การจัดฟัน (Orthodontic treatment) เป็นการเคลี่อนฟันไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านความสวยงามและการทำหน้าที่
โดยอาศัยเครื่องมือบางชนิด ซึ่งมีทั้งแบบถอดได้และแบบที่ยึดติดอยู่กับตัวฟันแบบที่อยู่ในช่องปากและแบบที่อยู่นอกช่องปากแบบที่มีสีจากโลหะและแบบที่มีสีเดียวกับฟันธรรมชาติ
การจัดฟันยังรวมไปถึงการแก้ไขลักษณะนิสัยที่ผิดปกติในการบดเคี้ยว การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของขากรรไกรอีกด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านความสวยงาม และการทำหน้าที่
การจัดฟันเป็นทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาฟันเก ฟันซ้อน ฟันห่าง ฟันเหยินได้ และปัจจุบันก็เป็นที่นิยมทำกันมาก
การมีฟันเก ฟันห่าง ฟันที่เรียงซ้อนกัน หรือฟันที่สบกันไม่พอดี อาจจะส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกรที่ส่งผลต่อการเคี้ยวอาหาร ทำให้ประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารลดลง และยังเป็นอุปสรรคต่อการทำความสะอาด ส่งผลต่อสุขภาพของเหงือกและฟันตามมา ซึ่งสาเหตุของฟันที่สบกันไม่พอดีนี้อาจมาจากนิสัยบางอย่าง เช่น การชอบดูดนิ้วตอนเด็ก การถอนฟันแท้ในช่วงก่อนโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเกิดจากพันธุกรรม
ดังนั้น การจัดฟันจึงมีผลดีต่อสุขภาพช่องปากและฟัน เพราะเมื่อฟันเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ การทำความสะอาดจะง่ายขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดฟันผุ และโรคเหงือก
นอกจากนี้ ฟันที่สบกันสนิทจะทำให้เคี้ยวอาหารได้อย่างละเอียด ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพูดที่เกิดจากการสบของฟัน
การจัดฟันทำโดยการติดเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดลงไปที่ฟัน ทำให้ฟันเกิดการเคลื่อนย้ายไปในทิศทางที่ต้องการและค่อยๆ ขยับเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการสบกันระหว่างฟันบนกับฟันล่างด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและสุขภาพของช่องปากและฟัน
นอกจากนี้การจัดฟันยังช่วยเพิ่มความสวยงามของฟัน ทำให้พูดหรือยิ้มได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น
ประเภทของการจัดฟัน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
โดยที่เราจะเปลี่ยนชิ้นพลาสติกนี้ไปเรื่อยๆ ฟันก็จะขยับไปเรื่อยๆ โดยที่เราไม่ต้องมีเหล็กดัดติดอยู่ที่ฟันของเรา การจัดฟันแบบนี้เรียกว่า การจัดฟันแบบใส Invisalign
ฟันซ้อนเกจะทำให้เราทำความสะอาดหรือแปรงฟันได้ยาก และไม่ทั่วถึง ส่งผลให้มีคราบอาหารและคราบจุลินทรีย์รวมทั้งหินปูนมาเกาะจับที่ตัวฟันอยู่เยอะ ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุและโรคเหงือกได้
ฟันซ้อนเกจะทำให้เมื่อเราใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหารประจำวัน จะเกิดการสึกของฟันในตำแหน่งที่ไม่ควรจะเกิด ทำให้การสบฟันผิดจากตำแหน่งปกติที่ควรจะเป็น จึงส่งผลให้ยิ่งนานไป ยิ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อตัวฟัน เหงือกและข้อต่อขากรรไกร
1. ฟันผุ เหงือกอักเสบ เนื่องจากการที่เรามีเครื่องมือจัดฟันอยู่ในช่องปาก จะทำให้การทำความสะอาดเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้เกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย ผู้ที่จัดฟันจึงควรแปรงฟันอย่างสะอาดทั่วถึงหลังจากมื้ออาหารทุกมื้อ
2. อาการแพ้สาร ที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือจัดฟัน บางคนแพ้สารนิเกิลที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือจัดฟัน แต่พบได้น้อยมาก
3. อาการเจ็บ พบได้เกือบทุกคนที่จัดฟัน อาการเจ็บนี้มักเกิดจากการเคลื่อนตัวของฟัน หรือเกิดจากเครื่องมือจัดฟันไปทิ่มกับเนื้อเยื่อภายในช่องปาก อาการเจ็บจะเป็นในบางช่วงของการจัดฟันเท่านั้น
4. อาการปวดข้อต่อขากรรไกร อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการจัดฟัน เนื่องจากฟันเคลื่อนตัวไปในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมต่อการบดเคี้ยว
5. ฟันตายหรือรากฟันมีการละลายตัว พบได้ไม่บ่อยนักในผู้ที่มีการจัดฟัน อย่างไรก็ตามเราพบว่าในระหว่างการจัดฟันนั้น ฟันที่ตายไปแล้ว อาจจะย้อนกลับมามีชีวิตดังเดิมได้ และในคนปกติที่ไม่ได้จัดฟันรากฟันก็จะมีการละลายตัวได้เองอยู่แล้ว
การจัดฟันสามารถกระทำได้ทั้งในเด็กที่ฟันแท้ยังขึ้นไม่ครบและในผู้ใหญ่ที่ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่แล้ว ทั้งนี้อาจจะมีจุดมุ่งหมายและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไปบ้าง
การจัดฟันในเด็กอาจจะมีผลทำให้รูปหน้าและรูปร่างของกระดูกขากรรไกรเปลี่ยนแปลงไปได้
ในขณะที่ในผู้ใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะการเรียงตัวของฟันเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของใบหน้าได้มากนักและมีข้อจำกัดต่างๆมากกว่าในเด็ก
ในบางครั้งการจัดฟันเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถแก้ไขการสบฟันและรูปร่างใบหน้าให้สมบูรณ์ได้ จึงต้องมีการถอนฟันออกไปบางซี่ หรือในรายที่มีความผิดปกติรุนแรง อาจจะต้องทำการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร (Orthognathic surgery)
ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันนั้น จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉลี่ยการจัดฟันแบบติดแน่นนั้นใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2.5 ปี แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันแตกต่างกันไป ดังนี้
การใส่เครื่องมือบางชนิดในช่องปากด้วยตัวเองจนถึงการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (Retainer) หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาแล้ว ถ้าปราศจากการร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วยแล้ว การจัดฟันอาจจะใช้เวลานานกว่าปกติและไม่ประสบผลสำเร็จ หรือผลที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควรครับ
ทพ. ณพงษ์ พัวพรพงษ์
ศูนย์ทันตกรรมและทันตกรรมเฉพาะทาง
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved