เชื่อหรือไม่ว่า... กาแฟทำให้อายุยืนขึ้น?

เป็นเวลาหลายร้อยปี การแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยม 2-3 อันดับต้นๆ แต่กาแฟ มีผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร เราเพิ่งมารู้กันในระยะหลัง เมื่อมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ได้มีการศึกษาระบาดวิทยาขนาดใหญ่จากสถาบัน NIH ของอเมริกา โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพจากอาสาสมัครจำนวน 400,000 คน อายุ ในช่วง 50-70 ปี เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคใดๆ 
ณ จุดเริ่มต้นของการศึกษาในปี 1995 แต่เมื่อถึงปี 2008 ประชากรกลุ่มดังกล่าว จำนวน 50,000 คน ได้เสียชีวิต

เป็นที่น่าแปลกใจว่าผู้ชายที่ได้ดื่มกาแฟปริมาณ 2-3 แก้วในแต่ละวัน มีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม10% ในกรณีของผู้หญิงที่ดื่มกาแฟในปริมาณเท่ากัน อัตราการเสียชีวิตยิ่งน้อยไปอีกกล่าวคือ 13% เรายังไม่แน่ใจว่ากาแฟส่งผลกระทบอย่างไรกันแน่กับภาวะอายุยืน แต่ความสัมพันธ์นี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

การวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับกาแฟ เมื่อเร็วๆ นี้พบความเชื่อมโยงของการดื่มกาแฟปริมาณปานกลาง คือ 4 แก้วต่อวัน (แก้วละ 150 cc.) บังเกิดผลดีต่อสุขภาพอย่างชัดเจน กล่างวคือช่วยลดความเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2, มะเร็งผิวหนัง, มะเร็งต่อมลูกหมาก และการเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ (หลังการรักษาแล้ว)

นอกจากนี้ยังพบประเด็นสำคัญจากการศึกษากาแฟในสัตว์ทดลอง คือกาแฟสามารถปรับสภาวะชีวิเครมีภายในสมองที่สามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ ในปี 2012 ที่มหาวิทยาลัย illinois ได้ทำการวิจัย โดยการทดลองนำเอาหนูมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม หนูทุกตัวถูกทำให้เกิดสภาวะขาดออกซิเจนในสมองในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ส่งผลให้สมองหนูเหล่านั้นไม่สามารถสร้างความจำใหม่ได้ แล้วให้หนูอีกกลุ่มได้รับกาแฟปริมาณเทียบเท่ากันมนุษย์ที่ดื่มกาแฟปริมาณปานกลาง ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้รับกาแฟ จากนั้นให้หนูทุกตัวกลับมารับออกซิเจน 

พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับกาแฟสามารถสร้างความจำใหม่ได้เร็วกว่า 33% เทียบกับหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับกาแฟ และเมื่อตรวจละเอียดที่สมอง พบว่าสารคาเฟอีนไปขัดขวางฤทธิ์ของสาร adenosine ซึ่งเป็นสารชีวะเคมีภาวยในเซบล็ที่ปกติแล้วสารนี้จะเป็นตัวให้พลังงานแก่เซลล์ แต่เมื่อสารนี้รั่วจากเซลล์ที่ได้รับอันตราย หรือขาดออกซิเจน สารนี้จะไปจุดติดกระบวนการชีวะเคมี และนำสู่ภาะการอักเสบ แล้วในที่สุดจะไปขัดขวางการทำหน้าที่ของเซลล์สมอง และมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดการเสื่อมของสมอง หรือภาวะสมองเสื่อมนั่นเอง

ในปี 2012 ได้มีการศึกษากาแฟในมนุษย์ โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลับ South Florida และมหาวิทยาลับ Miami ได้ตรวจสอบระดับคาเฟอีนในผู้ใหญ่เป็นโรคความจำเสื่อมในระยะเริ่มแรก และได้ประเมินซ้ำอีก พบว่ากลุ่มคนที่ในเลือดไม่มีสารคาเฟอีนเกิดภาวะสมองเสื่อมเต็มรูปแบบมากกว่ากลุ่มคนที่มีสารคาเฟอีนในเลือด

เรายังมีเรื่องต้องศึกษาเกี่ยวกับกาแฟอีกมาก 

"เราไม่แน่ใจว่าลำพังการต้านฤทธิ์ของสาร Adenosine ตัวเดียว เพียงพอที่จะป้องกันหรือบรรเท่าสมองเสื่อมได้"

เป็นคำกล่าวของคุณ Gregory (ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย illinois)

ในปี 2011 การศึกษามหาวิทยาลัย Southern Florid ใช้หนูที่ตัดต่อพันธุ์กรรมทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม Alzheimer เหมือนที่เกิดในคน เมื่อให้หนูเหล่านั้นมารับสารคาเฟอีนอย่างเดียวกลับไม่มีผลดี ป้องกันสมองเสื่อมได้ดีเท่ากับให้หนูที่กินกาแฟ ส่วนกาแฟที่ผสมน้ำตาลมากๆ (เหมือนในกาแฟชูกำลัง) ก็พบว่าไม่ช่วยป้องกันสมองเสื่อมได้ดีแต่อย่างได้

ฉะนั้นที่เราดื่มกาแฟวันละ 1-3 แก้ว ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีที่อาจหวังผลป้องกัน ภาวะสมองเสื่อมได้

โดย นพ.กิตติ ตระกูลรัตนาวงศ์ 
อายุรแพทย์โรคหัวใจ (แปลจากหนังสือพิมพ์ New York Time "This is your brain on coffee" 6 June 2013)

แพทย์

กิตติ ตระกูลรัตนาวงศ์

อายุรกรรมโรคหัวใจ

ดูโปรไฟล์

FAQ

คำถามโรคหัวใจ ถาม อยากทราบว่า ผู้ป่วยเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยต้องเข้าการรับการรักษาอะไรบ้าง เมื่อแพทย์ตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องทำการรักษาโดยทันทีหรือเปล่าค่ะ

คำถามโรคหัวใจ ตอบ จากคำถาม เข้าใจว่าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากการที่ก้อนไขมันเส้นเลือดหัวจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออก และมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้ โรคแทรกซ้อน โรคร่วมอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมี เช่น โรคไต เบาหวาน แพทย์จะเป็นคนพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยและญาติจะรักษาด้วยวิธีใด พิจารณาพร้อมกับผลตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น EKG, ผลเลือด การรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด แบ่งเป็น 1. การให้ยาละลายลิ่มเลือด ในรายที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา 2. การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวดค้ำยัน สรุป การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันให้ได้ผลดีนั้น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการจนถึงได้รับการรักษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหลอดเลือด โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดใส่ขดลวด ค้ำยัน ผลของการรักษาจะดีและภาวะแทรกซ้อนน้อย ถ้าผู้ป่วยได้รรับการรักษาเร็วค่ะ ยินดีบริการค่ะ คำตอบโดย คุณพรทิพย์ พิทักษ์เทพสมบัติ หัวหน้าแผนกคลีนิคบริการโรคหัวใจ