อาการท้องเสียถ่ายเป็นน้ำเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ค่อนข้างบ่อย ไม่ว่าจะเกิดจากอาหารเป็นพิษ การติดเชื้อ หรือพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาการเหล่านี้อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและสามารถทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
บทความนี้จึงจะพาไปเจาะลึกสาเหตุและอาการท้องเสียถ่ายเป็นน้ำ พร้อมแนะนำวิธีแก้ท้องเสียเร่งด่วนในเบื้องต้นว่าเมื่อท้องเสียควรดูแลตัวเองอย่างไร กินอาหารประเภทไหน หรือยาอะไรถึงจะช่วยบรรเทาอาการได้บ้าง และหากอาการไม่ทุเลาควรทำอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ!
อาการท้องเสีย (Diarrhea) คือภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำบ่อยกว่าปกติ โดยทั่วไปลักษณะของอาการถ่ายที่เข้าข่ายว่าเป็นท้องเสีย มีดังนี้
อาการท้องเสียสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทตามระยะเวลาและลักษณะของอาการ ซึ่งแต่ละประเภทมีความรุนแรงและแนวทางการดูแลที่แตกต่างกัน ดังนี้
อาการท้องเสียสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้
การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของอาการท้องเสีย โดยเชื้อโรคเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางอาหาร น้ำดื่ม หรือมือที่ไม่สะอาด เมื่อเชื้อเข้าสู่ลำไส้ จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบหรือรบกวนการดูดซึมของลำไส้ ส่งผลให้ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ ปวดบิดท้อง อาเจียน หรือมีไข้ร่วมด้วยในบางราย โดยเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่
สาเหตุของอาการท้องเสียในบางรายอาจเกิดจากการแพ้อาหารหรือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสารอาหารบางชนิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ลำไส้บีบตัวผิดปกติ หรือมีการสะสมของน้ำและแก๊สมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการถ่ายเหลว ปวดเกร็งท้อง หรือท้องอืดตามมา ซึ่งการแพ้อาจเกิดได้หลายรูปแบบ เช่น
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของอาการท้องเสีย โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นเรื้อรัง คือโรคที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ ซึ่งมักทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติหรือเกิดการอักเสบเรื้อรังในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือดปนในอุจจาระ ร่วมกับอาการปวดท้องหรือท้องอืด ซึ่งโรคที่พบบ่อย ได้แก่
อาการท้องเสียส่วนใหญ่มักเป็นอาการเฉียบพลันที่สามารถดูแลรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการ ลดความเสี่ยงจากภาวะขาดน้ำ และฟื้นฟูระบบย่อยอาหารให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยวิธีแก้ท้องเสียเบื้องต้นมีดังนี้
การดื่มน้ำผสมเกลือแร่ (ORS) จะช่วยชดเชยน้ำและสารเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับอุจจาระได้ดี ทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และลดความเสี่ยงจากภาวะขาดน้ำ อาการอ่อนเพลีย หน้ามืด หรือการช็อกได้
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำตาล หรือแอลกอฮอล์ เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้อาจทำให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นการขับถ่าย หรือเพิ่มการสูญเสียน้ำในร่างกาย และส่งผลให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้
ในช่วงที่มีอาการท้องเสีย การเลือกว่าจะกินอะไรให้หายท้องเสียเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากระบบย่อยอาหารอยู่ในภาวะอ่อนแอ จึงควรเลือกทานอาหารที่ย่อยง่ายเป็นหลัก เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ข้าวสวยกับอาหารที่ปรุงสุก หรือมันฝรั่งต้ม เพราะอาหารเหล่านี้มีเส้นใยต่ำ ย่อยง่าย ไม่กระตุ้นลำไส้ และช่วยเพิ่มมวลในอุจจาระให้จับตัวได้ดีขึ้น
โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของทอด ของมัน ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม และผลไม้ที่มีกากใยสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ลำไส้ระคายเคืองมากขึ้น ส่งผลให้อาการท้องเสียรุนแรงหรือยืดเยื้อมากกว่าเดิมได้
การใช้ยาแก้ท้องเสียถือเป็นวิธีแก้ท้องเสียเร่งด่วนที่ช่วยบรรเทาอาการถ่ายเหลวและลดความถี่ในการขับถ่ายในระยะสั้น โดยยาที่หาทานได้เองเป็นกลุ่มยาสามัญประจำบ้าน ดังนี้
ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาปฏิชีวนะและยาหยุดถ่าย หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากการใช้ยาไม่เหมาะสมอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมาได้
การวินิจฉัยอาการท้องเสีย แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะของอาการร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรักษาอย่างตรงจุด โดยกระบวนการวินิจฉัยมักประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
วิธีรักษาหรือแก้อาการท้องเสียถ่ายเป็นน้ำจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของการเกิดโรค โดยทั่วไปสามารถแบ่งการรักษาได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
ท้องเสียระดับเบามักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยไม่มีอาการรุนแรงร่วมด้วย เช่น ไม่มีไข้สูง ไม่อาเจียนมาก และไม่มีมูกหรือเลือดในอุจจาระ ซึ่งแนวทางการรักษา คือ
ท้องเสียระดับกลางอาจมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ถ่ายบ่อยมากกว่า 5 ครั้งต่อวัน รู้สึกอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ หรือมีอาการปวดท้องมาก แต่อาการยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ มีแนวทางการรักษา ดังนี้
ทั้งนี้ หากอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นใน 1 - 3 วัน หรือกินยาอะไรก็ไม่หาย ควรรีบพบแพทย์ทันที
ท้องเสียระดับรุนแรงมักมีอาการชัดเจนและอันตราย เช่น ถ่ายเป็นน้ำปริมาณมาก ติดต่อกันหลายวัน มีไข้สูง อาเจียนไม่หยุด ถ่ายมีมูกเลือด หรือมีอาการของภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ทั้งปากแห้ง ตาลึก ผิวหนังไม่ยืดหยุ่น ซึ่งแนวทางการรักษา ดังนี้
การป้องกันอาการท้องเสียสามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยและการเลือกบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคและสิ่งปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการป้องกันที่ควรปฏิบัติมีดังนี้
แม้อาการท้องเสียส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบเข้าพบแพทย์ในทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะที่รุนแรงหรือโรคแทรกซ้อนได้
ทั้งนี้ หากมีอาการเข้าข่ายข้างต้นและไม่เข้าพบแพทย์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำรุนแรง หรือภาวะเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ซึ่งสามารถส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ ช็อก และเกิดภาวะอวัยวะล้มเหลว เช่น ไตวายเฉียบพลันหรือหัวใจทำงานผิดปกติได้
อาการท้องเสียถ่ายเป็นน้ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อ การแพ้อาหาร หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ ซึ่งแต่ละกรณีมีระดับความรุนแรงและแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน หากอาการไม่รุนแรงมาก ไม่มีไข้ ไม่อาเจียน และไม่มีมูกเลือดในอุจจาระ สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้านได้ โดยการดื่มเกลือแร่ รับประทานอาหารย่อยง่าย และใช้ยาสามัญบรรเทาอาการอย่างระมัดระวัง
หากอาการไม่ดีขึ้น ถ่ายบ่อย มีมูกเลือด หรือมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งที่โรงพยาบาลวิภาวดี พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการท้องเสียอย่างครบวงจรโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง เครื่องมือทันสมัยได้มาตรฐาน และมีบริการฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีและปลอดภัยในทุกสถานการณ์
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถดูแลตัวเองได้อย่างปลอดภัยเมื่อเกิดอาการท้องเสีย เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อย พร้อมคำตอบมาไว้ให้ทุกคนสามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ดังนี้
วิธีแก้ท้องเสียถ่ายเป็นน้ำให้หายได้เร็วขึ้น ควรจิบน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม กล้วยสุก และหลีกเลี่ยงของทอด ของมัน หรือนม หากมีอาการปวดบิดท้องหรือถ่ายบ่อย อาจใช้ยาแก้ท้องเสียตามคำแนะนำของเภสัชกรได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นใน 1 - 2 วัน ควรพบแพทย์ทันที
การถ่ายเป็นน้ำเกิดจากลำไส้ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง หรือมีการหลั่งน้ำเข้าสู่ลำไส้มากกว่าปกติ ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต รวมถึงการแพ้อาหารหรือการใช้ยาบางชนิด ทำให้อุจจาระมีปริมาณน้ำมากกว่าปกติและไม่จับตัวเป็นก้อน เมื่อถ่ายออกมาจึงมีลักษณะเหลวเป็นน้ำนั่นเอง
อาการหนาวสั่นมักเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในร่างกาย โดยเฉพาะหากท้องเสียร่วมกับมีไข้ อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองด้วยการแสดงอาการหนาวสั่นร่วมกับไข้สูงออกมา
ความเครียดสามารถส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมการทำงานของลำไส้ ทำให้เกิดการบีบตัวผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้ท้องเสียหรือปวดบิดท้องได้เช่นกัน ซึ่งถือเป็นกลไกที่พบได้บ่อยในกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (IBS)
หากผู้ป่วยไม่ได้แพ้แลกโตสสามารถกินโยเกิร์ตได้ โดยเฉพาะโยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติกส์ เพราะจะช่วยฟื้นฟูสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ให้สมดุลมากยิ่งขึ้น แต่หากมีภาวะแพ้นมควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้อาการท้องเสียแย่ลงได้
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved