ไข้หวัด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา รู้ทันป้องกันได้

เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และ เด็กที่เพิ่งเข้าโรเรียนในปีแรกๆ อาจเป็นเฉลี่ยประมาณ เดือนละครั้ง) ทำให้ต้องสูญเสียแรงงาน เวลาเรียน และสิ้นเปลืองเงินทองไปปีละมากๆ 

ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไว้รัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด (เชื้อหวัด) มีอยู่เกือบ 200 ชนิด ส่วนใหญ่ 75-80% เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza Viruses ประกอบด้วย Rhino Viruses เป็นสำคัญ  เชื้อชนิดอื่น ๆ มี Adenoviruses, Respiratory Syncytial Virus 
         
ทำให้เกิดอาการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้น (ทำให้เยื่อจมูกบวมและแดง) มีการหลั่งของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์

  • โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัด 6-12 ครั้งต่อ
  • เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดห่างขึ้น (ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง) และมีอาการรุนแรงน้อยลงไป
  • ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก

โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยการอยู่ใกล้ชิดกัน จึงพบเป็นกันมากตามโรงเรียน โรงงาน และที่ ๆ มีคนอยู่รวมกลุ่มกันมาก ๆ เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนในฤดูร้อนจะพบน้อยลง

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นไวรัส (virus) มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน

นอกจากนี้ เชื้อหวัด ยังอาจติดต่อโดยการสัมผัสมือกล่าวคือ เชื้อหวัด อาจติดที่มือของคน ๆ นั้น และเมื่อใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะจมูก เชื่อก็จะเข้าสูร่างกายของคน ๆ นั้นจนกลายเป็นไข้หวัดได้ ระยะฟักตัว (ระยะตั้งแต่ผู้ป่วยรับเชื้อเข้าไปนกระทั่งมีอาการเกิดขึ้น) 1-3 วัน

อาการ

อาการทั่วไป

มีไข้ตัวร้อนเป็นพัก ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลี่ย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ เล็กนอ้ย ลักษณะสีขาว บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเจ็บแถวลิ้นปี่เวลาไอ
ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ มีเพียงคัดจมูก น้ำมูกใส ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด บางครั้งอาจมีไข้สูง และชัก ท้องเดิน หรือถ่ายเป็นมูกร่วมด้วย ถ้าเป็นอยู่เกิน 4 วัน อาจมีน้ำมูกข้นเหลือกหรือเขียวหรือไอมีเสลดเป็ฯสีเหลืองหรือเขียว จากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย และอาจมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา ซึ่งจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมด้วย 

อาการแทรกซ้อน

ที่พบบ่อยเกดจากกาอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) ทำให้มีน้ำมูกหรือแสลดเป็นสีเหลือง หรือเขียว ถ้าลุกลามไปยังบริวเณใกล้เคียง อาจทำให้เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ

ในเด็กเล็กอาจทำให้มีอาการลักจากไข้สูงท้องเดิน บางคนอาจมีเสียงแหบ เนื่องจากกล่องเสียงอักเสบ บางคนอาจมีอาการวิงเวียน เนื่องจากอวัยวะการทรงตัวภายในหูชั้นในอักเสบ ดังที่เรียกว่า หวัดลงหู ซึ่ง จะหายได้เองภายใน 3-5 วัน โรคแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ได้พักผ่อนตรากตรำงานหนัก ร่างกายอ่อนแอ (เช่น ขาดอาหาร) ในทารกหรือคนสูงอายุ

สิ่งที่ตรวจพบ

ไข้ น้ำมูก เยื่อจมูกบวม และ แดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบต่อมทอนซิลโต แต่ไม่แดงมาก และ มีหนอง

การติดต่อ

โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น  เราสามารถติดต่อจากน้ำลาย  และเสมหะผู้ป่วยนอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรค  ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา

ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ  ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดได้ง่ายคือ  เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  เด็กที่ขาดอาหาร  เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก

วิธีการติดต่อ

  1. มือของเด็ก  หรือผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อจากเสมหะของผู้ป่วย  หรือสิ่งแวดล้อม  แล้วขยี้ตา  หรือเอาเข้าปากหรือจมูก
  2. หายใจเอาเชื้อที่ผู้ป่วยที่ไอออกมา
  3. หายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศ

วิธีการรักษา

เนื่องจากไขข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่ยาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ เพียงแต่ให้การรักษาไปตามอาการเท่านั้น ได้แก่

1. แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดังนี้

  • พักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนักหรือออกกำลังมากเกินไป
  • สวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อย่าให้ถูกฝน หรือถูกอากาศเย็นจัด และอย่าอาบน้ำเย็น
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยลดไข้ และทดแทนน้ำ ที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง
  • ควรกินอาหารอ่อน น้ำข้าว น้ำหวาน น้ำส้ม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มร้อน ๆ
  • ใช้ผ้าชุน้ำ (ควรใช้น้ำอ่นหรือน้ำก๊อกธรรมดา อย่าใช้น้ำเย็นจัด หรือน้ำแข็ง) เช็ดตัวเวลา มีไข้สูง

2. *ข้อแนะนำเหล่านี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีไข้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน ให้ยารักษาตามอาการ ดังนี้

  • 2.1 สำหรับผู้ใหญ่ และ เด็กโต (อายุมากกว่า 5 ปี )
    • ถ้ามีไข้ ให้ยาลดไข้ เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล
    • ถ้ามีอาการคัดจมูกหรือจาม ให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน
    • ถ้ามีอาการไอ ให้ยาแก้ไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม
  • 2.2 สำหรับเด็กเล็ก(อายุต่ำกว่า 5 ปี )
    • ถ้ามีไข้ให้ใช้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ชนิดน้ำเชื่อม เบบี้แอสไพริน
    • ถ้ามีอาการคัดจมูกหรือจาม ให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟริรามีนชนิดน้ำเชื่อม
    • ถ้ามีน้ำมูกคัดจมูกมาก หายใจไม่สะดวกให้ใช้ลูกยางดูดเอาน้ำมูกออกบ่อย ๆ
    • ถ้า มีอาการไอร่วมด้วยให้ยานำเชื่อมชนิดที่มียาแก้แพ้ผสมกับยาขับเสมหะ อยู่ในขวดเดียวกัน เช่น ยาขับเสมหะ คลอริเอต, ยาขับเสมหะไพริทอน ไม่ต้องให้ยาแก้แพ้แยกต่างหาก
    • ถ้าเด็กเคยชักหรือมีไข้สูงร้องกวนไม่ยอมนอน ให้ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทาล

 3. ยาปฏิชีวนะไม่ จำเป็ฯต้องให้เพราะว่าไม่ได้เจอผลต่อการฆ่าเชื้อหวัดซึ่งเป็นเชื้อหวัดซึ่ง เป็นไวรัส(อาการที่สังเกตุได้คือมีน้ำมูกใส ๆ ) ยกเว้นในรายที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เช่น มีน้ำมูกหรือเสลดข้นเหลืองหรือขียว คอแดงจัด หรือปวดหู ยาปฏิชีวนะ ให้เลือกใช้เพนวี แอมพิซิลลิน ในรายที่แพ้เพนิ่ซิลลิน ใหใช้อีริโทรมัยซิ่น แทน ควรให้นาน 7-10 วัน ส่วนขนาดที่ใช้ให้ดูในภาค 3

4. ถ้าไอมีเสลดเหนียว ให้งดยาแก้แพ้ และ ยาแก้ไอ ควรให้กินยาขับเสมหะ เช่น มิสต์สกิล แอมมอน และให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ห้ามดื่มน้ำเย็น

5. ถ้ามีอาการหอบ หรือมีไข้สูงนานเกิน 7 วันควรแนะนำไปโรงพยาบาล โดยเร็ว อาจจะต้องเอกเรย์หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงที่ชุมชน  เช่น โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร  ในช่วงที่ไข้หวัดกำลังระบาด
  • ไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้า  หรือทิชชูปิดปาก
  • ควรหมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ (ทั้งผู้ป่วยและที่คนที่อยู่ใกล้เคียง) และอย่าใช้นิ้วมือขยี้ ตาหรือแคะไชจมูก
  • ไม่เอามือเข้าปากหรือขยี้ตาเพราะอาจนำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
  • อย่าอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นหวัดเป็นเวลานาน
  • ระวังรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอโดย เฉพาะในเวลาที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง
  • อย่าตรากตรำงานหนักเกินไป แต่ควรออกกำลังกายแข็งแรงอยู่เสมอ
  • ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมด้วยน้ำที่เย็นเกินไป โดยเฉพาะในเวลาที่อากาศเย็น

เป็นการยากที่จะป้องกันการติดเชื้อไข้หวัด  และยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัด  ดังนี้การดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ข้อแนะนำ

  1. ในปัจจะบันไม่มียาที่ใช้รักษา และป้องกันไข้หวัด อย่งางได้ผล การรีกษา อยู่ที่การพักผ่อนและการปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ยาที่ใช้ก็เป็ยาที่รักษาตามอาการเท่านั้น โดยทั่วไปอาการตัวร้อนมักจะหายภายใน 4-5 วัน ผู้ป่วยบางคนถึงแม้จะหายตัวร้อนแล้ว แต่ก็อาจมีน้ำมูกไหล และไอต่อไปได้ บางคนอาจไอโครก ๆ นาน 1/2 - 1 เดือน ซึ่งมกจะเป็นลักษณะแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย เป็นสีขาว ถ้าพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติ อื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ไม่ต้องให้ยาอะไรทั้งสิ้น ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ห้ามดื่มน้ำ เย็น อาการไอจะค่อย ๆ หายไปเอง
  2. ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แก่ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดทุกรายยกเว้นในรายที่สงสัยจะมีอาการแทรกซ้อนเท่านั้น
  3. ผู้ที่เป็นไข้หวัด (มีอาการตัวร้อนร่วมด้วย) เรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ ประจำอาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจรั่ว มากแต่กำเหนิด ธาลัลซีเมีย โรคโหลิตจางอะพลาสติก โรคขาดอาหาร เป็นต้น จึงควรตรวจดูว่ามีสาเหตุเหล่านั้นร่วมด้วยหรือไม่ หากสงสัยควรแนะนำไปโรงพยาบาล
  4. ผู้ที่เป้นหวัด และจามบ่อย โดยไม่มีไข้ มักเกิดจากการแพ้อากาศ แพ้ฝุ่น หรือละอองเกสร เป็นต้น มากกว่าจากการติดเชื้อไวรัส
  5. ผู้ที่มีอาการไข้และมีน้ำมูก แต่ตัวร้อนจัดตลอดเวลา กินยาลดไข้ก็ไม่ค่อยทุเลา มักจะไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา แต่อาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น หัด ปอดอักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ ควรตรวจดูอาการของโรคเหล่านี้อย่างละเอียด

นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้ออื่น ๆ อีกหลายชนิด ที่ในระยะแรกอาจแสดงอาการคล้ายไข้หวัด ได้เช่น มีเลือดออก ไอกรน คอตีบ โปลิโอ ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้รากสาดน้อย สอมงอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น จึงควรติดตามอดูอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่ามีไข้นานเกิน 7 วัน หรือมีอาการผิดไปจากไข้หวัดธรรมดา ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล อย่าซื้อหรือจ่ายยาชุดแก้หวัดที่ มีคลอแรมเฟนิคอล เตตราซัยครีน หรือเพร็ดนิโซโลน ผสมอยู่ด้วย หรือยาผงแก้เด็กตัวร้อนที่เข้าคลอแรมเฟนิคอล หรือเตตราซัยคลีน ให้ผู้ป่วยกิน นอกจากจะไม่จำเป็นแล้ว ยังเป็นอัตรายได้

<