ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง(ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง)

สมอง ไขสันหลังและกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกายของเรา

 

ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง(ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง)

Brain and SpineCenter  
สมอง ไขสันหลังและกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกายของเรา ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลวิภาวดี เราจึงให้ความสำคัญกับทั้ง 3 ระบบนี้ และเชื่อมโยงการรักษาเข้าด้วยกัน เพราะบ่อยครั้งที่ความผิดปกติเหล่านี้แสดงอาการที่ซับซ้อนออกมายังผลให้การวินิจฉัยทำได้ลำบาก เช่นมีความผิดปกติที่กระดูกต้นคอ แต่ผู้ป่วยกลับมาตรวจด้วยอาการปวดหัว ทำให้แพทย์หลงคิดไปว่าผู้ป่วยเป็นโรคทางสมองทั้งๆ ที่ความผิดปกติอยู่ที่กระดูกต้นคอ หรือบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมีอาการชาตามแขนหรือขาแต่แพทย์คิดว่ามีปัญหาที่กระดูกสันหลัง ทั้งๆ มีสาเหตุอาจมาจากความผิดปกติของสมอง ทำให้สูญเสียโอกาส ในการวินิจฉัยและรักษาโรค

ทางศูนย์ฯ มีความพร้อมทั้งทางด้านเครื่องมือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางใน 3 ระบบนี้ ที่พร้อมตรวจวินิจฉัย ดูแลรักษาอย่างละเอียด รวดเร็วและแม่นยำ สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติทางสมอง ระบบประสาทและไขสันหลัง ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

การบริการและการรักษา

- อุบัติเหตุที่ศีรษะ สมองได้รับความกระทบกระเทือน

- เส้นเลือดในสมองแตก หรือเส้นเลือดในสมองผิดปกติแต่กำเนิด(Arteriovenous Malformation, AVM)

- อาการหมดสติ อ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต จากเส้นโลหิตฝอยในสมองแตกทำให้เลือดออกในสมอง

- เนื้องอก ถุงน้ำหรอซีสต์ในสมอง      

- กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรุด หรือแตก ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดคอ ชาแขน ชาขา เป็นต้น

- อาการกระตุกของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะตามใบหน้า (Trigeminal Neuralgia)

- หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท

- ให้คำปรึกษาและผ่าตัดโรคทางสมอง โดยจุลศัลยกรรม(Microsurgery)

- เนื้องอกในสมองเด็กหรือผู้ใหญ่

- เนื้องอกในไขสันหลัง

- เส้นเลือดโป่งพองในสมอง (Cerebral Aneurysm)

- เส้นเลือดผิดปกติในสมอง (AVM)

- เส้นเลือดกดทับเส้นประสาท

- ฯลฯ

เทคโนโลยีทางการแพทย์

-Microscope กล้องจุลทรรศน์

สำหรับการผ่าตัดสมองพร้อมอุปกรณ์บันทึกภาพขณะผ่าตัด เป็นกล้องที่ใช้ขยายภาพสำหรับการผ่าตัดสมอง ไขสันหลังและกระดูกสันหลังในส่วนลึก ช่วยทำให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นในส่วนที่ลึกของอวัยวะเหล่านี้ได้ชัดเจน เช่น เส้นประสาทสมอง เส้นเลือดสมอง เนื้องอกสมอง ก้อนเลือดที่คั่งในสมอง ไขสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง หินปูนที่กดทับรากประสาทหรือไขสันหลัง นอกจากนี้ยังใช้ร่วมกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอและเอว ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นไขสันหลัง เส้นประสาท เนื้องอก หรือความผิดปกติที่ตาเปล่าไม่อาจมองเห็นได้ ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดระหว่างการผ่าตัดได้มากขึ้น ตัวกล้องจะต่อเข้ากับเครื่องบันทึกภาพและตัวถ่ายทอดสัญญาณออกทางจอ Monitorซึ่งสามารถบันทึกภาพระหว่างการผ่าตัดไว้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วย

-Head Holder เครื่องตรึงเพื่อให้ผู้ป่วยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ระหว่างการผ่าตัด

เพื่อช่วยให้การผ่าตัดทำได้ง่ายขึ้น โดยในระหว่างผ่าตัด ศีรษะหรือกระดูกสันหลังของผู้ป่วยจะถูกตรึงอยู่กับที่โดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ระหว่างการผ่าตัด ทำให้ศัลยแพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้ง่ายและแม่นยำขึ้น

-Self retaining brain retractor เครื่องมือช่วยการผ่าตัดสมอง      

เป็นแขนกลที่ทำงานเสมือนแขนที่สามและสี่ของศัลยแพทย์ ในระหว่างผ่าตัด โดยแทนที่ศัลยแพทย์จะต้องใช้มือทั้งสองข้างไปถือเครื่องมือ หรือให้พยาบาล/ผู้ช่วย ถือเครื่องมือผ่าตัด ก็จะใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ช่วยถือเครื่องมือผ่าตัดแทน ซึ่งมีความแน่นอนไม่สันไหว ไม่มีการเมื่อยล้าเหมือนการถือด้วยมือมนุษย์ ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ลดการบาดเจ็บของสมอง อันเกิดจากการให้ผู้ช่วยถือเครื่องมือผ่าตัด

-Aneurysm Clip เป็นอุปกรณ์สำหรับการควบคุมการไหลของเส้นเลือดสมอง

ใช้ในรายที่มีการผ่าตัดเกี่ยวกับเส้นเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง หรือการักษาที่อาจมีการสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการผ่าตัดทั้งนี้ อุปกรณ์นี้จะช่วยป้องกันหรือลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัดลงได้มาก

-Biological Glue หรือ กาวชีวะ

ใช้สำหรับห้ามเลือดที่ออกจากสมอง ไขสันหลัง หรือกระดูกสันหลังหรือรอบๆ บริเวณผ่าตัด กรณีที่มีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มสมอง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีกะโหลกศีรษะแตก หรือในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองเนื่องจากเส้นโลหิตแตก หรือในรายที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เช่น ไตวาย โรคเลือด(Hemophilia) ผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่สมองรุนแรง

-ชุดผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลังฉุกเฉิน

ใช้สำหรับการผ่าตัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง ในรายที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกคอ หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนหรือแตกกระดูกคอแตกหรือเคลื่อน เนื้องอกของไขสันหลังที่คอ ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการชาแขนขา หรือแขนขาอ่อนแรง (อัมพฤกษ์,อัมพาต)

-เครื่องมือติดตามระดับการเปลี่ยนแปลงของความดันในสมอง(ICP Monitoring)

ใช้ตรวจวัดระดับการเปลี่ยนแปลงของความดันในสมอง มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวัดการทำงานของสมอง หลังอุบัติเหตุหรือหลังการผ่าตัดได้ง่ายขึ้นโดยเครื่อง จะเตือนการเปลี่ยนแปลงความดันในสมองเป็นระยะๆ ซึ่งสามารถทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำกว่า การให้บุคลากรคอยเฝ้าสังเกตด้วยตนเอง ซึ่งหมายถึงโอกาสในการรักษาแต่เนิ่นๆ จะมีมากขึ้น

-เครื่องกรอกะโหลกและกระดูกด้วยความเร็วสูง(High Speed Drill)

ใช้สำหรับทำงานที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง กะโหลกศีรษะและกะโหลกใบหน้า เชน การผ่าตัดสมอง การผ่าตัดเนื้องอกสมองการผ่าตัดเส้นเลือดสมอง การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกใบหน้า การผ่าตัดข้อต่อ การผ่าตัดกรอกระดูกสันหลังหรือหินปูนที่กดทับรากประสาท โดยเครื่องกรอจะมีรอบความเร็วสูงกว่าเครื่องกรอทั่วไป(เครื่องกรอทั่วไปมีอัตราเร็วรอบที่20,000 ต่อนาที โดยประมาณ) ขณะที่เครื่องกรอความเร็วสูงจะมีรอบประมาณ 80,000 ไปจนถึง มากกว่า 100,000 รอบต่อนาที ช่วยให้การผ่าตัดเร็วขึ้นง่ายขึ้น และมีความแม่นยำมากขึ้น

MRI – CT Scan

-เครื่องเอกซเรย์สนามแม่เหล็ก MRI

ใช้ในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง ระบบประสาทและกระดูกสันหลัง ซึ่งเครื่องเอ็กซเรย์ทั่วไปทำไม่ได้เครื่องนี้จะสามารถให้รายละเอียดที่แม่นยำ และครบถ้วนสำหรับแพทย์ในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรค

-เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ Multislice (CT scan)

สามารถทำการตรวจสมองและกระดูกสันหลัง ได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที ภาพที่ได้ยังสามารถนำมาสร้างเป็นภาพสามมิติ เพื่อให้แพทย์ประเมินความเสียหายของกระดูกโครงสร้าง หรือเส้นเลือดในสมองได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

-ศูนย์สมอง และกระดูกสันหลังโรงพยาบาลวิภาวดี(ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง)

เราใช้วิธีการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ โดยยึดแนวความคิด และมาตรฐานแบบเดียวกับการผ่าตัดในโรงพยาบาลต่างประเทศ คือการหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ต้องมีการเปิดแผลใหญ่ๆโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับศาสตร์ของการผ่าตัดในด้านอื่นที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น การส่องกล้องเพื่อผ่าตัดช่องท้องการส่องกล้องเพื่อผ่าตัดในข้อต่อ การส่องกล้องเพื่อการผ่าตัดทางสูติ-นรีเวช การส่องกล้องหรือใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อการผ่าตัดหู คอ จมูก โดยแนวคิดแบบนี้เรียกว่า Minimally Invasive Surgery หรือ Keyhole Surgery

ข้อดีของการผ่าตัดแบบใหม่ คือ

1.ขนาดแผลผ่าตัดเล็กลง (เล็กที่สุดเท่าที่เคยมีการทำในโรงพยาบาลคือ 2-3 ช.ม. ทั้งนี้ขึ้นกับโรคและระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นมาก่อนรับการรักษา)

2.(ในกรณีทีมีการผ่าตัดสมอง) หลีกเลี่ยงการโกนศีรษะ หรือหากจำเป็นก็จะกันผมบางส่วนออกเพียงเพื่อสามารถหลบซ่อนแผล      เป็นภายหลังการผ่าตัด

3.ลดระยะเวลาการผ่าตัดลงมาก ซึ่งจะมีผลดีทางอ้อม เช่น ลดอัตราเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เป็นต้นว่าการติดเชื้อ การบวมของสมอง รวมทั้งลดระยะเวลาการดมยาสลบ (การดมยาสลบนานๆ จะมีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนจากการดมยามากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ) ตัวอย่าง เช่น การผ่าตัดเลือดคั่งในสมอง จะลดระยะเวลาเหลือพียง 30-90 นาที เท่านั้น

4.ลดความเครียดของญาติระหว่างการรอผ่าตัด ซึ่งเดิมญาติมักต้องรอแพทย์ผ่าตัดนานหลายชั่วโมง(อาจใช้เวลานานตั้งแต่ 4 ชั่วโมง ไปจนถึงเป็น 10 ชั่วโมง) ซึ่งช่วงเวลานี้นอกจากจะมีผลต่อผู้ป่วยดังกล่าวแล้ว ญาติที่รอหน้าห้องผ่าตัดจะได้รับความเครียดไปโดยไม่รู้ตัว

5.ลดความบวมช้ำของสมอง ไขสันหลังและกระดูกสันหลังลง ทำให้ลดอัตตราการเกิดโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

6.ลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด เนื่องจากมีการเปิดแผลเล็กลงอวัยวะภายในบอบช้ำลดลง

7.ลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการผ่าตัดสมองสามารถกลับบ้านได้ภายใน 3-5 วัน หลังผ่าตัด(ในบางรายอาจไม่ต้องมีการตัดไหมหลังผ่าตัดเลย) หรือในบางรายที่ผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกสันหลัง ก็สามารถกลับไปทำงานเดิมได้ภายใน 2-3 วัน

8.ลดระยะเวลาพักฟื้นที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว

9.มีระยะเวลาพักรักษาตัวและการทำกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน

10.เพิ่มโอกาสของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด ที่จะสามารถกลับไปทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม หรือใกล้เคียงกับเดิม ซึ่งช่วยลดภาระของญาติผู้ป่วยในการดูแลหลังผ่าตัดลงได้เป็นอันมาก

<