ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ข้อเดียว! ก็เสี่ยงแล้ว

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจทุกปี
  • ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี
  • น้ำหนักเกินมาตราฐาน
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • มีประวัติครอบครัว และญาติสายตรง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่

จะรู้ว่าเป็น..โรคหัวใจ..ได้อย่างไร
 

มีเครื่องมือตรวจค้นหา ดังนี้
 

            -Echocardiogram

            ใช้ในการวินิจฉัย และพยากรณ์โรค รวมทั้งตรวจหาความรุนแรง ติดตามผล

การรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวัด

ขนาด และดูความสามารถในการทำงานของหัวใจ รวมถึงโครงสร้างต่างได้ดี
 

            -Exercise Stress Test

            คือการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนด

เพื่อมุ่งเน้นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือขาดเลือดเป็นสำคัญ

หรืออาจใช้ตรวจหาการเต้น ผิดจังหวะที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย

การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก

ได้เป็นอย่างดี
 

            -CIMT

            Carotid Intima Media Thickness เป็นการตรวจวัดการตีบตันของหลอด

เลือดแดงที่คอ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
 

            -EKG

            การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

อุดตัน หัวใจโต ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด ฯลฯ
 

            -ABI

            Ankle-brachial index เป็นการตรวจวิเคราะห์ สมรรถภาพการแข็งตัวของ

หลอดเลือดแดงส่วนปลาย เพื่อเช็คดูว่ามีโรคของหลอดเลือดแดงที่แขน หรือขาตีบ

หรือไม่
 

            -Tilt Table Test

            (การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง) เป็นการตรวจ

พิเศษเพื่อที่ใช้ทดสอบผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไข

หรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลม หมดสติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ

ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง หัวใจ ความดันโลหิตต่ำ หรือความผิดปกติ

ของระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุของการเป็นลมที่พบบ่อยที่สุด
 

            -24 Hours Ambulatory ECG Recording

            (การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ชนิดพกพา) คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เป็นการติด

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่าน โดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือที่ทำงานได้ตามปกติ

การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ

ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ

               ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

<