Cardiac Catheterization Laboratory (ห้องสวนหัวใจ)

 เป็นหัตถการของศูนย์หัวใจซึ่งการตรวจในห้องสวนหัวใจ ส่วนใหญ่ไม่ต้องดมยาสลบ  อุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในตัวผู้ป่วย เช่น สายสวน บอลลูน หรือขดลวด มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับไส้ดินสอหรือไส้ปากกาหมึกแห้ง ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใช้วิธีการฉีดยาชาและสอดสายสวนแก้ไขและไม่ต้องกังวลต่อการเกิดแผล เป็นหัตถการส่วนใหญ่ในห้องสวนหัวใจ ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน ถ้าผู้ป่วยมาเพื่อการวินิจฉัยโรค จะต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล 1 คืน สำหรับผู้ป่วยที่มารับการซ่อมแซมหลอดเลือด หรือใส่อุปกรณ์เพื่อการรักษา จะต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล 1-3 คืน แพทย์จะให้คำปรึกษาและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามอย่างละเอียด รวมถึงความเสี่ยงและทางเลือก ก่อนการทำหัตถการทุกครั้ง

การบริการห้องสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) ได้แก่

1.การฉีดสีตรวจวินิจฉัยและการรักษาซ่อมแซมหลอดเลือดทุกตำแหน่งโดยใช้บอลลูน ขดลวด การขยายหลอดเลือด การดูดลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือด

ตัวอย่าง  หลอดเลือดที่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยวิธีเหล่านี้ คือ

            -หลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน

            -หลอดเลือดสมอง (Carotid Artery หรือ Vertebral Artery) ในผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต

            -หลอดเลือดไต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หรือไตเสื่อม จากหลอดเลือดไตตีบ

            -หลอดเลือดแขน ขาที่มีโรคหลอดเลือด เช่น ในผู้ป่วยที่ปวดขาเวลาเดิน หรือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีแผลเรื้อรัง

 

2.การตรวจและรักษาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ ได้แก่

            -การสร้างแผนภูมิของสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจระบบ 3 มิติ (Advance 3-D Mapping System)

            -การจี้แก้ไขบริเวณที่เต้นผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุ (Rediofrequency Ablation)

            -การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ(Pacemaker)

            -การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ(Implantable Cardioverter Defibrillator)

            -การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจสองห้องในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว(Cardiac Resynchronization Therapy)

 

 ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี

           

<