การทํา ICSI (อิ๊ ก ซี่) คืออะไร แก้ภาวะมีลูกยากได้ยังไง?

การทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นการนำเทคโนโลยี ช่วยให้การเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ที่ช่วยให้คุณพ่อ คุณแม่ ที่มีภาวะมีบุตรยากให้สมหวังและมีบุตรยากให้สมหวังได้ตามที่ต้องการ โดยการทำ ICSI ซึ่งเป็นวิธีที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงกว่าการทำวิธีอื่นๆ 

ICSI ต่างจาก IVF อย่างไร

ซึ่งขั้นตอนการทำ ICSI นี้จะเป็นทำการปฏิสนธินอกร่างกาย ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) แต่ให้ผลลัพธ์ และเปอร์เซ็นต์ของความสำเร็จได้สูงกว่ามาก  เนื่องจากการทำ ICSI จะเป็นการช่วยทำการปฏิสนธิให้เลย โดยการฉีดอสุจิ ของฝ่ายชาย เพียง 1 ตัว เข้าไปในเซลล์ไข่ 1 ใบ โดยผ่านเข็มที่มีขนาดเล็กมาก จึงเพิ่มอัตราความเป็นไปได้และผลลัพธ์ที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้สูงมาก

แต่การทำแบบ IVF จะเป็นการนำไข่ของฝ่ายหญิงและนำน้ำเชื้ออสุจิจากฝ่ายชายมาผสมกัน แล้วปล่อยให้เกิดการปฏิสนธิกันเองตามธรรมชาติจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูก

คู่สามีภรรยาที่สมควรทำ ICSI เมื่อเกิดภาวะมีบุตรยาก

  • ฝ่ายชายมีปัญหาในเรื่องเป็นหมัน หรือทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูกอีก โดยการนำสเปิร์มออกมาได้โดยการผ่าตัด
  • ฝ่ายชายมีปริมาณอสุจิค่อนข้างน้อย และไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ต้องใช้ตัวอสุจิที่นำจากการเจาะดูดออกมาจากท่อส่งอสุจิ หรือจากการนำเนื้อเยื่อของอัณฑะมาใช้
  • ฝ่ายหญิงมีเปลือกไข่หนา อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเข้าปฏิสนธิได้

ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่

1. ต้องมีการตรวจประเมินฝ่ายหญิงก่อนการกระตุ้นไข่

โดยต้องตรวจความพร้อมของร่างกายในช่วงวันที่ 2-3 ของรอบเดือน โดยต้องมีการตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อดูจำนวนฟองไข่ก่อนและตรวจระดับฮอร์โมนในร่างกายว่าเหมาะสมในการทำ ICSI หรือเปล่า

ถ้าสามารถทำได้จะเข้าสู่กระบวนการต่อไป คือการกระตุ้นรังไข่ เพื่อให้ได้ฟองไข่ที่มีขนาดใหญ่และเหมาะสมและพร้อมกันหลายๆ ใบ โดยการฉีดยากระตุ้นไข่ ซึ่งการฉีดยาต้องฉีดติดต่อกันประมาณ 8 - 12 วัน  

และระหว่างการฉีดยากระตุ้นไข่ จะมีการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ โดยการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ ร่วมกับการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนทุก 3 - 4 วัน เมื่อขนาดของถุงไข่โตเต็มที่แล้ว แพทย์จะฉีดยาฮอร์โมนเพื่อทำให้ไข่เจริญสมบูรณ์เต็มที่ก่อนจะมีการเก็บไข่

2. การเจาะเก็บไข่

หลังจากฉีดยากระตุ้นไข่ ให้ได้ฟองโตสมบูรณ์แล้ว จะมีการเจาะเก็บไข่ไว้ภายใน 35 -36 ชั่วโมงผ่านทางช่องคลอด โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ในการบอกตำแหน่ง โดยทำในห้องผ่าตัด

และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ซึ่งฝ่ายหญิงต้อง งดน้ำ งดอาหาร ก่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมื่อได้เซลล์ไข่จะนำมาเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปปฏิสนธิกับอสุจิของฝ่ายชายในขั้นตอนต่อไป       

3. การเก็บอสุจิ และคัดกรอง

สำหรับฝ่ายชายจะมีการเก็บอสุจิ และคัดกรองเลือกตัวที่สมบูรณ์และแข็งแรง แล้วนำมาปฏิสนธิกับไข่ในห้องปฏิบัติการ โดยการนำสเปิร์ม 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ที่สมบูรณ์ 1 ใบ เพื่อให้ทำการปฏิสนธิเช่นนี้ในไข่ที่สมบูรณ์ที่เลือกไว้จนครบ

โดยใช้เครื่องมือและกล้องภายในห้องปฏิบัติการ กรณีที่ฝ่ายชายทำหมัน หรือไม่สามารถเก็บได้ อาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อนำอสุจิออกมา ทำการปฏิสนธิต่อไป

4. เพาะเลี้ยงตัวอ่อน

เมื่อได้ตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วต้องเพาะเลี้ยง โดยใช้เวลาประมาณ 3 - 5 วัน ในห้องปฏิบัติการเฉพาะที่ปลอดเชื้อ ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความสว่าง แสง แรงดัน และความชื้นด้วย รวมถึงความเป็นกรด ด่าง

และก๊าซในปริมาณที่เหมาะสม โดยเป็นขบวนการเลี้ยงตัวอ่อนที่เลียนแบบให้ใกล้เคียงกับสภาวะภายในร่างกายคนมากที่สุด จนถึงระยะบลาสโตซีสท์ (Blastocyst) เป็นเวลา 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ตัวอ่อนแข็งแรง แล้วจึงค่อยนำกลับใส่เข้าไปที่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง

5. ย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก

การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกมี 2 แบบคือ รอบสด กับรอบแช่แข็ง

  • โดยรอบสด เมื่อเลี้ยงตัวอ่อนได้ครบ 3 - 5 วันแล้ว แพทย์จะทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกรอบเดียวกับการกระตุ้นไข่เลย
  • ส่วนรอบแช่แข็ง จะทำการย้ายตัวอ่อนหลังจากการกระตุ้นไข่ ที่มีการเก็บแช่แข็งไว้ (สามารถเก็บแช่แข็งได้นานมากกว่า 5 - 10 ปี)

ซึ่งการเลือกว่าจะใช้แบบไหน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยดูจากความเหมาะสมจากสภาวะของฮอร์โมนและโพรงมดลูกของผู้หญิง ในตอนที่กระตุ้นไข่ว่าจะสามารถใส่ตัวอ่อนกลับไปได้เลยหรือไม่

แต่หากต้องการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนจะต้องใช้วิธีแช่แข็งตัวอ่อนระหว่างรอผลการตรวจโครโมโซม

6. การตรวจติดตาม

หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้วเป็นเวลา 7 - 10 วัน แพทย์ก็จะนัดให้มาตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ และมีการตรวจติดตาม จนตัวอ่อนมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถตรวจดูด้วยอัลตร้าซาวด์ได้เมื่ออายุของครรภ์มากขึ้น

สอบถามรายละเอียด ปรึกษาคลีนิกผู้มีบุตรยาก รพ.วิภาวดี ได้ทุกวัน (08.30 – 20.00 น.) 

เพิ่มเพื่อน

โทร. 0-2561-1111 กด 1255