การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า EDX (EMG & NCS)

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (electrodiagnosis)EMG

            เป็นเครื่องมือในการช่วยตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า และค้นหาความบกพร่องของเส้นประสาท จากอาการชาที่มือ ชาเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ


เครื่อง EMG คืออะไร มีหลักการและวิธีการอย่างไร...                                   การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า คือ การนำเอาความรู้ทางด้านไฟฟ้ามาใช้ช่วย ในการตรวจวินิจฉัยโรค โดยทั่วไปจะมีหลักการและวิธีการตรวจอยู่ด้วยกัน ลักษณะ คือ

  
1.การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท (Nerve Conduction Study)

                  เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้ไฟฟ้าขนาดที่ปลอดภัยกระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาทในส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อตรวจว่ามีความผิดปกติของเส้นประสาทตรงส่วนใดมากน้อยเพียงใด เช่น กรณีที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ อันเป็นผลเนื่องมาจากเบาหวาน หรือ การกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือและข้อศอก เป็นต้น
 

2.การตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Needle Electromyographic Study)

                 เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้เข็มเล็กๆตรวจดูความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท เช่น การกดทับของเส้นประสาทบริเวณคอและหลัง การบาดเจ็บของเส้นประสาท หรือภาวะกล้ามเนื้อมีความผิดปกติ เป็นต้น
 

3.การตรวจการนำไฟฟ้าของระบบประสาทส่วนกลาง (Evoked Potential)

                 เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้ไฟฟ้า แสง เสียง กระตุ้นให้มีสัญญษณไฟฟ้าผ่านไปตามแนวของเส้นประสาท เพื่อตรวจว่ามีความผิดปกติที่ส่วนใดของสมองและไขสันหลัง
 

การตรวจดังกล่าวมีประโยชน์อย่างไร

                การตรวจดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งยังใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนรักษาต่อไป
 

การตรวจมีความปลอดภัยพียงใด

               การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ปลอดภัยตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ ท่านอาจรู้สึกเหมือนการถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรืออาจเจ็บบ้างเมื่อใช้เข็มตรวจในกล้ามเนื้อ

สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น คือ
 

               • อาจระบมจากการใช้เข็มตรวจซึ่งมักหายไปใน 2-3 วัน
   
            • กรณีที่ต้องมีการตรวจกล้ามเนื้อด้วยเข็ม ในบริเวณช่วงอกอาจเกิดภาวะลมรั่ว (Pncumothorax)  ซึ่งจะมีอาการแน่นหน้าอกหายใจลำบากแต่อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนนี้พบได้น้อยมากและสามารถแก้ไขได้

 

ถ้าท่านมีปัญหาดังต่อไปนี้ กรุณาแจ้งแพทย์ก่อนการตรวจ

              • ประวัติเลือดออกง่าย หรือรับประทานยาบางชนิดที่อาจทำให้เลือดออก  

                ง่าย (ในกรณีที่ต้องใช้เข็มตรวจ)
  
              • ติดเครี่องกระตุ้นการของหัวใจด้วยไฟฟ้า (Pace Maker)

                • มีผิวหนังอักเสบและติดเชื้อในบริเวณที่ต้องการตรวจ

 

หมายเหตุ   • ผู้ป่วยที่กินยา Mestinon (ยาแก้โรค Myasthenia gravis) งดรับ ประทานยาล่วงหน้าก่อนการตรวจ 1 วัน

                    • ไม่ต้อง งดน้ำ และอาหาร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.วิภาวดี เบอร์ 02-561-1111 ต่อ 1118-9 

 

<