผู้ป่วยโรคลมชัก 7. เพื่อวางแผนในการผ่าตัดในผู้ป่วยลมชักที่ดิ้อต่อยา(Refractory epilepsy) โดยการทำ Video EEG monitoring 8. เพื่อช่วยวินิจฉัยและวางแผนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เกี่ยวกับการนอน (Sleep Disorder) เช่น  Obstructive Sleep apnea, Narcolepsy โดยการทำ Polysomnogram 9. เพื่อช่วยในการยืนยันภาวะสมองตาย (Brain Death)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก ( TMS)

เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก  (Transcranial Magnetic Stimulation, TMS)   เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นเครื่องที่อาศัยหลักการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดเหนี่ยวนำเป็นคลื่นแม่เหล็ก ซึ่งสามารถผ่านเนื้อเยื่อและกะโหลกศีรษะได้ ใช้ในการวินิจฉัยและการรักษาโรคทางสมอง ได้แก่ โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคพาร์กินสัน โรคเส้นประสาทส่วนปลาย โรคปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น และใช้รักษาโรคซึมเศร้าได้   การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก สามารถทำได้ 2 วิธีคือ   1. การกระตุ้นด้วยคลื่นความถี่สูง โดยใช้ความแรงของการกระตุ้นตั้งแต่ 1 รอบต่อวินาทีขึ้นไป สำหรับรักษาโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคพาร์กินสัน ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น 2. การกระตุ้นด้วยคลื่นความถี่ต่ำ โดยใช้ความแรงของการกระตุ้นต่ำกว่า 1 รอบต่อวินาที จะยับยั้งการทำงานของสมองที่ทำงานมากเกินไป เช่น โรคปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น ข้อบ่งใช้ในการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก โรคซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนที่เกิดขึ้นหลังอุบัติเหตุทางสมอง อาการปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการปวดจากเส้นประสาท โรคสมอง ได้แก่ โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น   วิธีการรักษา จะทำการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กวันละ 1 ครั้งจำนวน 5-10 วัน (เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการรักษาได้เต็มที่) ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ต่อการรักษา 1 ครั้ง ทั้งนี้แพทย์จะคอยถามและสังเกตอาการตลอดระยะเวลาในการกระตุ้น   ผลการรักษา คลื่นแม่เหล็กจะส่งดีต่อการทำงานของวงจรในสมอง มีผลต่อสารสื่อประสาท หลายชนิด เช่น ซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทเกี่ยวกับโรคไมเกรน อาการเจ็บปวด และความเครียด ลดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง และลดอาการซึมเศร้า   ข้อห้าม   ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pace maker) ผู้ที่มีโลหะในศีรษะ เช่น เคยผ่าตัดหลอดเลือดสมองโป่งพองและใช้อุปกรณ์หนีบหลอดเลือด หรือตามร่างกาย โรคลมชัก ผลข้างเคียงที่พบ มีความร้อนบริเวณที่กระตุ้น เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กทำให้อุณหภูมิภายในสมองสูงขึ้นแต่น้อยมากจะมีปวดตึงศีรษะบริเวณที่ทำการกระตุ้น คลื่นไส้ วิงเวียน อาการชัก อารมณ์พลุ่งพล่าน สำหรับผู้ป่วยจิตเวช   ข้อแนะนำก่อนทำ 1. แพทย์จะแนะนำการรักษา ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามในการใช้เครื่องมือดังกล่าว 2. ก่อนทำการกระตุ้นสมอง แพทย์จะกระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลายก่อน เพื่อให้ร่างกายรับรู้และคุ้นเคยกับความแรงและความถี่ของการกระตุ้น 3. เมื่อท่านคุ้นเคยแล้ว แพทย์จะกระตุ้นสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่เป็น เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ จะกระตุ้นสมองด้านตรงกันข้ามกับอาการอ่อนนแรง เป็นต้น โดยกระตุ้นซ้ำเป็นชุดๆ  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท                          โทร.0-2561-1111 ต่อ 1214

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า EDX (EMG & NCS)

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (electrodiagnosis)EMG             เป็นเครื่องมือในการช่วยตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า และค้นหาความบกพร่องของเส้นประสาท จากอาการชาที่มือ ชาเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ เครื่อง EMG คืออะไร มีหลักการและวิธีการอย่างไร...                                   การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า คือ การนำเอาความรู้ทางด้านไฟฟ้ามาใช้ช่วย ในการตรวจวินิจฉัยโรค โดยทั่วไปจะมีหลักการและวิธีการตรวจอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ    1.การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท (Nerve Conduction Study)                   เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้ไฟฟ้าขนาดที่ปลอดภัยกระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาทในส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อตรวจว่ามีความผิดปกติของเส้นประสาทตรงส่วนใดมากน้อยเพียงใด เช่น กรณีที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ อันเป็นผลเนื่องมาจากเบาหวาน หรือ การกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือและข้อศอก เป็นต้น   2.การตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Needle Electromyographic Study)                  เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้เข็มเล็กๆตรวจดูความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท เช่น การกดทับของเส้นประสาทบริเวณคอและหลัง การบาดเจ็บของเส้นประสาท หรือภาวะกล้ามเนื้อมีความผิดปกติ เป็นต้น   3.การตรวจการนำไฟฟ้าของระบบประสาทส่วนกลาง (Evoked Potential)                  เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้ไฟฟ้า แสง เสียง กระตุ้นให้มีสัญญษณไฟฟ้าผ่านไปตามแนวของเส้นประสาท เพื่อตรวจว่ามีความผิดปกติที่ส่วนใดของสมองและไขสันหลัง   การตรวจดังกล่าวมีประโยชน์อย่างไร                 การตรวจดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งยังใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนรักษาต่อไป   การตรวจมีความปลอดภัยพียงใด                การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ปลอดภัยตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ ท่านอาจรู้สึกเหมือนการถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรืออาจเจ็บบ้างเมื่อใช้เข็มตรวจในกล้ามเนื้อ สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น คือ                  • อาจระบมจากการใช้เข็มตรวจซึ่งมักหายไปใน 2-3 วัน                • กรณีที่ต้องมีการตรวจกล้ามเนื้อด้วยเข็ม ในบริเวณช่วงอกอาจเกิดภาวะลมรั่ว (Pncumothorax)  ซึ่งจะมีอาการแน่นหน้าอกหายใจลำบากแต่อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนนี้พบได้น้อยมากและสามารถแก้ไขได้   ถ้าท่านมีปัญหาดังต่อไปนี้ กรุณาแจ้งแพทย์ก่อนการตรวจ               • ประวัติเลือดออกง่าย หรือรับประทานยาบางชนิดที่อาจทำให้เลือดออก                   ง่าย (ในกรณีที่ต้องใช้เข็มตรวจ)                 • ติดเครี่องกระตุ้นการของหัวใจด้วยไฟฟ้า (Pace Maker)                 • มีผิวหนังอักเสบและติดเชื้อในบริเวณที่ต้องการตรวจ   หมายเหตุ   • ผู้ป่วยที่กินยา Mestinon (ยาแก้โรค Myasthenia gravis) งดรับ ประทานยาล่วงหน้าก่อนการตรวจ 1 วัน                     • ไม่ต้อง งดน้ำ และอาหาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.วิภาวดี เบอร์ 02-561-1111 ต่อ 1118-9   

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Cardiac Catheterization Laboratory (ห้องสวนหัวใจ)

 เป็นหัตถการของศูนย์หัวใจซึ่งการตรวจในห้องสวนหัวใจ ส่วนใหญ่ไม่ต้องดมยาสลบ  อุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในตัวผู้ป่วย เช่น สายสวน บอลลูน หรือขดลวด มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับไส้ดินสอหรือไส้ปากกาหมึกแห้ง ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใช้วิธีการฉีดยาชาและสอดสายสวนแก้ไขและไม่ต้องกังวลต่อการเกิดแผล เป็นหัตถการส่วนใหญ่ในห้องสวนหัวใจ ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน ถ้าผู้ป่วยมาเพื่อการวินิจฉัยโรค จะต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล 1 คืน สำหรับผู้ป่วยที่มารับการซ่อมแซมหลอดเลือด หรือใส่อุปกรณ์เพื่อการรักษา จะต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล 1-3 คืน แพทย์จะให้คำปรึกษาและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามอย่างละเอียด รวมถึงความเสี่ยงและทางเลือก ก่อนการทำหัตถการทุกครั้ง การบริการห้องสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) ได้แก่ 1.การฉีดสีตรวจวินิจฉัยและการรักษาซ่อมแซมหลอดเลือดทุกตำแหน่งโดยใช้บอลลูน ขดลวด การขยายหลอดเลือด การดูดลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือด ตัวอย่าง  หลอดเลือดที่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยวิธีเหล่านี้ คือ             -หลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน             -หลอดเลือดสมอง (Carotid Artery หรือ Vertebral Artery) ในผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต             -หลอดเลือดไต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หรือไตเสื่อม จากหลอดเลือดไตตีบ             -หลอดเลือดแขน ขาที่มีโรคหลอดเลือด เช่น ในผู้ป่วยที่ปวดขาเวลาเดิน หรือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีแผลเรื้อรัง   2.การตรวจและรักษาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ ได้แก่             -การสร้างแผนภูมิของสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจระบบ 3 มิติ (Advance 3-D Mapping System)             -การจี้แก้ไขบริเวณที่เต้นผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุ (Rediofrequency Ablation)             -การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ(Pacemaker)             -การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ(Implantable Cardioverter Defibrillator)             -การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจสองห้องในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว(Cardiac Resynchronization Therapy)    ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี            

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<