โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

        หนังตาตก แขนขาอ่อนแรง... อาการแสดงของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ (Myasthenia Gravis : MG) ภัยแฝงที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายทำงานอย่างผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยหนุ่มสาว เฉลี่ยอยู่ที่ 3 คนต่อประชากร 100,000 คน ทำให้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงถูกนับให้เป็นภัยแฝงใกล้ตัว เพราะแม้ภายนอกจะยังคงดูสดใส แต่สภาวะกล้ามเนื้อข้างในอาจกำลังค่อยๆ อ่อนแรงลง

    โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ (Myasthenia Gravis : MG) คือหนึ่งในกลุ่มโรคทางด้านระบบประสาทสั่งการ (Motor Neuron Disease : MND) โดยมีประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) คอยทำหน้าที่ส่งสารสื่อประสาท (Receptor) ที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ให้ตอบสนองโดยการเคลื่อนไหว เช่น การบีบมือ และคลายมือ ซึ่งในผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะมีจำนวนตัวรับสารสื่อประสาท (Receptor) ที่น้อยกว่าคนทั่วไป รวมถึงปัญหาที่เกิดจากต่อมไทมัสที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เข้าไปทำลายตัวรับสารสื่อประสาทเอง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ โดยมักจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อมัดที่ใช้เป็นประจำ เช่น

  • กล้ามเนื้อดวงตา 
  • กล้ามเนื้อรอบปากและลำคอ
  • กล้ามเนื้อใบหน้า
  • กล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา  

เราจึงมักเห็นผู้ที่เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอาการตาตก เห็นภาพซ้อน การพูด-เคี้ยว-กลืนค่อยๆ ผิดปกติไป และการเดิน หรือเคลื่อนไหวที่อ่อนแรงลงไปแบบเฉียบพลัน 

"กล้ามเนื้ออ่อนแรง" รู้เร็ว รักษาทัน

1. อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ แขน หรือ ขา หรือมีอาการกลืนลำบาก

2.เสียงเปลี่ยน ร่วมกับอาการกล้ามเนื้อลีบและกล้ามเนื้อเต้นกระตุก

3.พูดลำบาก หายใจติดขัดและหอบเหนื่อยจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง

4.กระบังลมอ่อนแรง จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เพราะมีอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลานอนราบ

5.มีอาการต้องตื่นกลางดึก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องให้อาหารทางสายยางผ่านจมูกหรือทางหน้าท้องและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

 

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (อันตราย) ปล่อยทิ้งไว้อาจได้ภาวะแทรกซ้อน ! 

        ความร้ายกาจของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ ผู้ป่วยจะยังคงทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตต่างๆ ได้เป็นปกติในช่วงแรกๆ ของวัน แต่หลังจากนั้นจะค่อยๆ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากผู้ป่วยได้หยุดพักหรือหยุดใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นไปชั่วขณะ ก็สามารถฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานตามปกติได้อีกเช่นเดียวกัน แต่คงดีกว่าหากผู้ป่วยไม่ปล่อยให้อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นซ้ำๆ แบบเรื้อรัง เพราะความรุนแรงของโรคยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น

  • ภาวะหายใจล้มเหลว จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ
  • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จากการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์ 
  • ความเสี่ยงต่อการสำลัก จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อลำคอ
  • ความเสี่ยงต่อโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง (SLE)

         หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แนะนำให้หยุดพักสักครู่ หากรู้สึกดีขึ้นควรเข้ารับการวินิจฉัยอาการโดยแพทย์เพื่อเข้าสู่การรักษา และปิดโอกาสการมาของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น  


ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.youtube.com/watch?v=j3iiPoiJBOY

https://siamrath.co.th/n/180731

https://absolute-health.org/th/blog/post/autoimmune-disease1.html

แพทย์

FAQ