เมื่อ PRP ทำให้ชีวิตดีขึ้น "ความประทับใจจากคนไข้ที่ได้ฉีด PRP เพื่อรักษาข้อเข่า"

เมื่อ PRP ทำให้ชีวิตดีขึ้น "ความประทับใจจากคนไข้ที่ได้ฉีด PRP เพื่อรักษาข้อเข่า"

            ผมเป็นคนไข้ของโรงพยาบาลวิภาวดี 30 กว่าปีมาแล้วครับ ผมเป็นข้าราชการเกษียณอายุตอนนี้ 76 ปีแล้ว ก็เดิมทีผมเป็นคนที่ชอบออกกำลังกาย ฟิตเนส วิ่ง ใช้ขา ใช้เข่าอะไรต่ออะไรค่อนข้างเยอะ สมัยหนึ่งผมวิ่งแต่ละวันประมาณ 7-8 กิโลเมตร เกือบทุกวันเป็นเวลากว่า 10 ปีเลยคิดว่าไม่ค่อยเป็นอะไร แต่ 10 ปีให้หลังมา รู้สึกน้ำหนักตัวเพิ่มแต่ก็ยังวิ่งอยู่นะครับ ก็เล่นกีฬา เล่นกอล์อฟ ฟิตเนส ว่ายน้ำบ้างก็ไม่เป็นอะไร แต่ว่าอยู่ ๆ มาวันนึง ผมกำลังทำงานอยู่ งานก็ไม่หนักอะไร อยู่ๆ เดินก็เจ็บขาด้านซ้าย เจ็บตรงเข่า ปวดแปล๊บ ก้าวขาไม่ได้ แล้วก็หมดแรงไปเลย ทำอะไรไม่ได้เลยต้องนั่ง ใช้รถเข็น ก็ไปหาแพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ (Orthopaedics) ส่ง X-Ray เข่า ทำ MRI เข่า ก็สรุปว่า พบเข่าเสื่อม ที่เรียกว่าพวกเส้นเอ็น (Ligament) รอบ ๆ ข้อเข่ามีปัญหา แต่ว่าช่องระหว่างเข่ายังดีอยู่ ก็คล้ายๆ ว่าจะเป็นอาการเริ่มต้นของคนเป็นโรคเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ หรือที่เรียกว่า Knee Osteoarthritis ซึ่งปกติเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมีทุกคนแล้วแต่ช่วงวัย แล้วแต่ไลท์สไตส์ของแต่ละคน บางคนก็เริ่มตั้งแต่อายุ 50 เลยก็มี เป็นๆ หายๆ ผมเองก็ไม่รู้ว่าเป็น มารู้ผมก็มีอาการแล้วคือ “เรื่องนี้ก็เป็นสัญญาณเตือนของร่างกายบอกว่า คุณใช้เข่ามากไปแล้ว” มันก็เลยทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอักเสบขึ้นมา แปลว่าเราต้องหยุด Activity ที่เราเคยทำอยู่ ตอนนั้นผมทรมานอยู่ เดินไม่ได้ต้องใช้ไม้เท้า ไม้เท้าคล้ายๆ Walker ถึงจะไปได้ นั่งเก้าอี้รถวีลแชร์ เป็นส่วนที่ทำให้เราคิดว่าเราเคยมี Activity ที่ดีๆ บัดนี้ Activity เหล่านี้ถูก Limit ด้วยการเจ็บเข่า เจ็บข้างเดียว หากมีการใช้งานซ้ำ ๆ

            ผมก็มีเพื่อนหลายคนเล่นกอล์ฟ แล้วก็เจ็บขาซ้ายเหมือนกับผมเลย ไปถามดูได้ 4 คน ผมเลยคิดว่าเกิดจากการสวิงกอล์ฟเล่นกอล์ฟหรือเปล่า ผมเองเล่นกอล์ฟมาประมาณ 20 ปีแล้ว มันอาจจะเป็นไปได้ก็ได้ ก็ไม่รู้ สรุปคือตอนที่ผมปวดมากๆ หมอให้กินยาทุกชนิดหลายประเภท กินยาตามแพทย์สั่ง ยาบางอันกินแค่ไม่เกิน 5 วัน วันแรกกินรู้สึกว่าทุเลาขึ้น แต่ว่ายังเดินลำบากอยู่ ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่ปวด แต่ปวดตอนเดินตอนลุก จนกระทั่ง 1 สัปดาห์ผ่านไป ผมไปบอกหมอไม่ไหวหรอก “ยังเจ็บอยู่” ผมสามารถชี้ได้ว่าเจ็บตรงไหน คือตรงนั้นเป็นจุดของทางแพทย์เรียกว่าเป็นการอักเสบของเอ็น คล้ายเป็นถุงหล่อลื่นระหว่างกระดูกกับเส้นเอ็น อักเสบ แพทย์แนะนำว่าลองฉีดสเตียรอยด์ไหม ผมบอกว่าเอาเลยทำเลย พอฉีดเสร็จประมาณไม่เกิน 6 ชั่วโมงหายเป็นปลิดทิ้งเลย แต่หลังจากนั้นไปสัก 2-3 วันกลับมาใหม่ก็ยังปวดอยู่ยังไม่หาย ก็เลยคิดว่าไปถามอาจารย์แพทย์ มีวิธีการอื่นอีกไหมในการรักษาเข่าเสื่อมมีอาการอักเสบของเอ็น ๆผมอักเสบจนกระทั่งรู้สึกเข่าบวมมีน้ำ เรารู้สึกว่ามีน้ำบวมอยู่ที่ข้อเข่า ผมไปตรวจร่างกายเพิ่มเติมดูว่าผมเป็นโรครูมาตอยด์ เป็นโรคเก๊าท์หรือไม่ ซึ่งผมตรวจหมดแล้ว ผมก็ไม่เป็นยังไม่มีโรคเหล่านี้ ก็สรุปว่าเป็นความเสื่อมของเอ็นรอบๆ เข่า วิธีแก้ แพทย์แนะนำการออกกำลังกายในน้ำ เพื่อลดการกระแทก ผมก็ทำไป และทำการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง บางวันรู้สึกว่าอยากหายเร็ว ก็ออกกำลังกายหนักเกินไป จึงปวดขึ้นมาอีก “จนกระทั้งแพทย์ที่ รพ.วิภาวดีแนะนำว่ายังมีอีกวิธีที่ค่อนข้างใหม่แต่ไม่ใหม่เอี่ยม ใช้กันมา 5-6 ปีแล้ว เป็นวิธีการที่เรียกว่า การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP ย่อมาจากคำว่า Platelet-Rich Plasma”  ทำที่ รพ.วิภาวดีมาหลายปี มีแพทย์ มีเครื่องมืออุปกรณ์พร้อม วิธีการก็คือ โดยการเจาะเลือดปริมาณ 10-20 CC นำเลือดไปปั่นด้วยความเร็วที่เหมาะสม ทำให้พลาสมาและเกล็ดเลือด แยกตัวออกจากเม็ดเลือด เป็นการนำพลาสมาที่เต็มไปด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น และ Growth Factors มีสเต็มเซลล์ที่มีคุณสมบัติในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อหลายชนิด สุดท้ายได้เกล็ดเลือดเข้มข้นประมาณสัก 3 CC แล้วนำไปฉีดที่เข่าจุดที่มีอาการโดยไม่มีผลข้างเคียง และไม่เกิดอาการแพ้ เนื่องจากนำเลือดจากผู้ป่วยเองมาปั่น รักษา PRP นอกจากใช้รักษาความเสื่อมของเข่าแล้ว ยังนำไปรักษาเสริมความงามได้ด้วย เช่น  ฉีดหน้า ฉีดหนังศีรษะเพื่อแก้ปัญหาผมร่วง ขึ้นอยู่กับวิธีใช้ เป็นการรักษาอย่างหนึ่ง มีคนไข้กลุ่มหนึ่งรักษาด้วย PRP  ได้ผล บางคนฉีดครั้งเดียว หรือ 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ ฉีด 2 ครั้งบ้างก็หายไปเลย ผลการรักษาสามารถลดอาการปวดขึ้นอยู่กับความรุนแรงและพยาธิสภาพของคนไข้แต่ละคน  ซึ่งการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นนี้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ตรวจ ที่จะดูว่าอาการดีขึ้นไหมก็บอกได้ แต่ว่าเขาไม่ได้พูดว่าฉีด PRP แล้วหายเลย ถ้าหายเลยต้องไปฉีดเตรียลอยด์ แต่ถ้าฉีดบ่อยๆ แล้วเอ็นจะพังเปื่อยยุ่ยไปและจะขาดได้ แต่ PRP เหมือนการไปเสริมสร้างการรักษาตัวเองด้วยตัวเอง อันตรายที่เกิดจาก PRP เกือบจะไม่มี เพราะเป็นเกล็ดเลือดของเราเอง ไม่ได้เอามาจากคนอื่น ทำปุ๊บฉีดปั๊บเลย ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็เสร็จ ไม่ได้เจ็บปวดอะไรเลย หลังฉีดจะประคบเย็น ไม่มีความรู้สึกเลยครับว่าเจ็บปวด เพราะแพทย์ที่ทำเป็นผู้เชี่ยวชาญรู้วิธีการว่าจะทำอะไรขั้นตอนอย่างไรหลังจากทำ PRP ผ่านมาได้ 1 เดือน ผมว่าผมเกือบหายดีแล้ว คือแต่ก่อนผมก็ยังใช้ไม้เท้า หลังๆ ผมก็เดินได้ แต่ว่าผมก็ไม่กล้าไปลงน้ำหนักที่เข่าซ้ายสักเท่าไหร่ กลัวกลับมาเป็นแบบเดิม จริงๆ เดินแบบตรงๆ คงจะได้อีก แต่แพทย์ก็ตรวจแล้ว ผ่านมาเดือนแล้วเข่าไม่มีบวมแล้วหายเป็นปกติแล้ว แต่จะเอาอีกทีไหม ฉีด PRP อีกครั้งไหม และผมก็ฉีดรอบที่สองมา 3 วันแล้ว การฉีดระยะห่างโดยมากประมาณ 3 สัปดาห์ขึ้นไป บางคนก็ฉีดประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ไม่ได้ฉีดไปตลอดหรอก แล้วแต่คนไข้ ขณะเดียวกันก็ทานยาที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางเข่าดีขึ้น เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulphate) อะไรพวกนี้ ถือว่าใครว่าอะไรดีก็เอาทั้งนั้นไม่เป็นอันตรายต่อตัวเรา แล้วก็ผ่านมาจนปัจจุบัน 2 เดือนพอดี อาการดีขึ้นประมาณสัก 90 % แต่ว่าในขณะนั้นผมก็ต้องไปทำพวก Exercise ไปทำเอง เพื่อให้ขามีกำลังของกล้ามเนื้อเพื่อจะพยุงเข่า พร้อมกันนั้นต้องลดน้ำหนักลงไปพอสมควร เพื่อให้เข้าเรื่องเข้าราวกันไป มีออกกำลังกายเบาๆ เช่น ปั่นจักรยานแบบเบาๆ 15 นาที  ว่ายน้ำ 30 นาที บริหารเข่า ใน Fitness Center มีอุปกรณ์ครบ

            การตีกอล์ฟประมาณ 2 เดือนน่าจะตีได้ แต่ตอนนี้ไม่ตีหยุดไปก่อน คือถ้าเราลงน้ำหนักเข่าข้างซ้ายได้ก็จะสามารถตีได้ เดินได้ แต่ความกลัวของผมเองคราวนั้นอยู่ๆ ก็เป็นคือเราไม่รู้ว่าจะเป็น ไปทำอะไรไม่ได้มีล้ม ไม่มีอาการเตือนมาก่อนเลย แต่มีอาการเตือนที่ผมคิดเอาเองคือ ปกติที่เรานั่งกับพื้นเหยียดเท้าออกไป เราต้องลุกด้วยเข่าของเราได้แต่ลุกไม่ได้ นั่นแปลว่ากล้ามเนื้อขาไม่ค่อยมีแรง เพราะฉะนั้นต้องไปทำให้กล้ามเนื้อขามีแรงขึ้นมาต้องใช้เวลาถึงจะพยุงเข่าได้ ซึ่งสาเหตุ คือ มีอายุมาก น้ำหนักมากขึ้น การใช้งานเข่าเยอะ เข่าเสื่อมก็ตามมา เรื่องของคนชราครับ ผมขึ้นบันได ขึ้นลงไม่ใช่ชั้นเดียว 2-3 ชั้น บ่อยๆ ตอนหลังก็ไม่เอาแล้วพวกนี้ก็หลีกเลี่ยง

            ก่อนฉีด Platelet-Rich Plasma อาจมีข้อห้ามหรือการเตรียมตัวเป็นพิเศษ เช่น บางคนต้องทานยาพวกทำให้เกร็ดเลือดไม่แข็งตัว คือเป็นคนที่เข่าเสื่อมแบบถาวรไม่ได้ผลแน่นอน อาจจะดู X-Ray แบบนี้ไม่มีปัญหา ผ่าตัดเปลี่ยนเข่า ต้องทำในคนที่ค่อนข้างแข็งแรงอยู่ไม่มีโรคแทรกซ้อนอยู่เยอะ อาจจะเป็นเบาหวานเล็กๆ น้อย ๆ ความดันควบคุมได้ถึงไม่มีปัญหาในการทำ ทำได้อีกอย่างเข่าต้องไม่เสื่อมมาก การดูเข่าไม่เสื่อมมากดูจากภาพ X-Ray ก็บอกได้ แต่ถ้าเสื่อมพวกมีพังผืด หรือเอ็นอักเสบที่อยู่รอบๆ เข่า เป็นตามอายุอันนี้จะได้ผลมากกว่า เพราะฉะนั้น PRP รักษาพวกเข่าการอักเสบของเส้นเอ็นต่างๆ ทำได้หมด บางคนไหล่อักเสบที่สามารถชี้จุดได้แทนที่จะฉีดสเตียรอยด์ก็เลือกฉีด PRP แทน ก็มีฉีดกันหลายคน

            เจาะเลือดแต่ละครั้ง 20 CC เท่านั้นนำไปปั่น ที่จะฉีดได้ประมาณ 3 CC ฉีดได้ครั้งเดียว ตอนที่ฉีด ไม่ต้องฉีดยาชา การฉีดคล้ายการฉีดยาหรือฉีดวัคซีน จะฉีดเข้าไปในเข่าตรงบริเวณที่เจ็บของเข่าจุดที่มีอาการ คนที่เป็นเอ็นอักเสบฉีดแล้วไม่ได้หายทันที ก็รอเวลาสัก 1 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยตัวเราเองจะรู้ว่าดีขึ้น ฉีดได้หลายครั้งแล้วแต่เรา ผมก็ลองอีกครั้งดู ฉีดไปแล้วทั้งหมด 2 ครั้งอย่างที่บอกข้างต้น ตอนนี้ดีขึ้น 90% เพราะฉะนั้น PRP ใช้หลายรูปแบบทั้งนี้พูดถึงเรื่องการรักษา แต่อาจใช้ในการป้องกันก็มี เช่น Anti-Aging ศาสตร์แห่งการชะลอวัย คนที่ใช้เข่าเยอะ อายุที่มากขึ้น มีการฉีดเป็นการช่วยชะลอวัยมีการทำอยู่ คลินิกเสริมความงามมีการฉีดให้กระชับผิวให้ดูเต่งตึงสดใสทำนองนี้ แม้กระทั่งผมร่วงหรือปลูกผมฉีดใต้หนังศีรษะปัจจุบันก็มีทำ
            เข่าข้างขวาของผมตอนนี้ยังไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ผมกลัวจะมีในอนาคตเพราะตอนนี้ผมใช้ขาขวาแทนขาซ้าย แต่ผมมีวางแผนที่จะแบ่งน้ำหนักให้พอดีกัน ก่อนหน้านี้มีการตีกอล์ฟคนตีจะรู้เลยว่าวงสวิงจะต้องใช้ขาซ้ายยัน ทุกคนจะรู้ ถ้าทำเป็น 10 – 20 ปี ก็มีโอกาส เพราะเพื่อนๆ ก็เป็นกันหลายคนคล้ายๆ แบบนี้ มีข้อคิดแนะนำสำหรับคนชอบออกกำลังกายให้ระวังเรื่องเข่า ง่ายๆ เลยเราต้องรู้ตัวเราเองว่า เรามีไลท์สไตล์แบบไหน ดูอายุ เพราะว่าเคยเห็นคนที่วิ่งมาตลอด พออายุ 70 กว่าปี เข่าเสียเยอะ และสุดท้ายต้องผ่าตัดเปลี่ยนเข่าแต่วิธีการปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากเย็น หลังทำสามารถดำรงชีวิตเหมือนเดิมได้ แต่ว่าเข่าที่เปลี่ยนไปแล้วจะดำรงชีวิตประมาณ 10 ปี บางทีก็ต้องไปผ่าตัดเปลี่ยนใหม่อีก สุดท้ายอยากแนะนำให้ดูแลสุขภาพตนเอง โดย ต้องมีการควบคุมน้ำหนัก ควบคุม
Activity ที่เกี่ยวกับการใช้เข่า การออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อขา ให้เกิดความแข็งแรง หรือทำสควอช (Squat) ถ้าทำบ่อยออกกำลังขาบ่อยๆ ตื่นมาต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ ต้องให้แพทย์แนะนำหรือปรึกษานักกายภาพ ในการออกกำกายที่เหมาะสมเพื่อสร้างกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง

<