ไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากป้องกันให้ถูกวิธี

เชื่อว่าคุณเองก็สัมผัสได้ถึงสภาพอากาศอันแปรปรวนตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ ที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว ทำเอาแต่งตัวตามฤดูกาลกันไม่ถูกเลยทีเดียว แต่ที่น่าหนักใจไปมากกว่าการจะเลือกสเวตเตอร์ตัวไหนมาสวมดี ก็คือ อาการเจ็บป่วยที่หลายคนถูกอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดเล่นงาน เป็นหวัดธรรมดายังพอรับไหว แต่เป็นไข้หวัดใหญ่ขึ้นมานี่สิ เรื่องใหญ่แน่ๆ

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แต่ละปีจะมีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ ทำให้เกิดความรุนแรงมากหรือน้อย แต่ไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงมากในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ  จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล ต้องลาหยุดงาน และประสิทธิภาพการทำงานลดลง โรคไข้หวัดใหญ่จะก่อให้เกิดความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา ดังนี้

ไข้หวัดไหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา

อาการไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดธรรมดา

ไข้หวัดใหญ่

ไข้

พบได้บ่อยในเด็ก ผู้ใหญ่อาจมีไข้ต่ำ ๆ

มีไข้สูงเฉียบพลัน 38-40 ċ

ปวดกล้ามเนื้อ

ไม่ค่อยพบถ้ามีก็น้อย ๆ

ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและปวดหลัง

อ่อนเพลีย

ไม่ค่อยพบ

เป็นมากและอาจเป็นนานถึงสัปดาห์

คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน

มีน้อยและเป็นระยะสั้น ๆ

พบได้ในเด็ก

คัดจมูกน้ำมูกไหล

ไม่ค่อยพบ

พบบ่อย ในระยะหลัง ๆ

เจ็บคอ

พบบ่อยในระยะเริ่มแรก

-

เชื้อ

เชื้อไวรัสในทางเดินหายใจตัวอื่น ๆ

Influenza Virus

 แต่อย่าเพิ่งหวาดกลัวจนถึงขั้นพารานอยด์ เพราะไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทุกรายควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล

กลุ่มเสี่ยง

คำถามต่อมาคือ แล้วใครล่ะ คือผู้ที่เข้าข่ายเป็น ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ที่จะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ 

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงนั้นมีตั้งแต่บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ไปจนถึงผู้ที่มีโรคเรื้อรัง อย่างปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ

นอกจากนี้ กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ ยังรวมถึง

  • บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
  • หญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
  • ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป
  • ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี

ในบรรดาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดที่ว่ามา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหัวใจและโรคเบาหวานนั้นต้องป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นพิเศษ

เพราะการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการกำเริบของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทันทีที่ร่างกายติดเชื้อจะเกิดการกระตุ้น การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน นำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในที่สุด

โดยเฉพาะในฤดูกาลที่โรคไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด มักพบว่า 4 ใน 10 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute MI) มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นำมาก่อนในเวลาไม่นาน นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี

ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้น

ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากกว่าคนปกติ โดยพบว่าอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวานถึง 6 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อในช่วงระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5

การระบาด

ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการระบาดทั่วภูมิภาค บางปีถ้ารุนแรงจะระบาดทั่วโลก เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงมีไวรัสไข้หวัดใหญ่ก่อให้เกิดโรค ในสัตว์ก็แพร่สู่มนุษย์ทำให้เกิดโรคได้สำหรับประเทศไทย โรคไข้หวัดใหญ่มีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ช่วง พฤษภาคม-ตุลาคม และ มกราคม – กุมภาพันธ์

การติดต่อ

เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ จะสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง โดยการหายใจ ได้รับน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วยโดยเชื้อจะผ่านเข้าทางเยื่อบุตา จมูกและปาก และจากการได้สัมผัสสิ่งที่ปนเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน แก้วน้ำ หรือการจูบ รวมถึงการที่มือไปสัมผัสเชื้อแล้วขยี้ตา หรือ เอาเข้าปาก เป็นต้น

อาการแทรกซ้อน

ส่วนมากอาการจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อย ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นในอักเสบ หลอดลมอักเสบ ภาวะที่สำคัญคือปอดอักเสบ ซึ่งมักจะเกิดกับจากแบคทีเรีย พวก นิวโมค็อกคัส หรือ  สเตฟฟิโลค็อกคัส ภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ที่ร้ายแรงมักจะเกิดในเด็ก ผู้สูงอายุ

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

ให้นอนพักผ่อนมาก ๆ และไม่ควรออกกำลังกาย ดื่มน้ำ น้ำผลไม้ หรืออาจะดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว เพราะจะทำให้ขาดเกลือแร่ได้ รักษาโรคไข้หวัดใหญ่จะรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ให้ยาแก้ปวด Paracetamol ผู้ใหญ่ครั้ง 1 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

วัคซีน

การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงช่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานได้ถึงร้อยละ 79 รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน

สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นั้น ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ และชนิด 4 สายพันธุ์

โดยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ สามารถครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B ได้มากกว่า กล่าวคือ ครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A ทั้ง H1N1 และ H3N2 และสายพันธุ์ B ทั้งตระกูล Victoria และ Yamagata จึงยิ่งเพิ่มความสามารถในป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาด ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ดีขึ้น11

หากคุณหรือคนในครอบครัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้

<