การทานอาหารที่มีปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัวมากเกินไปมีความเสี่ยง

โคเลสเตอรอลสูง
 

โคเลสเตอรรอลมาจากไหน

- 1 ใน 3 ได้รับมาจากอาหาร ไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูย่อยและส่งไปที่ตับแล้วส่งต่อไปทั่วร่างกาย
 

- 2 ใน 3 ร่างกายสร้างขึ้นเองที่ตับของเรา ตับจะสร้างโคเลสเตอรรอลที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยขนส่งไขมันไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
 

ภัยร้ายจากโคเลสเตอรรอล
 

-หลอดเลือดแดงปกติ

-เริ่มมีโคเลสเตอรรอลจับที่ผนังหลอดเลือดด้านใน

-ไขมันสะสมมากขึ้นจนเริ่มก่อตัวเป็นคราบจนอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง

-โคเลสเตอรรอลจับตัวเป็นคราบที่ใหญ่ขึ้นจนกระทั่วหลอดเลือดแดงอาจถูกปิดกั้นทั้งหมด ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน

โคเลสเตอรรอลและไตรกลีเซอไรด์ ก่อให้เกิดคราบไขมัน (Plaque)

-สมอง   เกิดหลอดเลือดสมองตีบเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

-หัวใจ   หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

-ไต       หลอดเลือดไตอุดตัน เกิดไตวาย

-ขา       เลือดไปเลี้ยงขาไม่สะดวก เกิดอาการปวดขาเวลาเดิน
 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
 

ได้แก่ อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัวและโคเลสเตอรรอล

- เนื้อสัตว์ที่ติดมัน เบคอน ไส้กรอก

- ตับ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์

- ไข่แดง (กินเฉพาะไข่ขาวได้)

- หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง ไข่ปลา

- ชีส ครีม เนย

- เค้ก คุกกี้ โดนัท

- อาหารทอด และอาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ
 

ปริมาณโคเลสเตอรรอล ในอาหารบางชนิด
 

อาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม                     ปริมาณโคเลสเตอรรอล(มิลลิกรัม)

          ไก่, อก(ไม่ติดมัน                                       63

         เป็ด, เนื้อ                                                  82

         วัว, เนื้อ                                                    65

         ปลากะพงขาว                                           69

         ปลาทูน่า                                                   51

         กุ้งกุลาดำ                                                175

         ปลาหมึกกล้วย, ตัว                                   251

         ไข่ไก่, ทั้งฟอง                                           508

         ซึ่โครงหมู                                                 105

         เนื้อปู                                                       145

                                                      *ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย
 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีโคเลสเตอรรอลสูง
 

-  ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

-  ลดเครื่องดื่มแอลกอฮล์

-  งดสูบบุหรี่

-  หากมีความดันโลหิตสูงและเบาหวาน พยายามควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด

-  ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน เต้นแอโรบิค วิ่ง (ครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง)

-  ตรวจระดับโคเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาควบคุมระดับโคเลสเตอรรอลตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

 

FAQ

คำถามโรคหัวใจ ถาม อยากทราบว่า ผู้ป่วยเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยต้องเข้าการรับการรักษาอะไรบ้าง เมื่อแพทย์ตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องทำการรักษาโดยทันทีหรือเปล่าค่ะ

คำถามโรคหัวใจ ตอบ จากคำถาม เข้าใจว่าผู้ป่วยได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากการที่ก้อนไขมันเส้นเลือดหัวจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออก และมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้ โรคแทรกซ้อน โรคร่วมอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมี เช่น โรคไต เบาหวาน แพทย์จะเป็นคนพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยและญาติจะรักษาด้วยวิธีใด พิจารณาพร้อมกับผลตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น EKG, ผลเลือด การรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด แบ่งเป็น 1. การให้ยาละลายลิ่มเลือด ในรายที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา 2. การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวดค้ำยัน สรุป การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันให้ได้ผลดีนั้น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการจนถึงได้รับการรักษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหลอดเลือด โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดใส่ขดลวด ค้ำยัน ผลของการรักษาจะดีและภาวะแทรกซ้อนน้อย ถ้าผู้ป่วยได้รรับการรักษาเร็วค่ะ ยินดีบริการค่ะ คำตอบโดย คุณพรทิพย์ พิทักษ์เทพสมบัติ หัวหน้าแผนกคลีนิคบริการโรคหัวใจ
<