การฝังเข็ม

        ตามแนวคิดของศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค  3 ประการ คือ

1.แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด

2.ปรับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่สมดุล

3.กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย

4.ยังยั้งความเจ็บปวด

5.ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว

ระยะเวลาฝังเข็ม

          แพทย์จะใช้เข็มเล็ก ๆ ขนาด 0.18-0.30 มม.  ปักลงในตำแหน่งจุดต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้นิ้วมือหมุนปั่นหรือใช้เครื่องไฟฟ้าหมุนกระตุ้นโวลต์ต่ำ ใช้เวลาประมาณ  30  นาที แล้วจึงถอนออก

โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม

          องค์การอนามัยโรคระบุว่า มีโรคหลายชนิด หลายกรณีที่สามารถทำการรักษาได้ โดยโรคและอาการที่พบบ่อย ๆ มีดังนี้

-อัมพาต  อัมพฤกษ์  แขน-ขา อ่อนแรง

-ปวดศีรษะ

-นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล

-ท้องผูก

-โรคบริเวณในหน้า,ปวดสามแฉก,อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก,หน้ากระตุก,ขากรรไกรค้าง,อ้าปากไม่ขึ้น

-โรคกล้ามเนื้อ เอ็น,ข้อกระดูกและปลายประสาทชา,ปวดข้อมูมาตอยด์,ชาปลายมือปลายเท้า,ตะคริว,ปวดหลัง,ปวดหัวเข่า,เข่าบวม,ข้อเข่าเสื่อม,ข้อเข่าพลิก

-ปวดจากมะเร็ง,เนื้องอก,ปวดแผลผ่าตัด

-แพ้ท้อง,อาเจียน,ทานอาหารไม่ได้

-เบาหวาน,และภาวะแทรกซ้อน ปลายเท้าคล้ำดำ ชาปลายมือปลายเท้า

-ความดันโลหิตสูง,ไขมันในเลือดสูง

-ลดความอ้วน ลดความอ้วนหลังคลอด ลดไขมันเฉพาะที่ต้นขา น่อง ต้นแขน ท้องแขน 

-เพิ่มน้ำหนัก คนผอม ผู้ป่วยเรื้อรัง

-บำรุงสุขภาพ วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ

-โรคผู้สูงอายุ สั่นกระตุก,พาร์คินสัน,หลงลืม,ความจำเสื่อมโรคอับไซเมอร์

-โรคสูติ-นรีเวช ปวดประจำเดือน,ประจำเดือนมาไม่ปกติช้า เร็ว มาไม่แน่นอน

-วัยทอง

-เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

-โรคภูมิแพ้

-ลบรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นใต้คาง ท้องแขน ฝ้า กระ สิว ผมร่วง เส้นเลือดขอด

-เลิกยาเสพติด เช่น สุรา,บุหรี่,ยาเสพติด

-โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ปวดท้องเรื้อรังริดสีดวงทวาร

-โรคอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

ข้อห้ามในการฝังเข็ม

ไม่ควรทำการฝังเข็มในผู้ป่วยต่อไปนี้

1.สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด

2.ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย

3.โรคมะเร็ง(ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)

4.โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด

ระยะเวลาฝังเข็ม

          ควรฝังเข็มอย่างน้อยสัปดาห์ละ  2  ครั้ง และต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

                   

<