โภชนบำบัดควบคุมอาหารเมื่อเป็นเบาหวาน กินอย่างไรให้มีสุข?

การควบคุมอาหารกับโรคเบาหวาน จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ปัจจุบันคนไทยอายุมากกว่า 35 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากถึง 2.4 ล้านคน โดยมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ที่ไปพบแพทย์เพราะมีอาการอย่างอื่น เช่น แผลติดเชื้อ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เป็นต้น โดยอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบ่งง่ายๆ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. อาหารที่ “ไม่ควร” รับประทาน น้ำตาลทุกชนิดเช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปิ๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ขนมหวานต่างๆ         ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมข้นหวาน นมปรุงแต่งรสหวาน โยเกิร์ตปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกต อินทผลัม รวมถึงผลไม้กระป๋อง อาหารปรุงแต่งด้วยไขมันอิ่มตัว เช่นไขมันสัตว์ ไส้กรอก หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ เนยเทียม ครีม 2. อาหารที่รับประทานได้แต่ต้อง “จำกัดปริมาณ” อาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ขนมปัง เผือก มัน ฟักทอง อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาล และมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล และเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานให้เหมาะสมกับแรงงานและกิจกรรมที่ทำ การรับประทานข้าวน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ การเลือกรับประทานข้าวควรเลือกเป็น ข้าวกล้อง หรือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพราะมีใยอาหารสูง ผลไม้ ผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกัน ยิ่งรสหวานมากยิ่งมีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย องุ่น เงาะ มะม่วงสุก ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวาน ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน เช่น รับประทานวันละ 3 มื้อ มื้อละ7-8 ชิ้นพอดีคำ 3. อาหารที่รับประทานได้ “ไม่จำกัดปริมาณ” ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกวัน ทุกมื้ออาหาร รับประทานให้หลากหลายสี อาหารเหล่านี้แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ได้อย่างพอดี ได้แก่ ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ตำลึง บวบ ฟัก แตงกวา น้ำเต้า ถั่วฝักยาว ถั่วงอก เป็นต้น จะรับประทานในรูปผักสดหรืผักต้มก็ได้ แต่ไม่แนะนำในรูปน้ำผักปั่น โดยเฉพาะผักปั่นแยกกากทำให้เราไม่ได้รับใยอาหารเท่าที่ควร องค์การอนามัยโลกกำหนดให้บริโภคผักผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับปริมาณ 4-6  ทัพพี ถ้าเป็นผักลวกสุกต้องเพิ่มขึ้น 2 เท่า งานวิจัยพบว่าการกินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจร้อยละ 33 และโรคมะเร็งร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับคนที่กินผัก ผลไม้ ไม่ถึงเกณฑ์ ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร? ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรเรียนรู้ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทาน และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ประกอบด้วยข้าวหรืออาหารแป้งอื่น ๆ เนื้อสัตว์ไม่ติดทัน ไข่ น้ำนมพร่องมันเนย ผักทั้งสีเขียวและสีเหลือง ผลไม้ที่หวานน้อยในปริมาณที่แนะนำ สำหรับไขมันควรเลือกน้ำมันพืช จำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ในการผัดแทนการทอดเลี่ยงการใช้ไขมันอิ่มตัวเป็นประจำ เช่น น้ำมันหมู กะทิ เนย ฯลฯ  อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ควรเหมาะกับน้ำหนักตัว และแรงงานที่ใช้ เช่น หญิงที่น้ำหนักตัวปกติและทำงานเบารับประทานข้าวได้มื้อละ 2 – 3 ทัพพีเล็ก ชายที่ไม่อ้วนทำงานเบาถึงปานกลาง รับประทานข้าวได้มื้อละ 3 – 4 ทัพพีเล็ก ข้าว 1 ทัพพีเล็ก = ขนมปังปอน 1 แผ่น หรือ = ก๋วยเตี๋ยว 1 ทัพพี        = ขนมจีน 1 ทัพพี *ทัพพีเล็ก หมายถึง ทัพพีในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตักพูนพอควร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรใช้แนวทางการเลือกอาหารที่แนะนำไว้ และก่อนรับประทาน อาหารควรสำรวจรายการอาหารก่อน ถ้าเป็นอาหารบุพเฟ่ซึ่งมีอาหารหลากหลายควรดูให้ทั่ว และวางแผนการรับประทานอาหารในมื้อนั้นควรตักข้าวในปริมาณที่เคยรับประทาน ถ้าต้องการรับประทานทั้งข้าวและขนมปัง หรือแป้งชนิดอื่นด้วย ควรลดปริมาณแต่ละอย่างลง เลือกกับข้าวที่มีไขมันน้อยและมีผักมาก เช่น ต้ม ย่าง ยำ และผัด เนื้อสัตว์ตัดส่วนที่ติดมันและหนังออก เลี่ยงน้ำจิ้มที่มีรสหวาน หรือจิ้มแต่น้อย ผู้เป็นโรคเบาหวานอาจรับประทานขนมได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ควรเลือกขนมที่หวานน้อย และต้องวางแผนลดข้าว อาหารที่มีไขมัน รวมทั้งงดผลไม้ในมื้อนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่น ถ้ารับประทานเค้ก 1 ชิ้นเล็ก (ขนาด 1 x 1 นิ้ว) หรือถ้าขนมที่มีน้ำเชื่อม เช่น ซาหริ่ม ทับทิมกรอบ ให้ตักเพียงครึ่งถ้วย และลดข้าวลงประมาณ 1 ทัพพี จากที่เคยรับประทานไม่ควรงดข้าวและรับประทานแต่ขนมเพราะจะทำให้ไม่สามารถควบคุมรับน้ำตาลในเลือดได้และไม่ควรรับประทานขนมที่หวานจัดมาก เช่น ขนมเชื่อม ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา การรับประทานขนมหวานนี้ ผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานแต่น้อย พอคลายความ อยากเท่านั้น และไม่ควรทำบ่อย อาจทำในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเท่านั้น สำหรับเครื่องดื่ม ควรเลือกน้ำเปล่าหรือโซดาแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากจะดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว และดื่มแต่เพียงเล็กน้อย เช่น เบียร์หรือไวน์ ไม่เกิน 2 แก้ว ถ้าเป็นวิสกี้เจือจาง (45 มิลลิลิตร) ไม่เกิน 2 แก้ว สำหรับผู้ที่ยังติดรสหวาน อาจใช้น้ำตาลเทียม ซึ่งให้รสหวาน แต่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดเพิ่ม การนับคาร์บหรือคาร์โบไฮเครต คาร์โบไฮเครตเป็นอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งเมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือด พบได้ในอาหาร 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ข้าวแป้ง ผลไม้ นม/โยเกิร์ต ในขณะที่ผักและเนื้อสัตว์ มีน้อย จึงไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลมากนัก อาหาร 1 คาร์บ คือ อาหารที่มีคาร์โบเดรต ประมาณ 15 กรัม เช่น ข้าวสวย 1 ทัพพี , ข้าวเหนียว 1/2 ทัพพี , ขนมปัง1แผ่น , แอปเปิ้ล 1 ลูก , นมสด 240 ml , น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ  ปริมาณเฉลี่ยที่ควรรับประทาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ชาย ไม่เกิน 5 คาร์บ ต่อมื้อ ผู้หญิงไม่เกิน 4 คาร์บ ต่อมื้อ * หมายเหตุ : ปริมาณข้างต้นเป็นเพียงปริมาณเฉลี่ยเท่านั้น ผู้ป่วยแต่ละรายมีความต้องการคาร์โบไฮเดรตไม่เท่ากัน จึงควรปรึกษานักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ ถึงปริมาณเหมาะสมอีกครั้ง การแลกเปลี่ยนคาร์บ หมายถึง อาหารที่คาร์โบไฮเดรต เท่ากับสารอาหารแลกเปลี่ยนกันได้ การคำนวณหาความต้องการคาร์โบไฮเดรตในแต่ละวัน (ความต้องการพลังงานใน1วัน) ×50÷100= ______กิโลแคลอรี่ = กิโลแคลอรี่÷4=_______กรัมต่อวัน (คาร์โบไฮเดรต1กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่) (สัดส่วนของการกระจายพลังงาน CHO50% Prot30% Fat20%) * ผู้ป่วยสามารถดูตารางแสดงคุณค่าอาหารในหมวดอาหารแลกเปลี่ยนได้   โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ การคำนวณหาโปรตีนสำหรับบุคคลทั่วไป อยู่ที่ 0.8-1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม×0.8 กรัม = 40 กรัมต่อวัน เนื้อสัตว์1ส่วนจะมีโปรตีนอยู่ 7 กรัม *ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่นปลา , เนื้อสัตว์ , อกไก่ ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ การคำนวณหาความต้องการไขมันในแต่ละวัน (ความต้องการพลังงานใน1วัน)×30÷100=_______ Kcal. กิโลแคลอรี่÷9=_______กรัมต่อวัน น้ำมัน1ช้อนโต๊ะ มีไขมัน 15 กรัม ให้พลังงาน 135 Kcal. * ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก , น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาหารกับโรคไขมันในเลือดสูง

อาหารกับโรคไขมันในเลือดสูง                 โรคไขมันในเลือดสูงเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด                 สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ขาดการออกกำลังกาย การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเกินความจำเป็นของร่างกาย โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น พันธุกรรม                 ไขมันในเลือดที่สำคัญ ไตรกลีเซอไรด์ ร่างกายสร้างขึ้นได้เองจากน้ำตาล แป้ง แอลกอฮอล์ และส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร ถ้ารับประทานมากเกินไปสามารถทำให้หลอดเลือดอุดตันได้ คอเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง และส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แหล่งคอเลสเตอรอลในอาหารที่พบมาก เช่น ไข่แดง ปลาหมึก หอยนางรม เครื่องในสัตว์ นม เนย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 2.1 คอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-C) หากมีระดับสูงเกินไปจะไปสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน 2.2 คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-C) เป็นชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำ คอเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง                 เป้าหมายในการควบคุมไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ < 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คอเลสเตอรอลรวม < 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร LDL-C < 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร HDL-C > 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้ชาย ในผู้หญิง > 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร                 การเลือกรับประทานอาหาร เลี่ยงการรับประทานไขมันสัตว์ เช่น มันหมู หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมูติดมัน หนังสัตว์ มันไก่ หากจะรับประทานเนื้อไก่ ให้เลือกส่วนอกและส่วนที่ไม่ติดหนัง ใช้เนื่อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวให้น้อย เช่น เนื้อปลา อกไก่ เนื้อสันนอก สันใน เป็นต้น เลี่ยงการรับประทานไขมันจากมะพร้าว เช่น กะทิข้น ควรเลี่ยงการรับประทานเมนูแกงกะทิ เช่น แกงเผ็ด แกงแพนง แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ ควรใช้กะทิธัญพืชหรือนมพร่องมันเนยแทน เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต สมอง ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ไม่จำกัด เครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย เลี่ยงการใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และไขมันจากสัตว์ เช่น มันไก่ มันหมูหลอมเป็นน้ำมันเพื่อนำมาปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันรำข้าวทั้งผัดและทอดอาหาร โดยไม่ใช้ไฟแรงเกินไป หรือใช้น้ำมันพืชยี่ห้ออื่นๆ ตามชอบ เลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น เค้ก คุ้กกี้ พาย  ขนมปัง มันฝรั่งทอด น้ำมันทอดซ้ำ ลดการบริโภคอาหารที่เติมน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ขนมไทย เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง (สังเกตปริมาณน้ำตาลจากฉลากโภชนาการ) เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง งดหรือลดการสูบบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชขัดสีน้อย เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำ แกงเลียง แกงส้ม แกงป่า แกงจืด ต้มยำน้ำใส ปลา+นึ่งผัก ปลาย่าง อาหารผัดน้ำมันน้อย อาหารทอดไม่อมน้ำมัน อาหารอมน้ำมัน เช่น ไข่ฟู ปลาท่องโก๋ ไก่ชุบแป้งทอด เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง ปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ปลาทะเลดังกล่าวมีโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี รับประทานอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันตับปลา หากรับประทานในปริมาณที่มากก็สามารถทำให้อ้วนได้ เลือกรับประทานนมชนิดไขมันต่ำ เช่น นมพร่องมันเนย                                 ข้อแนะนำในการเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร น้ำมันมะกอก (Extravirgin olive oil)           = ทำสลัด น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า น้ำมันมะกอก (Pure olive oil) น้ำมันงา น้ำมันดอกทานตะวัน   = ปรุงอาหารทั่วไป น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันข้าวโพด                    = ห้ามทอดอาหาร น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มเคอร์เบิล            = ปรุงอาหารทั่วไป น้ำมันปาล์มโอเลอิน                                      = ทอดในอุณหภูมิสูง ทอดน้ำมันท่วม ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงควรงดน้ำมันชนิดที่ 4 และ 5                   ไขมัน MUFA เป็นไขมันธรรมชาติ พบในน้ำมันพืชบางชนิด ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันร้าย (LDL-C) ไม่มีผลต่อไขมันดี (HDL-C) พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เรพซีด น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา ถั่วอัลมอนด์ ถั่วลิสง                 ไขมัน PUFA เป็นไขมันจากธรรมชาติ พบมากในน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดไขมันร้าย (LDL-C) แต่ลดไขมันดี (HDL-C) ด้วย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM)

คุณแม่จะต้องมีการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด ได้แก่ การควบคุมอาหารประเภทข้าวแป้งและน้ำตาลอย่างเข้มงวด แต่หากควบคุมไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ยาอินซูลินฉีด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนใหญ่พบในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่3 เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes, GDM) สามารถแบ่งออกเป็น2ระดับความรุนแรง คือ                    Class A1 (glucose intolerance) พบได้ร้อยละ 90 ในหญิงตั้งครรภ์ รักษาด้วยการควบคุมอาหาร                    Class A2 (Overt DM) หมายถึงมี fasting hyperglycemia คือระดับน้ำตาลมากกว่า 105 มก./ดล. รักษาด้วยการฉีดอินซูลิน      หลักการควบคุมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่มื้อเดียว โดยแบ่งเป็น 3 มื้อหลัก อาหารว่าง 3 มื้อ รับประทานอาหารที่ให้พลังงานจากกลุ่มโปรตีน ไขมันชนิดดี หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮมสวีท เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน (เนื้อสัตว์) และผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักจำพวกใบ เพราะมีใยอาหารและวิตามินมาก ส่วนนม ควรรับประทานเป็นนมจืด หรือนมพร่องมันเนย ควรงดหรือหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป                 คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ หลังคลอดบุตร ระดับน้ำตาลจะดีขึ้นเอง แต่อย่างไรก็ตามสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มีภาวะน้ำตาลจะดีขึ้นเอง แต่อย่างไรก็ตามสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต สูงกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติ จึงควรดูแล และควบคุมอาหารอยู่สม่ำเสมอ ลดการรับประทาน ขนมหวาน เครื่องดื่มหวานต่างๆ แกงหวาน และควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกปี ความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่คุณแม่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ พิการแต่กำเนิดหรือแท้งบุตร (สำหรับคุณแม่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์) น้ำตาลในเลือดสูง ระบบประสาทพัฒนาได้ไม่ดี ความเสี่ยงของลูกน้อยหลังคลอด ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ น้ำหนักมากกว่า 4,500 กรัม น้ำตาลในเลือดต่ำ คลอดก่อนกำหนด ปัญหาการหายใจ มีโอกาสเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน COVID-19

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน COVID-19 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 โรคเรื้อรัง จัดเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ์จะเริ่มฉีดวัคซีนโควิด 19 ล็อตแรกในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ นอกจากเรื่องลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อมจะเป็นที่สนใจกันส่วนใหญ่แล้ว เพื่อตอบคำถามผู้ที่มีข้อสงสัยและความกังวล และเพื่อผลการทำงานของวัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดความเสี่ยง ผลข้างเคียง รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน  จึงได้สรุปคำแนะนำในการฉีดวัคซีน COVID-19 ดังนี้   ก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 - 2 วันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก หรือ ยกน้ำหนัก และ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ - กรณีเจ็บป่วย ไม่สบาย ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน ต้องรักษาตัวให้ทุเลาก่อน อย่างน้อย 2 วัน ถึงจะทำการฉีดวัคซีนได้ - วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี   - งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 วัน - รับประทานอาหารประจำมื้อ   ระหว่างขณะเข้ารับวัคซีนโควิด-19 - เมื่อถึงวันนัดหมายควรไปถึงสถานที่ฉีดก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที เตรียมบัตรประชาชน ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการลงทะเบียนผ่านไลน์ “หมอพร้อม” ในโทรศัพท์มือถือ - รักษามาตรการป้องกันพื้นฐานอย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง พกแอลกอฮอล์เจล การแต่งกาย สวมเสื้อที่สะดวกต่อการฉีดวัคซีน -วัดอุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิตก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน - ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัดและหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก - ผู้มาฉีดควรกินยาโรคประจำตัว มาตามปกติ ถ้า กินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ให้กินยาตามปกติแต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งๆ ตรงตำแหน่งที่ฉีด 1  นาที -หากมีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาประจำตัว โดยเฉพาะยากดภูมิหรือยาที่มีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เช่น ยารักษาโรคไมเกรน กลุ่ม ergotamine ควรปรึกษาแพทย์หรือแจ้งพยาบาลก่อนรับวัคซีน   หลังรับวัคซีนโควิด-19 - สังเกตอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาล 30 นาที ก่อนกลับบ้าน หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ให้รีบแจ้งพยาบาลหรือแพทย์ทันที - หลังฉีด 2 วัน อย่าใช้แขนข้างที่ฉีด อย่าเกร็ง หรือยกของหนัก - ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหว สามารถทานพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ด สามารถทานซ้ำได้ถ้าจำเป็นโดยเว้นระยะเวลาห่าง 6 ชั่วโมง ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่มนี้ กรณีจำเป็นควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ - เมื่อกลับบ้านแล้วควรประเมินอาการตัวเองต่อเนื่องอีก 48-72 ชั่วโมง บางรายอาจพบผลข้างเคียงเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลข้างเคียงเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม บริเวณที่ฉีด และผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้ต่ำๆ เมื่อยล้า หรือ มีลมพิษ ซึ่งหลังจากได้รับวัคซีนครึ่งชั่วโมง - 2 ชั่วโมง อาการจะค่อยๆ ลดลง แต่ถ้าไข้ขึ้นสูงมาก แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ควรกลับไปโรงพยาบาล หรือโทร 1669 เพื่อประเมินอาการทันที - การฉีดวัคซีนโควิด ควรห่างจากไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อย 1 เดือน   ข้อห้ามและข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนโควิด 19 วัคซีนทุกชนิดมีข้อห้ามคือ แพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนและเนื่องจากวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนใหม่จึงอาจไม่มีความรู้ในเรื่องปฏิกิริยาการแพ้ที่พบไม่บ่อย ในช่วงแรกจึงควรฉีดวัคซีนเหล่านี้ในสถานพยาบาลหรือสถานที่ ที่ให้การช่วยเหลือกรณีมีปฏิกิริยารุนแรง และควรเฝ้าระวังอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการดังต่อไปนี้ หลังได้รับวัคซีน รีบไปพบแพทย์ ณ สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทร 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง เหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือ หายใจไม่ออก อาเจียน มากกว่า 5 ครั้ง ผื่นขึ้นทั้งตัว ผิวหนังลอก มีจุดจ้ำเลือดออกจำนวนมาก ใบหน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ต่อมน้ำเหลืองโต ชัก หรือหมดสติ โดยข้อปฏิบัติตัวถือเป็นแนวทางที่ควรทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อลดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งนี้หลังจากได้วัคซีนเข็มแรกควรเตรียมตัวสำหรับการนัดหมายฉีดวัคซีนเข็มที่สอง ทั้งนี้ทุกคนยังคงต้องสวมหน้ากากรักษาระยะห่างและล้างมือทั้งก่อนระหว่างและหลังการฉีดวัคซีน   อ้างอิง : กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำสำหรับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในผู้เป็นเบาหวาน

คำแนะนำสำหรับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในผู้เป็นเบาหวาน เหตุใดผู้เป็นเบาหวานควรได้รับวัคซีน ? ผู้เป็นโรคเบาหวานหากคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดความรุนแรงจากการติดเชื้อได้มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรง และอัตราการเสียชีวิต จากโรคโควิด 19 ได้มากกว่าร้อยละ 90 ผู้ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด สามารถได้รับวัคซีนได้ โดยกดบริเวณที่ฉีดยาให้แน่นอย่างน้อย 2 นาที และแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนได้รับการฉีดวัคซีน *ผู้ที่กินยาวาร์ฟาริน ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวัดระดับการแข็งตัวของเลือด ให้เหมาะสมก่อนรับวัคซีน วัคซีนโควิด 19 กับระดับน้ำตาลในเลือด หลังฉีดวัคซีน อาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ควรมีการเจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอ ภายใน 48 ชั่วโมงหลังฉีดยา และหากมีน้ำตาลสูงควรฉีดยาแก้ระดับน้ำตาลที่สูงให้ลงมาเป็นปกติ หรือกินยาตามคำแนะนำของแพทย์ การดูแลตนเองหลังฉีดวัคซีน แนวทางอื่นๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด 19 ในผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอและฉีดยา หรือกินยา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ พักผ่อนและดูแลร่างกายให้แข็งแรง และผ่อนคลายจิตใจมีสุขภาวะที่ดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ประเมินความเสี่ยงการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 ก่อนบริจาคโลหิต

  ผู้บริจาคโลหิตต้องประเมินความเสี่ยงการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 ก่อนบริจาคโลหิต เพื่อให้ได้โลหิตที่มีคุณภาพ   ปลอดภัยตั้งแต่ต้นทาง คือ ผู้บริจาคโลหิต และปลายทาง คือ ผู้ป่วย 1. มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส 2. เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ภายใน 14 วัน 3. ทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ ภายใน 14 วัน 4. ไปยังสถานบันเทิง หรือสถานที่แออัด ภายใน 14 วัน 5. สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ภายใน 14 วัน 6. เพิ่งหายจากไข้ไวรัส COVID-19 ภายใน 14 วัน หากเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งให้ งด!!! บริจาคโลหิต มั่นใจ ปลอดภัย ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน   อ้างอิง : ศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำ...เตรียมตัวอย่างไร ก่อน-หลัง การฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19

คำแนะนำ...เตรียมตัวอย่างไร ก่อน-หลัง การฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 - ต้องมั่นใจว่า ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง งดรับวัคซีน เช่น ตั้งครรภ์ อยู่ระหว่างรักษาอาการป่วยรุนแรง มีอาการป่วย มีไข้สูง ท้องเสียรุนแรงก่อนฉีด - หากมีประวัติแพ้วัคซีนหรือแพ้ยา ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีน - พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรงดอาหารก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน - หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้นั่งรอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที - ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหว ก็สามารถทานพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ด ซ้ำได้ถ้าจำเป็น ควรห่าง 6 ชั่วโมง ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่มนี้ กรณีจำเป็นควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ - การฉีดวัคซีน COVID-19 ควรเว้นระยะห่างกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 14-1 เดือน โดยฉีดวัคซีนCOVID-19 ให้ครบก่อน เพราะอันตรายกว่า  - ถ้าทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ สามารถทานได้ตามปกติ แต่เมื่อฉีดวัคซีน COVID-19  แล้ว ควรกดตรงตำแหน่งที่ฉีดนาน 1 นาที อ้างอิง : ศูนย์ข้อมูลCOVID-19

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนCOVID-19

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนCOVID-19 อาการข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง - มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ - คลื่นไส้ อาเจียน - อ่อนเพลีย - ปวดบริเวณที่ฉีด   อาการข้างเคียงรุนแรง - ไข้สูง - มีจุดเลือดออกจำนวนมาก - ผื่นขึ้นทั้งตัว - อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง - ชัก/หมดสติ - ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง - ปวดศีรษะรุนแรง - แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก   หากมีอาการดังนี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันทีหรือติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน  อ้างอิง : กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ตกขาว? อย่าตกใจ ❱ สีระดู ขาว, เหลือง, เขียว บอกสาเหตุโรคได้ ผู้หญิงเราควรรู้

ภาวะตกขาว         ภาวะตกขาว ซึ่งบางทีเรียกว่า มุตกิด หรือระดูขาวนั้น เป็นภาวะหนึ่งที่สตรีส่วนมากต้องประสบและทำให้สตรีจำนวนไม่น้อยมาพบแพทย์ และสูตินรีแพทย์ ภาวะดังกล่าวอาจเป็นอาการที่แสดงออกมาจากการตอบสนองต่อฮอร์โมนในสตรีที่ปกติ หรือจากการที่เป็นโรคที่ไม่รุนแรงเรื่อยไปจนกระทั่งถึงโรคที่รุนแรงก็ได้ ดังนั้นภาวะนี้จึงมีความสำคัญมิใช่น้อย ตกขาว คืออะไร         ตกขาว เป็นของเหลวใด ๆ ที่ไหลออกมานอกช่องคลอด แต่ไม่ใช่เลือด ของเหลวดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นจากช่องคลอด ปากมดลูก และอวัยวะข้างเคียงบริเวณปากช่องคลอด ลักษณะของตกขาว จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งในขณะที่อยู่ในภาวะปกติ หรือกำลังเป็นโรคอยู่   ภาวะตกขาวที่ปกติเป็นอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร          ตามปกติแล้วในสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ (อีกนัยหนึ่ง คือ สตรีที่อยู่ในช่วงอายุที่ยังมีประจำเดือน หรือมีฮอร์โมนเพศหญิงเจริญเต็มที่) จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามระยะของประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงนี้ จะมีผลต่อลักษณะของๆ เหลวที่สร้างขึ้นมาจากอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์สตรี ดังเช่น ในช่วงกึ่งกลางรอบประจำเดือนหรือระยะใกล้เคียงกับการตกไข่          ซึ่งเป็นเวลาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ทำให้ในช่วงเวลานี้ จะมีตกขาวลักษณะค่อนข้างเหลวใส ๆ ปริมาณมากกว่าระยะเวลาอื่น ส่วนตกขาวในระยะเวลาอื่นจะมีสีขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก นอกจากนั้นแล้ว ตกขาวที่ปกติควรจะไม่คัน และไม่มีกลิ่น ถ้าตกขาวของท่านมีลักษณะดังที่กล่าวมานี้ถือว่าปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา           อย่างไรก็ตาม  สตรีแต่ละท่านจะมีปริมาณตกขาวแตกต่างกันไป บางท่านอาจมีปริมาณตกขาวมากจนเปื้อนชุดชั้นในอยู่หลายวันในแต่ละเดือน แต่สำหรับบางท่านอาจมีปริมาณน้อยจนไม่รู้ว่ามีตกขาวเลย          นอกจากนี้ ฮอร์โมนในสตรีในวัยดังกล่าว ทำให้เซลล์ในช่องคลอดสมบูรณ์ และมีการสร้างสารประเภทแป้งที่เรียกว่าไกลโคเจน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยแบคทีเรียชนิดหนึ่งให้เป็นกรดอ่อน ๆ  ภาวะนี้จะช่วยป้องกันการรุกรานจากเชื้อโรคชนิดอื่นที่ก่อให้เกิดความผิดปกติได้   ภาวะตกขาวที่ผิดปกติเป็นอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร ตกขาวผิดปกติจะมีลักษณะที่ต่างออกไปจากที่กล่าวมาข้างต้น จะมีสาเหตุใหญ่อยู่ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการติดเชื้อ และสาเหตุจากการไม่ติดเชื้อ ตกขาวที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ ตกขาวจากสาเหตุนี้ เกิดได้จากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา และพยาธิในช่องคลอด ตกขาวประเภทนี้ บางชนิดจะมีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะตัว ดังจะกล่าวต่อไป 1. ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสบางชนิดเป็นเชื้อโรคที่ติดต่อมาโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ บางครั้งอาจไม่มีอาการชัดเจน ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคเริมซึ่งเป็นโรคที่ไม่หายขาด จะมีอาการเป็นตุ่มใส ๆ ขนาดเล็ก ต่อมาจะแตกเป็นแผลแสบ มีตกขาวสีเหลืองมีกลิ่นผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครั้งแรกที่ปรากฏอาการ 2. ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ตกขาวประเภทนี้มักมีสีเหลือง หรือค่อนข้างเขียว อาจมีอาการคันในบางราย เชื้อบางชนิดอาจเกิดตกขาวมีกลิ่นคาวปลาหลังการร่วมเพศ แต่ในกรณีที่มีการติดเชื้อจากโรคหนองในจะมีตกขาวสีเหลืองจัด อาจร่วมกับมีอาการปัสสาวะแสบขัดได้ 3. ตกขาวมีสาเหตุจากเชื้อรา เชื้อราในช่องคลอดมักทำให้เกิดอาการตกขาวสีขาว มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายนมที่ทารกแหวะออกมา และมีอาการคันช่องคลอด การตกขาวชนิดนี้มักไม่ได้เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ น้ำยาสวนล้างช่องคลอดที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยกำลังใช้ยาที่มีฤทธิ์กดภูมิต้านทาน 4. ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อพยาธิในช่องคลอด พยาธิชนิดนี้เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง มักมีสีเหลือง อาจเห็นเป็นฟอง มีอาการคันช่องคลอด และอาจมีกลิ่นออกเปรี้ยวเล็กน้อย ตกขาวที่มีสาเหตุจากการไม่ติดเชื้อ         ตกขาวผิดปกติประเภทนี้ มีสาเหตุได้จาก การระคายเคืองหรือแพ้สารเคมี จากมะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์สตรี (เช่น มะเร็งของปากมดลูก ช่องคลอด ท่อนำไข่) รวมทั้งเกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด ท่านจะทำอย่างไรในกรณีที่เกิดปัญหาตกขาว           ท่านที่ประสบปัญหาตกขาวที่มีลักษณะปกติดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ท่านก็ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างไร เพียงแต่ควรมาพบสูตินรีแพทย์ของท่าน เพื่อตรวจภายในพร้อมทั้งตรวจมะเร็งปากมดลูกประจำปี แต่ถ้าหากว่าท่านมีอาการตกขาวที่มีลักษณะผิดปกติ กล่าวคือ มีสี กลิ่นผิดไปจากปกติหรืออาจมีอาการคันร่วมด้วย ก็ควรจะได้รับการตรวจและรักษาให้ถูกต้องตามสาเหตุ           ทั้งนี้เนื่องมาจากการรักษาที่ตรงตามสาเหตุจะทำให้โรคหายเร็วขึ้น เช่น ในกรณีที่ตกขาวจากเชื้อรา แพทย์อาจจะให้ยาเหน็บรักษาด้วย โคลไทรมาโซล หรือถ้าเป็นจากเชื้อพยาธิในช่องคลอด ก็อาจจะต้องใช้ยารับประทาน เมโทรนิดาโซล เป็นต้น ประการที่สองสาเหตุของตกขาวที่ผิดปกติบางครั้งอาจเกิดจากมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีได้ โรคดังกล่าวนี้ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน            ส่วนประการสุดท้ายคือ ถ้าอาการตกขาวของท่านมีสาเหตุจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ท่านควรจะได้รับการตรวจหาพร้อมกับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นที่อาจเกิดร่วมด้วย รวมทั้งต้องมีการตรวจรักษาคู่สมรสด้วย จึงจะไม่ทำให้ท่านและคู่สมรสเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดโรคขึ้นซ้ำอีกในภายหลัง แพทย์ พ.อ.ผศ.น.พ.ธนบูรณ์   จุลยามิตรพร อาจารย์ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า หน่วยช่วยการเจริญพันธุ์ และต่อมไร้ท่อทางนรีเวช กองสูตินรีเวชกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า สูติแพทย์ที่ปรึกษา รพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคตาแดง

โรคตาแดง                  โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา ตั้งแต่เริ่มเป็น ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้ตาพิการได้   โรคตาแดงติดต่อกันได้อย่างไร                 โรคมักระบาดในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันอย่างแออัด โดยอาจแพร่ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา ของผู้ป่วย ส่วนมากมักติดทางอ้อมโดย ·       ใช้มือสกปรกที่มีเชื้อโรคขยี้ตา ·       ใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา ขันน้ำ และของใช้อื่น ๆ ร่วมกับผู้ที่เป็นโรค ·       แมลงวันหรือแมลงหวี่ตอมตา   อาการของโรคตาแดงเป็นอย่างไร                 หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าตา ประมาณ 24-48 ชั่วโมง จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา มีน้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวจะอักเสบ แดง ซึ่งอาจเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน หรือเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อมกันก็ได้ อาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือครั่นเนื้อครั่นตัว หรืออาการปวดเสียวที่แขนขาด้วย ผู้ป่วยมักจะหายได้เอง ภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน  เมื่อเป็นโรคตาแดง ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ·       เมื่อมีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอด หรือป้ายตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ป้ายตาติดต่อกันประมาณ 7 วัน สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีไข้ ปวดศรีษะ ก็จะใช้ยาลดไข้แก้ปวดตามอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงขึ้นต้องรีบไปพบแพทย์อีกครั้ง ·       ควรพักสายตา ไม่ใช้สายตามากนัก ·       ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดต่อให้ผู้อื่นได้ ·       แยกของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย อย่าให้ผู้อื่นใช้ร่วมด้วย ·       ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากไปถูกบริเวณตา และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ   มีวิธีการป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดงไหม                 โรคนี้ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่ ·       หมั่นล้างมือล้างน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ใช้มือที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดขยี้ตา ·       เมื่อฝุ่นละอองหรือผงเข้าตา ไม่ขยี้ตา ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ·       ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ หรือถ้วยล้างตา ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาด ต้องระวังให้มากยิ่งขึ้น ·       ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ผึ่งแดดให้สะอาดอยู่เสมอ ·       ในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันอย่างแออัด ควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับการล้างมือ ล้างหน้า และใช้อาบ                                                                                                                                    ด้วยความปรารถดี จากรพ.วิภาวดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<