Stroke Fast Track โรคหลอดเลือดสมองตีบ

Stroke Fast Track นายแพทย์อิทธิกร แซ่เล้า อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา ประจำโรงพยาบาลวิภาวดีกล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากเส้นเลือดสมองที่ตีบตัน ทำให้เนื้อสมองขาดเลือด และเนื้อสมองก็จะเริ่มตาย โดยเริ่มต้นจากเนื้อสมองส่วนตรงกลางก่อน และค่อยๆเพิ่มขนาดของเนื้อสมองที่ตาย ออกมาสู่สมองส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต

Stroke  Fast  Track

     นายแพทย์อิทธิกร  แซ่เล้า  อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา ประจำโรงพยาบาลวิภาวดีกล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากเส้นเลือดสมองที่ตีบตัน ทำให้เนื้อสมองขาดเลือด และเนื้อสมองก็จะเริ่มตาย โดยเริ่มต้นจากเนื้อสมองส่วนตรงกลางก่อน และค่อยๆเพิ่มขนาดของเนื้อสมองที่ตาย ออกมาสู่สมองส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต
     ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ได้ค้นพบว่าภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง หรือ 270 นาที  หลังจากผู้ป่วยเกิดอาการ  ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญ ที่แพทย์จะใช้ในการวางแผน การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดมาเลี้ยง (Cerebral  Infartion)  หรือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke) โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือด เรียกว่า Thrombolytic  Therapy 
     เวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง หรือ 270 นาที  คือ นับตั้งแต่นาทีแรกที่ผู้ป่วยมีอาการ จนถึงเวลาที่แพทย์ฉีดยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลช้ากว่านี้ มักจะไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ เนื่องจากเนื้อสมองสามารถทนการขาดเลือดได้นานเพียง  270  นาที  หลังจากนั้นเนื้อสมองจะตาย และไม่ตอบสนองต่อการรักษา ด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด  ในทางการแพทย์จึงเรียกแผนการรักษานี้ว่า “Stroke  Fast  Track  หรือ  ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง  หรือ 270 นาทีชีวิต”


อาการที่ผิดปกติและเป็นสัญญาณเตือนว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ  คือ

1...Symptoms and signs (ข้อใดข้อหนึ่ง)  
      - แขนขาอ่อนแรกครึ่งซีก (hemiparesis)
      - แขนขาชาครึ่งซีก (hemisensory loss)
      - แขนขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง
      - พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง (slurred speech oret)
      - มองเห็นภาพซ้อน (double vision  or dij)
      - พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจ (aphasia)
      - ตามองเห็นภาพไม่ชัด (hemianopia , mor)
      - เดินเซทรงตัวไม่อยู่ (ataxin)
      - เวียนหัว บ้านหมุน

2…Time course  ข้อใดข้อหนึ่ง
      - เป็นอย่างรวดเร็ว หรือ ทันทีทันใด
      - เป็นหลังตื่นนอน

สำหรับปัจจัยเสี่ยง ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ คือ
    - เพศ   
ผู้ชายมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกว่าผู้หญิง
    - อายุ   อายุที่สูงขึ้น  ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง   ซึ่งหมายถึง เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสในการเกิดโรคก็ยิ่งมากขึ้น
    -  ประวัติครอบครัว   ผู้ที่มีประวัติทางครอบครัว ญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่น้อง) ที่เป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้
    - โรคประจำตัว  ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ
    - ผู้ที่สูบบุหรี่
    - ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

สาเหตุ 

     1.ไขมันเกาะผนังหลอดเลือด(Atherosclerosis)

     2.ลิ่มเลือดหลุดลอยจากหัวใจ (Cardiac  emboli)

     3.ผนังหลอดเลือดฉีกขาด (Arterial dissection)

     4.อื่นๆ เช่น

               - หลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis)

               - เลือดหนืดข้น (Hyperviscosity)

               - เลือดแข็งตัวผิดปกติ (Hypercoagulability)

ปัจจัยเสี่ยง   แบ่งเป็น

ปัจจัยที่ป้องกันไม่ได้  ได้แก่

·อายุ อายุที่สูงขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้มากขึ้น

·เพศ ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย ประวัติครอบครัวผู้ที่มีโรคนี้โดยตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง)ที่เป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น

ปัจจัยที่ป้องกันได้  ได้แก่

·โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจบางชนิด (โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ)

·สูบบุหรี่

·ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

·ขาดการออกกำลังกาย

        โรคหลอดเลือดสมองตีบสามารถป้องกันได้ โดยควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแต่หากเกิดอาการผิดปกติที่ต้องสงสัยโรคนี้จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อเข้าทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง หรือ 270 นาทีชีวิต (Stroke Fast Track)

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ

       สำหรับโรงพยาบาลวิภาวดี มีทีมแพทย์ พยาบาล และสหสาขาวิชาชีพที่พร้อมให้การรักษาโดยจะรีบคัดกรองอาการผิดปกติดังกล่าวของผู้ป่วยว่าใช่โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือไม่ เพื่อเข้าแผนการรักษา Stroke Fast Track ตามขั้นตอนการให้บริการทั้งหมด ตั้งแต่ท่านมาถึงโรงพยาบาลจนกระทั่งได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วประมาณ 60 นาที ซึ่งจะรวมการตรวจร่างกายทางระบบประสาท ตรวจเลือด และตรวจภาพสแกนคอมพิวเตอร์สมอง (CT brain) หากผู้ป่วยมีอาการในระยะเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง และไม่มีข้อห้ามของการให้ยา จะได้รับยาละลายลิ่มเลือด (Recombinant Tissue Plasminogen  Activator ; rtpa)ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานในปัจจุบันนี้ ทางศูนย์สมองและระบบประสาท(Neurology Center) ขอชี้แจงประโยชน์และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ดังนี้

ประโยชน์ที่ได้รับ

       จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยามีอาการดีขึ้น (มีความพิการเหลืออยู่เล็กน้อย หรือ หายเป็นปกติภายหลัง 3 เดือน) มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาถึง 30 %

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

        จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยามีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกในสมอง 6.4% เทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา พบ 0.6% เลือดออกที่ร่างกายส่วนอื่นๆ การแพ้ยาแต่อย่างไรก็ตามการคัดเลือกสภาวะผู้ป่วยที่เหมาะสมจะสามารถช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีก

การรักษาอื่นๆ

        กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด(Antiplatelet) หรือ ยาป้องกันเลือดแข็งตัว (Anticoagulant) เพื่อป้องกันแทนร่วมกับการดูแลในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) เพื่อดูแลภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและการไหลเวียนของเลือด ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิตและสารเคมีที่สำคัญในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติและทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยต่อไป

 โรคหลอดเลือดสมองตีบ สามารถป้องกันและลดโอกาสสียชีวิตได้ โดยการรักษาควบคุม
     ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ เช่น ดูแลโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน ไม่สูบบุหรี่  ไม่ดื่มสุรา และถ้าเกิดอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด “270 นาทีชีวิต   Stroke  fast  Track”
        โรงพยาบาลวิภาวดี  มีทีมแพทย์ ทีมพยาบาลพร้อมให้การรักษา โดยจะรีบคัดกรอง อาการผิดปกติดังกล่าวของผู้ป่วย ว่าใช่โรคอัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ เพื่อเข้าแผนการรักษา   Stroke  fast  Track ตามขั้นตอนการให้บริการทั้งหมดตั้งแต่ท่านมาถึงโรงพยาบาล จนกระทั่งได้รับการรักษาใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ประมาณ  60-90  นาที 
แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวิภาวดี 0-2561-1111 กด 1

<