การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
Ultrasound คืออะไร?
Ultrasound เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยให้ทรานส์ดิวเซอร์ ส่งคลื่น ultrasound กระทบกับผิว ต่อมหรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติต่างกัน จะเกิดการสะท้อนกระเจิงของคลื่น และคลื่นที่สะท้อน กระเจิงกลับเข้าสู่ทรานส์ดิวเซอร์ (echo) จะถูกบันทึก ขยายและปรับแต่งก่อนส่งไปแสดงผลทางจอภาพ (display) ติดตามรายละเอียดได้ดังนี้ค่ะ
คลื่นเสียงความถี่สูงสามารถใช้ตรวจส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่
- ส่วนหัว
- ใช้ตรวจเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เพื่อตรวจดูความผิดปกติในกระโหลกศีรษะ โดยตรวจผ่านกระหม่อมที่ยังไม่ปิด (open fontanelles)
- ส่วนคอ
- ใช้ตรวจหาความผิดปกติและหารอยโรคของต่อมธัยรอยด์ , ต่อมน้ำลาย (salivary gland) , parotid gland , ก้อนในบริเวณคอ และใช้ตรวจเส้นเลือดแดง (carotid artery)
- ส่วนอก
- ใช้ตรวจทรวงอก เพื่อดูน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid) หรือตรวจดูรอยโรค (lesions) ว่าเป็นเนื้อหรือน้ำติดกับผนังทรวงอก เช่น เนื้องอก ฯลฯ
- ช่องท้อง
- ใช้ตรวจดูความผิดปกติและหารอยโรคของอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมด (whole abdomen)
- ส่วนอื่น ๆ
- ใช้ตรวจเพื่อหาความผิดปกติและรอยโรคที่สงสัยในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) หรือ มีน้ำภายใน เช่น กล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเต้านม ขา เส้นเลือดขนาดใหญ่และขนาดกลาง (Doppler) เพื่อดูความผิดปกติ ของเส้นเลือด , วัดความเร็วการไหลเวียนเส้นเลือด , ดูการอุดตันของเส้นเลือด ฯลฯ
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- ส่วนหัว สามารถตรวจได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมตัวก่อนตรวจ แต่ในเด็กบางรายอาจต้องให้ Sedation ตามคำสั่งแพทย์
- ส่วนคอและส่วนอก สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ
- ส่วนท้อง
- Upper Abdomen งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ ในเด็กให้งดอาหารหรือนม 1 มื้อ เพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะถุงน้ำดี ชัดเจน
- Lower Abdomen ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร (เว้นแต่แพทย์สั่ง) ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ (ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่) ซึ่งจะทำให้สามารถเห็นมดลูกและอวัยวะบริเวณท้องน้อยชัดเจน
- Whole Abdomen งดอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ แต่ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว หลังจากนั้นงดดื่ม และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ (ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่)
- ส่วนอื่น ๆ สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ
อัลตราซาวด์ตรวจอะไรได้บ้าง?
การตรวจอัลตราซาวด์สามารถใช้ในหลายด้านของเวชศาสตร์ ดังนี้:
- อัลตราซาวด์ช่องท้อง (Abdominal Ultrasound): ตรวจตับ ไต ม้าม ถุงน้ำดี ตับอ่อน
- อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง: ตรวจมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ
- อัลตราซาวด์เต้านม (Breast Ultrasound): ตรวจหาก้อนหรือถุงน้ำในเต้านม
- อัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram): ประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ
- อัลตราซาวด์หลอดเลือด (Doppler): ตรวจการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือด
- อัลตราซาวด์ครรภ์ (Obstetric Ultrasound): ตรวจพัฒนาการของทารกในครรภ์
- อัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์ หรือก้อนที่ผิวหนัง: ตรวจหาลักษณะของก้อนเนื้อหรือซีสต์
ข้อแนะนำ
- ควรงดน้ำและอาหาร (N.P.O. = Nothing Per Oral) อย่างน้อย 6-8 ชม. ก่อนการตรวจ(สำหรับเด็กเล็ก ให้งดนมเพียง 4 ชม.)
- เหตุที่ต้องงดน้ำ ก็เพราะว่าถ้าไม่มีอะไรถูกกลืนลงสู่หลอดอาหารแล้ว โอกาสที่อากาศจะผ่านสู่กระเพาะอาหารก็น้อยด้วย ซึ่งอากาศมีอิทธิพลต่อภาพอัลตราซาวนด์ ไม่ว่าจะมีอากาศอยู่ในส่วนใดของ Gastro-intestinal tract ก็ตาม ก็จะทำให้ขาดข้อมูลที่ต้องการบนภาพได้ และในกรณีที่ผู้ป่วยมี Bowel gas มาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้รอไปก่อน 2-3 ชม.
- เหตุที่ต้องงดอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาพลวงจากอาหารที่รับประทาน และอาหารที่มัน ๆ ยังทำให้ Gall bladder บีบตัวจนการตรวจ Gall bladder ทำได้ยาก
Ultrasound ที่โรงพยาบาลวิภาวดีดีอย่างไร
✅ ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องฉีดสีหรือใช้รังสี
✅ ปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกวัย รวมถึงหญิงตั้งครรภ์
✅ ตรวจได้หลากหลายอวัยวะ ทั้งช่องท้อง หัวใจ สมอง หลอดเลือด และอื่น ๆ
✅ เครื่องมือทันสมัย ความละเอียดสูง ให้ภาพคมชัดแม้ในจุดที่มองเห็นยาก
✅ ผลตรวจวิเคราะห์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
✅ สามารถใช้ในการติดตามผลการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง
เหมาะกับใครบ้าง?
- ผู้ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง หรือสงสัยโรคตับ ไต ถุงน้ำดี
- ผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือน หรือสงสัยซีสต์ในมดลูกหรือรังไข่
- ผู้ชายที่สงสัยต่อมลูกหมากโต
- หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการตรวจสุขภาพทารก
- ผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพหัวใจ หรือหลอดเลือด
- ผู้ที่มีก้อนผิดปกติบริเวณเต้านมหรือลำคอ
ทำไมต้องตรวจอัลตราซาวด์ที่โรงพยาบาลวิภาวดี?
โรงพยาบาลวิภาวดีให้บริการตรวจอัลตราซาวด์ด้วย เครื่องอัลตราซาวด์ดิจิทัลความละเอียดสูง โดยทีมแพทย์รังสีวินิจฉัย และแพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขา ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำมากยิ่งขึ้น พร้อมให้คำแนะนำในการวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณในระยะยาว