❝โรคกรดไหลย้อน❞ อาการแน่นอก แสบร้อน จุกคอ ใช่ไหม? ใช้ยาตัวไหน?

โรคกรดไหลย้อนเข้าหลอดคอ คืออะไร (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) 

ภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารจะถูกหลั่งออกมาเพื่อการย่อยอาหาร  กรดในกระเพาะนั้นไม่มีการไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหารส่วนบน  แต่ในภาวะผิดปกติอาจไหลย้อนผ่านกล้ามเนื้อหูรูดส่วนบนของหลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ และมีแผล (erosive esophagitis) หรือหลอดอาหารอักเสบโดยไม่เกิดแผล (non-erosive esophagitis)

นอกจากนี้กรดนี้อาจไหลย้อนผ่านหลอดอาหารเข้าสู่หลอดคอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal reflux : LPR) เกิดพยาธิสภาพต่าง ๆ เพราะเยื่อบุกล่องเสียง  และหลอดคอบอบบางทนสภาวะกรดได้ไม่ดี  รวมทั้งอาจก่อปัญหาด้านระบบการหายใจและปอด

ปัจจัยหรือพฤติกรรมบางอย่าง  เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการไหลย้อนกลับ  ของกรดหรือน้ำย่อยจากหลอดอาหารภาวะนี้เกิดได้ตลอดเวลา  และไม่ว่ากำลังรับประทานอาหารหรือไม่ก็ตามพบอาการนี้ได้ตั้งแต่ทารกจนถึงผู้ใหญ่

สาเหตุ

  • Hlatus Hernia (โรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้น  เข้าไปในกำบังลม  หูรูด  อาหารปิดไม่สนิท  ทำให้กรดอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปทางหลอดอาหารได้)
  • การดื่มสุรา  สูบบุหรี่
  • อ้วน
  • ตั้งครรภ์  ทานยาบางชนิด  เช่น แอสไพริน
  • ทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด
  • ช็อกโกแลต  กาแฟ  รวมทั้งชนิดที่ไม่มีคาเฟอีนด้วย
  • อาหารมัน  ของทอด
  • หอม  กระเทียม
  • มะเขือเทศ  หรือซอสมะเขือเทศ
  • Peppermint

อาการ

1. อาการทางเดินอาหาร

  • อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (Heart Burn)  บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอและไหล่ได้
  • รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ
  • กลืนลำบาก ติดขัด  คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ หรือกลืนแล้วเจ็บ
  • เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
  • รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี  หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในลำคอหรือปาก
  • มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
  • เรอบ่อย  คลื่นไส้ คล้ายมีอาหาร  หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก  หรือคอ
  • รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก  คล้ายอาหารไม่ยอ่ย

2. อาการทางกล่องเสียงและปอด

  • เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะในตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม
  • ไอเรื้อรัง 
  • ไอ หรือ รู้สึกลำลักในเวลากลางคืน
  • กระแอมไอบ่อย
  • อาการหอบหืดแย่ลง อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่(ถ้ามี)  แย่ลง  หรือไม่ดีขึ้นจากการใช้ยา
  • แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก (non-cardiac chest pain) คล้ายโรคหัวใจ  คล้ายมีก้อนจุก ๆ ที่คอ
  • เป็นโรคปอดอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ

อาการที่กล่าวข้างต้น  อาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นตลอดให้ปรึกษาแพทย์  หู คอ จมูก  ซึ่งแพทย์จะตรวจทาง  หู  คอ  จมูก  เพื่อดูว่ามีความผิดปกติบริเวณกล่องเสียง  และคอหรือไม่  เพื่อแนะนำการรักษาและปฏิบัติตัวต่อไป

การรักษา

ภาวะกรดไหลย้อนรักษาอย่างไรขึ้นอยู่กับอาการ และสุขภาพของแต่ละคน  โดยทั่วไปหลักการรักษามี 3 ประการ

  1. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปนิสัย และงดเว้นอาหารบางอย่างเพื่อลดภาวะกรดไหลย้อน
  2. การใช้ยาลดกรดที่ถูกต้อง มักจำเป็นต้องใช้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ร่วมกับปฏิบัติในข้อ 1.
  3. การผ่าตัดรัดหูรูดกระเพาะอาหาร จำทำให้รายที่เป็นรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อยา

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน  เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูง  ทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
  • งดบุหรี่  เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก
  • ใส่เสื้อหลวม ๆ                                             
  • ไม่ควรนอนออกกำลังกาย  หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย
  • งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
  • งดอาหารมัน ๆ ทอด  อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม  กระเทียม  มะเขือเทศ  ช็อกโกแลต  ถั่ว ลูกอม เนย ไข่  เผ็ด  เปรี้ยว  เค็มจัด
  • รับประทานอาหารพออิ่ม  ทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
  • หลีกเลี่ยง  ชา  กาแฟ น้ำอัดลม  เบียร์  สุรา
  • นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว  โดยหนุนที่ขาเตียง  ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง

2. การรักษาด้วยยา

  • Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้  สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่มาก
  • ใช้ยา Proton Pump Inhibitor ซึ่งเป็นยาที่ลดกรดได้เป็นอย่างดี  อาจจะใช้เวลารักษา 1-3 เดือน ยาที่นำยมใช้ ได้แก่  Omeprazole, Lansoprazole, Pantoprazole, Rabeprazole, และ Esomeprazole
  • หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก  หรือทำให้หูรูดหย่อน  เช่น  ยาแก้ปวด  Aspirin NSAID  VITAMIN C

หากให้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น  ควรจะต้องตรวจเพิ่มเติมดังนี้

3. การรักษาโดยการผ่าตัด

  • จะผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

เทคนิคในการลดภาวะกรดไหลย้อน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการรักษา  เพื่อให้อาการหายขาด  และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค  โดยปฏิบัติดังนี้   

  • กินอย่างถูกสุขลักษณะ - ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง และอย่าให้แต่ละมื้อผ่านไปอย่างเร่งรีบ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการลุกเดินหลังมื้ออาหาร นั่งนิ่งๆ หลีกเลี่ยงการนอนราบทันที เพราะจะทำให้กระเพาะอาหารย่อยช้า โดยเฉพาะมื้อเย็นและทิ้งเวลาให้ย่อยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะหากอาหารไม่ย่อยแล้วนอน เป็นผลให้กระเพาะกับหลอดอาหารอยู่ในแนวราบเดียวกัน กรดในกระเพาะจะไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหารได้ หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่ม  ได้แก่  ชา  กาแฟ  น้ำอัดลม  อาหารทอด  อาหารรสจัด  อาหารมัน ๆ ช็อคโกแลต  ผักผลไม้บางชนิด  เช่น  ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  สะระแหน่  หอมหัวใหญ่  ถั่ว  นม  (ดื่มนมพร่องมันเนยได้)

  • ควบคุมน้ำหนัก - ไขมันใต้ผิวหนังรอบหน้าท้องและไขมันในช่องท้องมีส่วนเพิ่มแรงดันในช่องท้องให้มากขึ้น จนบีบกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย ยิ่งน้ำหนักมากยิ่งมีโอกาสเลี่ยงสูง ดังนั้นควบคุมน้ำหนักให้มาตรฐาน และบริหารรอบเอวเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ ลดไขมันสะสม
  • งดดื่มสุราและสูบบุหรี่ - ทั้งสารนิโคตินในบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบของและกระเพาะอาหาร
  • อย่านอนราบหลังจากเพิ่มรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ โดยเฉพาะใน 3 ชั่วโมงแรก
  • สวมใส่เสื้อผ้าให้สบาย - การใส่เสื้อผ้าคับมีผลให้เกิดแรงดันในช่องท้องมากขึ้นและดันให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร ดังนั้นพยายามสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมเล็กน้อย ป้องกันอาหารแน่นท้องหลังมื้ออาหาร
  • หมุนหัวเตียงให้สูง  อย่างน้อย 6 นิ้ว
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ - การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ระบบทางเดินอาหารจึงทำงานได้ดีขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารทันที เพราะกระเพาะอาหารอาจย่อยไม่เป็นปกติ ควรเว้นระยะให้อาหารย่อยอย่างน้อย 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้สบาย  แจ่มใส - ความเครียดอาจไม่ได้มีผลโดยตรงต่อโรคกรดไหลย้อน แต่ถ้ามีอาการอยู่แล้ว ความเครียดจะทำให้อาการกำเริบได้ง่ายขึ้น

ช่วงระยะเวลาของการรักษา

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องรักษาค่อนข้างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 6 อาทิตย์  ถึง  6 เดือน  บางคนอาการจะหายไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาจหยุดยาได้หลายเดือนหรือหลายปี ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนนิสัยหรือสภาพแวดล้อม พยาธิสภาพของแต่ละบุคคล และต้องทำความเข้าใจด้วยว่า

โรคนี้อาจหายขาดไปเลยหรืออาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

โรคแทรกซ้อน

  • หลอดอาหารที่อักเสบอาจจะทำให้เกิดแผล  และมีเลือดออก  หรือหลอดอาหารตีบ  ทำให้กลืนอาหารลำบาก
  • อาจจะทำให้โรคปอดแย่ลง  เช่น  โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น  ไอเรื้อรัง  ปอดอักเสบ

แพทย์

พญ. ดวงพร โชคมงคลกิจ
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี