การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว

                การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว CLEAN INTERMITTENT CATHETERIZATION คนไข้จำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ อาทิ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไหลออกโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น บ่อยครั้งที่การรักษาโดยใช้ยาหรือทำการผ่าตัด ไม่สามารถช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นเลยและต้องลงท้ายด้วยการคาสายยางทิ้งไว้ตลอดเวลา ในบางรายอาจต้องทำกระเพาะปัสสาวะเทียม โดยเปิดออกทางหน้าท้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการเก็บปัสสาวะและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก   การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว (CLEAN INTERMITTENT CATHETERIZATION)                  คนไข้จำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ อาทิ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไหลออกโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น บ่อยครั้งที่การรักษาโดยใช้ยาหรือทำการผ่าตัด ไม่สามารถช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นเลยและต้องลงท้ายด้วยการคาสายยางทิ้งไว้ตลอดเวลา ในบางรายอาจต้องทำกระเพาะปัสสาวะเทียม โดยเปิดออกทางหน้าท้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการเก็บปัสสาวะและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก    ทำไมจึงเกิดการติดเชื้อ โรคที่ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติและต้องพึ่งการสวนปัสสาวะ 1. โรคสมอง อาทิเช่น อุบัติเหตุต่อเนื้อสมอง เนื้องอกในสมอง เนื้อสมองฝ่อ สมองอักเสบ ฯลฯ 2. โรคของไขสันหลัง อาทิเช่น อุบัติเหตุต่อไขสันหลัง เนื้องอกไขสันหลังอักเสบ พยาธิเข้าไขสันหลัง ซิฟิลิส ฯลฯ 3. โรคของเส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ เช่น เบาหวาน ฯลฯ 4. ปลายประสาทที่มาควบคุมกระเพาะปัสสาวะบางส่วนถูกทำลายจากการผ่ตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน 5. โรคของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะยืดมากเกินไปจนไม่มีแรงขับปัสสาวะ   การหลีกเลี่ยงการคาสายยางทิ้งไว้นาน             การคาสายยางทิ้งไว้ในท่อปัสสาวะหรือคาสายยางไว้ในกระเพาะโดยผ่านทางหน้าท้องเป็นระยะเวลานานๆ เปรียบเทียบดาบสองคมในแง่ของประโยชน์นั้นคงจะแก้ปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะได้   ส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาที่จะตามมาอาทิ เช่น คนไข้จะต้องมาเปลี่ยนสายยางทุกๆ 1 เดือน หรือมาก่อนถ้าสายยางตัน ในบางรายอาจจะมีอาการเจ็บมีนิ่วหรือมีเลือดออก และมีอาการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ในผู้ชาย อาจมีหนองออกจากท่อปัสสาวะ อัณฑะบวมหรือมีรูทะลุจากท่อปัสสาวะออกมาได้และยังก่อให้เกิดความรำคาญหรือความยุ่งยากในการที่จะต้องหิ้วสายและถุงเก็บปัสสาวะจะไปไหนมาไหนอีกด้วย           ดังนั้นผลเสียมีมากทีเดียว ในปัจจุบันนี้เรามักจะหลีกเลี่ยงการคาสายยางทิ้งไว้ในกระเพาะปัสสาวะนานๆ นอกจากไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว(Clean Intermittent Catheterization) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้เหนือกว่าการคาดสายยางทิ้งไว้นาน ๆ การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว แบ่งเป็น 2 แบบคือ 1. การสวนปัสสาวะด้วยตนเอง 2. ให้ผู้อื่นสวนปัสสาวะให้กรณีไม่สามารถทำเองได้   ประโยชน์ของการสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว   1. ช่วยลดปัญหาการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะและการเสื่อมสภาพของ ไตได้ดีกว่า 2. ในบางกรณีอาจจะทำให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะกลับเข้าสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น 3. หลีกเลี่ยงปัญหาแทรกซ้อนและสิ่งไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นแบบการคาสายยางทิ้งไว้ได้ 4. ทำให้คุณภาพของชีวิตดีขึ้น คนไข้สามารถเข้าสู่สังคมและไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น  5. ทำให้คนไข้เป็นตัวของตัวเองและเป็นภาระต่อผู้อื่นน้อยที่สุด   อุปสรรคของการสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว 1. สำหรับผู้ที่สวนปัสสาวะด้วยตนเอง โดยเฉพาะผู้หญิงอาจจะมีความลำบากในตอนเริ่มต้นทำใหม่ๆ    2. สำหรับผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องให้ผู้อื่นสวนให้ ถ้าเป็นเด็กพ่อแม่หรือญาติจะเป็นผู้ทำให้จนกระทั่งเด็กโตทำการสวนเองได้ แต่กรณีที่เป็นผู้ใหญ่จะสวนให้ได้ยาก ควรจะต้องปรึกษาแพทย์   3. คนไข้ที่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ทำให้สวนได้ลำบาก   อุปกรณ์การสวนปัสสาวะ 1. สายยางสำหรับสวนปัสสาวะ   2. น้ำยาฆ่าเชื้อโรคแซฟลอน (savlon – สีเหลือง) หรือสบู่ (วิธีผสม น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 5 ซีซี : น้ำต้มสุก 500 มิลลิลิตร(ซีซี)) 3. น้ำต้มสุก 1 ขวด 4. สำลีสะอาด 5. เยลลี่สำหรับหล่อลื่นสายสวนปัสสาวะก่อนที่จะสวนปัสสาวะ 6. ภาชนะ 2 ใบ (ใบเล็กใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ใบใหญ่ใส่น้ำปัสสาวะที่สวนออกมาจากตัวผู้ป่วย) 7. กระจกเงา(ก่อนจะสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยใช้กระจกเงาส่องดูท่อปัสสาวะเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้นแต่ถ้าป่วยสวนปัสสาวะชำนาญแล้วไม่จำเป็นต้องใช้กระจกเงา)   การเตรียมตัวและของใช้ในการสวนปัสสาวะครั้งต่อไป 1. ล้างอุปกรณ์การสวนปัสสาวะทั้งหมดด้วยน้ำสบู่แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้ง 2. นำสายสวนที่ล้างสะอาดแล้วมาแช่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคในหลอดพลาสติก โดยเทน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในหลอดพลาสติกให้เต็มหลอด นำสายสวนปัสสาวะใส่ลงในหลอดพลาสติกให้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคไหลเข้าไปอยู่ภายในสายสวนปัสสาวะด้วย แล้วจึงเอาฝาจุกเปิดปลายสายสวนปัสสาวะและปิดหลอดท่อพลาสติกไว้       ทุกครั้งที่นำสายสวนแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ต้องเอาฝาจุกปิดปลายสายสวนปัสสาวะไว้ทุกครั้งเพื่อความสะดวกในการนำสายสวนออกมาจากหลอดพลาสติกในการใช้ครั้งต่อไป   วิธีการสวนปัสสาวะ 1. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ 2 ครั้ง (ควรตัดเล็บให้สั้นและไม่สวมเครื่องประดับ) 2. เตรียมอุปกรณ์การสวนให้พร้อมที่จะสวนปัสสาวะและสายสวนปัสสาวะที่นำออกมาจากการแช่น้ำ     แซฟลอนแล้วให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกก่อนที่จะนำมาสวนปัสสาวะ 3. ท่าสวนปัสสาวะ สวนด้วยตนเองหรือผู้อื่นสวนให้               ผู้หญิง : นั่งยองๆ แยกขาหรือนอนแยกขาออก 2 ข้าง หรือยืนโดยให้เท้าข้างหนึ่งเหยียบบนเก้าอี้  เอากระจกส่องดูท่อปัสสาวะหรือใช้นิ้วมือคลำก็ได้          ผู้ชาย : ยืน, นอนหรือนั่ง 4. ทำความสะอาดบริเวณปากท่อปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค กรณีที่ต้องไปทำนอกบ้าน สามารถใช้สบู่ล้างอวัยวะสืบพันธุ์ และท่อปัสสาวะได้ 5. จับสายสวนโดยห่างจากปลายด้านสายสวนปัสสาวะ ประมาณ 1 นิ้ว ทาเยลลี่หล่อลื่นปลายสายสวนเข้าท่อปัสสาวะเพื่อลดความระคายเคืองแล้วจึงใส่สายสวนเข้าท่อปัสสาวะในผู้หญิงใส่สายสวนเข้าไปลึกประมาณ 3 นิ้ว ส่วนผู้ชายใส่ลึกจนสุดสายสวนปล่อยให้น้ำปัสสาวะไหลลงภาชนะรองรับหรือโถส้วม 6. เมื่อน้ำปัสสาวะจากสายหยุดไหล ใช้มือข้างหนึ่งจับสายสวนได้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งกดเหนือหัวเหน่า ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ของกระเพาะปัสสาวะจะมีน้ำปัสสาวะไหลออกมาอีก เมื่อน้ำปัสสาวะจากสายสวนหยุดไหลให้ดึงสายสวนออกทีละนิดพร้อมกับกดเหนือหัวเหน่าทำซ้ำจนแน่ใจว่าน้ำปัสสาวะไหลออกหมดแล้วจึงดึงสายสวนออกจากท่อปัสสาวะ 7. ล้างบริเวณอวัยวะสืบพันธ์และท่อปัสสาวะด้วยน้ำสะอาดหรือใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดบริเวณดังกล่าวให้แห้งเมื่อสวนปัสสาวะเสร็จแล้วทุกครั้ง.   ข้อควรจำ 1. จำนวนการสวนในแต่ละวันควรเป็นแพทย์ เป็นผู้กำหนด 2. ควรสวนให้ตรงกับเวลาที่กำหนดเสมอโดยไม่ต้องคำนึงถึงความสะอาดหรือสิ่งแวดล้อม การสวนปัสสาวะเมื่อเลยเวลา ปล่อยให้ปัสสาวะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนานๆ อาจยิ่งทำให้มีการอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น 3. การสวนปัสสาวะแบบนี้ทำด้วยความสะอาดเท่านั้น ไม่ใช่ทำแบบปราศจากเชื้อ เหมือนในโรงพยาบาล ดังนั้น ไม่ต้องนำมาเป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจเป็นอันขาด 4. อย่าเลิกการสวนเอง ต้องปรึกษาแพทย์และหากมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสวนให้รีบมาพบแพทย์ทันที 5. การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการสวนปัสสาวะแบบสะอาดจะเป็นเหตุให้เกิดแรงจูงใจในการทำที่ถูกต้องและสม่ำเสมออันจะทำให้คนไข้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ   ข้อมูลโดย : นพ.ไชยสิทธิ์  มัจฉริยกุล ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีปฏิบัติตนเบื้องต้นเมื่อสัมผัสกับแก๊สน้ำตา

 วิธีปฏิบัติตนเบื้องต้นเมื่อสัมผัสกับแก๊สน้ำตา 1.ออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด และไปอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก 2.ล้างตาด้วยน้ำเกลือ Normal Saline หรือน้ำธรรมดา นาน10-15 นาที 3.ถ้ามีคอนแทคเลนส์ให้ถอดทันที 4.ล้างหน้า ล้างตาและผม รวมทั้งเปลี่ยนเสื้อผ้า เนื่องจากแก๊สน้ำตาเป็นสารเคมี เสื้อผ้าที่ถอดเปลี่ยนแล้วให้ใส่ถุงพลาสติกแยกไว้  5.ในผู้ป่วยที่ได้รับการสัมผัสอย่างรุนแรงและนาน ให้รับส่ง รพ.เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น กระจกตาอักเสบหรือปัญหาในระบบทางเดินหายใจ                                พญ.เมธินี  จงเจริญ                  จักษุแพทย์ประจำโรงพยาบาลวิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม