ระบบ PACS

PACS PACS ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System คือ ระบบที่ใช้ในการจัดเก็บรูปภาพ ทางการแพทย์( Medical Images) และรับ-ส่งข้อมูลภาพ ในรูปแบบ Digital โดย PACS ใช้การจัดการรับส่งข้อมูล ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการส่งภาพข้อมูลตามมาตรฐาน DICOM แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ได้นำระบบ PACS มาใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2549 ซึ่งการนำระบบ PACS มาใช้แทนระบบการถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มแบบเดิม ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้สามารถให้บริการแก่ผู้มารับบริการได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

PACS 
  PACS ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System คือ ระบบที่ใช้ในการจัดเก็บรูปภาพ ทางการแพทย์( Medical Images) และรับ-ส่งข้อมูลภาพ ในรูปแบบ Digital โดย PACS ใช้การจัดการรับส่งข้อมูล ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการส่งภาพข้อมูลตามมาตรฐาน DICOM แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ได้นำระบบ PACS มาใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2549 ซึ่งการนำระบบ PACS มาใช้แทนระบบการถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มแบบเดิม ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้สามารถให้บริการแก่ผู้มารับบริการได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น



   ภาพแสดงการเปรียบเทียบการใช้ระบบฟิล์มเดิมและระบบ PACS

   ระบบเดิมเริ่มจากเมื่อนักรังสีเทคนิคถ่ายภาพเอกซเรย์เสร็จ จะต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม จัดทำซองฟิล์ม แล้วนำฟิล์มไปให้รังสีแพทย์รายงานผล แล้วจัดเก็บซองฟิล์มไว้ในห้องเก็บฟิล์ม เมื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจขอดูฟิล์มและผลจะต้องทำการยืมฟิล์มจากแผนกรังสีวินิจฉัย ไปดูบนหอผู้ป่วยหรือที่แผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะต้องใช้บุคลากรและเวลาในการจัดหาและจัดเก็บ ซึ่งในบางครั้งก็มีปัญหาในเรื่องการหาฟิล์มไม่พบ ทำให้ต้องใช้เวลาและแรงงานในกระบวนการ/ขั้นตอนที่ยุ่งยาก เมื่อแผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ได้นำระบบ PACS มาใช้ ทำให้สามารถลดขั้นตอนจากระบบเดิมได้อย่างมาก กล่าวคือ เมื่อนักรังสีถ่ายภาพเอกซเรย์โดยใช้ตัวรับภาพ(Imaging plate) แล้วนำตัวรับภาพมาสร้างภาพด้วยเครื่อง CR ก็จะได้เป็นภาพดิจิตอล แล้วส่งภาพไปที่ PACS server จากนั้นรังสีแพทย์ก็สามารถดูภาพและรายงานผลได้ทันทีที่ส่งภาพ รวมทั้งแพทย์ผู้ส่งตรวจก็สามารถเรียกดูภาพได้ทันที ซึ่งจะเห็นว่ามีความสะดวกและรวดเร็วอย่างมาก 


   ข้อดีของการนำระบบ PACS มาใช้ในโรงพยาบาล
   1. ผลดีต่อกระบวนการรักษาพยาบาล

      - ลดเวลาในการตรวจ และรอคอยผลการเอ็กซเรย์ เนื่องจากการล้างฟิล์ม และการค้นหาฟิล์มเก่า
      - ได้รับการวินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาพยาบาลเร็วขึ้น
      - เนื่องจากสามารถเรียกข้อมูลเก่าที่เก็บไว้ในระบบได้ตลอด เวลาทำให้แพทย์ สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ของโรคได้ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ ยิ่งขึ้น และช่วยในการวางแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง
      - ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ จะได้รับเนื่องจากการถ่ายฟิล์มซ้ำ ที่เกิดจากการตั้งค่าเทคนิค ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย 


   2. ประหยัดทรัพยากรและ รักษาสิ่งแวดล้อม
      - ลดอัตราการสูญเสียฟิล์มในการเอ็กซเรย์ซ้ำ เพราะระบบการถ่ายเอ็กซเรย์ที่เก็บภาพแบบ Digital ทำให้รังสีแพทย์ สามารถที่จะทำการปรับค่า ความสว่างของภาพได้
      - ลดการสูญหายของฟิล์มเอ็กซเรย์ที่จะเกิดขึ้นในระบบเก่า 
      - ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการล้างฟิล์ม ( น้ำยาล้างฟิล์ม และ น้ำเสียจากเครื่องล้างฟิล์ม)
      - ลดพื้นที่ในการจัดเก็บฟิล์มเอ็กซเรย์ 
      - จะไม่มีการเสื่อมสภาพของภาพรังสี เพราะว่าข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีจะถูกเก็บในรูปแบบ Digital

<