ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ข้อเดียว! ก็เสี่ยงแล้ว

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจทุกปี
  • ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี
  • น้ำหนักเกินมาตราฐาน
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • มีประวัติครอบครัว และญาติสายตรง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่

จะรู้ว่าเป็น..โรคหัวใจ..ได้อย่างไร
 

มีเครื่องมือตรวจค้นหา ดังนี้
 

            -Echocardiogram

            ใช้ในการวินิจฉัย และพยากรณ์โรค รวมทั้งตรวจหาความรุนแรง ติดตามผล

การรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวัด

ขนาด และดูความสามารถในการทำงานของหัวใจ รวมถึงโครงสร้างต่างได้ดี
 

            -Exercise Stress Test

            คือการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนด

เพื่อมุ่งเน้นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือขาดเลือดเป็นสำคัญ

หรืออาจใช้ตรวจหาการเต้น ผิดจังหวะที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย

การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก

ได้เป็นอย่างดี
 

            -CIMT

            Carotid Intima Media Thickness เป็นการตรวจวัดการตีบตันของหลอด

เลือดแดงที่คอ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
 

            -EKG

            การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

อุดตัน หัวใจโต ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด ฯลฯ
 

            -ABI

            Ankle-brachial index เป็นการตรวจวิเคราะห์ สมรรถภาพการแข็งตัวของ

หลอดเลือดแดงส่วนปลาย เพื่อเช็คดูว่ามีโรคของหลอดเลือดแดงที่แขน หรือขาตีบ

หรือไม่
 

            -Tilt Table Test

            (การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง) เป็นการตรวจ

พิเศษเพื่อที่ใช้ทดสอบผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไข

หรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลม หมดสติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ

ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง หัวใจ ความดันโลหิตต่ำ หรือความผิดปกติ

ของระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุของการเป็นลมที่พบบ่อยที่สุด
 

            -24 Hours Ambulatory ECG Recording

            (การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ชนิดพกพา) คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เป็นการติด

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่าน โดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือที่ทำงานได้ตามปกติ

การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ

ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ

               ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

FAQ

คำถามโรคหัวใจ ถาม อยากทราบว่า ผู้ป่วยเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยต้องเข้าการรับการรักษาอะไรบ้าง เมื่อแพทย์ตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องทำการรักษาโดยทันทีหรือเปล่าค่ะ

คำถามโรคหัวใจ ตอบ จากคำถาม เข้าใจว่าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากการที่ก้อนไขมันเส้นเลือดหัวจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออก และมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้ โรคแทรกซ้อน โรคร่วมอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมี เช่น โรคไต เบาหวาน แพทย์จะเป็นคนพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยและญาติจะรักษาด้วยวิธีใด พิจารณาพร้อมกับผลตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น EKG, ผลเลือด การรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด แบ่งเป็น 1. การให้ยาละลายลิ่มเลือด ในรายที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา 2. การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวดค้ำยัน สรุป การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันให้ได้ผลดีนั้น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการจนถึงได้รับการรักษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหลอดเลือด โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดใส่ขดลวด ค้ำยัน ผลของการรักษาจะดีและภาวะแทรกซ้อนน้อย ถ้าผู้ป่วยได้รรับการรักษาเร็วค่ะ ยินดีบริการค่ะ คำตอบโดย คุณพรทิพย์ พิทักษ์เทพสมบัติ หัวหน้าแผนกคลีนิคบริการโรคหัวใจ
<