เชื้อไวรัส อาร์เอสวี (RSV: Respiratory Syncytial Virus)

เชื้อไวรัส อาร์เอสวี (RSV: Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งเมื่อติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) ในทางเดินหายใจส่วนล่างแล้ว ผู้ติดเชื้อร้อยละ 70 มักเกิดอาการปอดบวม และหลอดลมฝอยอักเสบ

การติดต่อของโรค

  • เกิดได้ทั่วโลกมักระบาดในฤดูหนาวของประเทศแถวตะวันตกในประเทศไทยพบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ระหว่างเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน
  • ติดต่อได้ง่ายโดย การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ได้แก่ น้ำมูก เสมหะ น้ำลายของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสนี้ผ่านทางตาจมูกและทางการหายใจ โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) สามารถกระจายเชื้อให้ลอยปะปนอยู่ในอากาศภายในรัศมี 3 ฟุต ผ่านทางการไอหรือจาม
  • การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นได้หลายครั้ง เนื่องจากไวรัสตัวนี้มีหลายพันธุ์

อาการของโรค

  • ระยะฟักตัวประมาณ 5 วัน
  • ในช่วง 2-4 วันแรก อาการป่วยจะคล้ายไข้หวัดธรรมดา คือ ไข้ต่ำ ๆ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกใส เด็กบางคนอาจเกิดกล่องเสียงอักเสบ เมื่อการดำเนินโรคของทางเดินหายใจส่วนล่างมีมากขึ้น ก็ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ(ไข้ ไอ หอบ) โดยเด็กจะมีไข้สูง ไอมากขึ้น ร่วมกับมีเสมหะ บางรายไอมากจนอาเจียน หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจแรงจนหน้าอกโป่ง หายใจออกลำบากหรือหายใจมีเสียงวี้ด (wheezing) แบบหลอดลมฝอยอักเสบ ซึมลง ตัวเขียว ดื่มนมหรือรับประทานอาหารได้น้อย แต่ในรายที่อาการหนัก มีโอกาสเสียชีวิตได้ เนื่องจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลว

การพยากรณ์โรค

ยังไม่ทราบกลไกในการเกิดที่ชัดเจน อาการของโรคเกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดีชนิดไวจีอี ( IgE ) ต่อเชื้ออาร์เอสวี ( RSV ) ทำให้เกิดปฏิกิริยาเหมือนโรคภูมิแพ้ ในระบบทางเดินหายใจมีการหลั่งสารออกมา ซึ่งมีผลทำให้หายใจเสียงวี้ด (wheezing) ตามมาได้ อาการจากการติดเชื้อเกิดจากการกระตุ้นปฏิกิริยา

ไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่พบบ่อยที่สุด

อักเสบต่อเนื่องในระบบการหายใจ ผลก็คือ ทำให้มีอาการเหล่านี้ แบบเรื้อรังและต่อเนื่อง เด็กที่ติดเชื้อไวรัส อาร์เอสวี ( RSV ) มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า เมื่อโตขึ้น เด็กที่เป็นแล้วมีอาการแบบหลอดลมฝอยอักเสบรักษาหายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำอีก อาจทำให้เด็กมีภาวะเกิดภูมิไวเกินที่หลอดลม แค่ติดเชื้อหวัดธรรมดาก็อาจกระตุ้นให้อาการหอบ มีเสมหะและไอมากกลับมาได้

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่รุนแรง

การรักษา

ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV) โดยตรง มีแต่การรักษาแบบประคับประคองตามอาการได้แก่ การให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม บางรายต้องให้ออกซิเจน ถ้าเสมหะมาก อาจต้องทำการเคาะปอด และดูดเสมหะออก ยาต้านการอักเสบลิวโคไตรอีน ในรูปแบบยารับประทานที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ จะช่วยลดความรุนแรงของอาการไอและหายใจหอบเหนื่อยลดลง

การป้องกันโรค

  • ยังไม่มีวัคซีน
  • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด
  • ไม่ให้เด็กเล่นคลุกคลีกับเด็กที่เป็นหวัด
  • เด็กที่อยู่ในห้องแอร์ หรือในที่อากาศเย็นให้สวมเสื้อผ้าหนา ๆ ให้ความอบอุ่นเพียงพอ
  • ล้างมือให้เด็กบ่อย ๆ การล้างมือจะช่วยกำจัดเชื้อที่ติดมากับมือทุกชนิดได้กว่าร้อยละ 80
  • หากมีเด็กป่วยในบ้านหรือที่ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่รับเลี้ยงเด็กเล็ก ให้แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ ไม่ให้คลุกคลีกันและแยกเครื่องใช้เด็กที่ป่วยออกต่างหาก
  • การป้องกันเด็กป่วยจากโรคทางเดินหายใจทุกชนิดโดยแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเด็กจะได้รับภูมิต้านทานจากแม่ผ่านทางนม เด็กก็จะไม่ป่วยง่าย

โดย พญ.ปราณี  สิตะโปสะ  กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ รพ.วิภาวดี

<