โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และการตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score)

           โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (coronary artery disease) หมายถึง ภาวะที่หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (coronary artery) ตีบ                                                                                                                                       

          โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  อาจเกิดจากไขมันหรือหินปูนสะสมในผนังหลอดเลือด  ทำให้บริเวณหลอดเลือดมีการตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดนำออกซิเจนไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อยและไม่เพียงพอ จนอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งสังเกตได้จากการที่มีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจวายซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง
       

  การตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score)

การตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่เกาะผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง โดยสามารถบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้จะมีปริมาณน้อยก็ตาม การตรวจ Calcium Score  เป็นการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CAD) ในผู้ที่ยังไม่มีอาการ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่รวดเร็ว ไม่เจ็บ ไม่ต้องฉีดสี ใช้ปริมาณรังสีต่ำ  

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ

  • คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
  • มีประวัติสูบบุหรี่
  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีอายุ มากกว่า 55 ปี
  • สตรีวัยหมดประจำเดือน

การแปลความหมายของแคลเซียม

 

คะแนนแคลเซียม

ความเสี่ยง

                         โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

0

ความเสี่ยงต่ำมาก

โอกาสเกิดภาวะหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระดับสูงในอนาคตมีน้อย

1-100

ความเสี่ยงต่ำ

โอกาสในการพัฒนาภาวะหลอดเลือดหัวใจนั้นไม่น่าเป็นไปได้หรือต่ำมาก 

101-400

ความเสี่ยงปานกลางถึงสูง

ความเสี่ยงปานกลางถึงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายและโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีการอุดตันในระดับสูง 

>400

ความเสี่ยงระดับสูง

ความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระดับสูง ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม

แพทย์

สุรเชษฐ์ เลิศถิรพันธ์

อายุรกรรมโรคหัวใจ

ดูโปรไฟล์

FAQ

คำถามโรคหัวใจ ถาม อยากทราบว่า ผู้ป่วยเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยต้องเข้าการรับการรักษาอะไรบ้าง เมื่อแพทย์ตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องทำการรักษาโดยทันทีหรือเปล่าค่ะ

คำถามโรคหัวใจ ตอบ จากคำถาม เข้าใจว่าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากการที่ก้อนไขมันเส้นเลือดหัวจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออก และมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้ โรคแทรกซ้อน โรคร่วมอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมี เช่น โรคไต เบาหวาน แพทย์จะเป็นคนพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยและญาติจะรักษาด้วยวิธีใด พิจารณาพร้อมกับผลตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น EKG, ผลเลือด การรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด แบ่งเป็น 1. การให้ยาละลายลิ่มเลือด ในรายที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา 2. การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวดค้ำยัน สรุป การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันให้ได้ผลดีนั้น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการจนถึงได้รับการรักษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหลอดเลือด โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดใส่ขดลวด ค้ำยัน ผลของการรักษาจะดีและภาวะแทรกซ้อนน้อย ถ้าผู้ป่วยได้รรับการรักษาเร็วค่ะ ยินดีบริการค่ะ คำตอบโดย คุณพรทิพย์ พิทักษ์เทพสมบัติ หัวหน้าแผนกคลีนิคบริการโรคหัวใจ
<