มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย และมักแสดงอาการไม่ชัดเจนในระยะแรกจนกลายเป็นภัยเงียบที่หลายคนมองข้าม หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้รักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงของโรคได้ บทความนี้จะพาไปสังเกตอาการมะเร็งต่อน้ำเหลืองตั้งแต่ระยะแรก การตรวจวินิจฉัย และทางเลือกในการรักษาตามมาตรฐาน พร้อมคำแนะนำในการป้องกันและลดความเสี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดี
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในระบบน้ำเหลืองของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน โดยประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ เช่น ม้าม ไขกระดูก ที่เต็มไปด้วยน้ำเหลืองมีหน้าที่ลำเลียงเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) และสารภูมิคุ้มกันในร่างกาย
เมื่อเม็ดเลือดขาวเกิดความผิดปกติจะกลายเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งสามารถพบก้อนแสดงอาการได้ในหลายบริเวณ เช่น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอก ช่องท้อง ลำไส้ กระเพาะ ตับ ม้าม รวมถึงทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และระบบประสาท
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถแบ่งประเภทออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมีอาการแสดงออกเบื้องต้น โดยควรสังเกตอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ดังต่อไปนี้
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่ระยะ? การแบ่งระยะของอาการมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยเริ่มจากระยะแรกจนถึงระยะที่ 4 ดังนี้
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่ทราบแน่ชัด แต่โดยทั่วไปเชื่อว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำให้เซลล์เหล่านี้เจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งและไม่ตายตามปกติ ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้แก่ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อบางชนิด การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีด้วยกันหลายประการ ได้แก่
การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีวิธีการ ขั้นตอนดังต่อไปนี้
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับชนิดของเซลล์มะเร็งและสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยในบางรายอาจได้รับการรักษาหลายวิธีควบคู่กัน หรือในบางรายอาจใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้น โดยมีแนวทางในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ดังนี้
การป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่มีวิธีการที่แน่นอน เพราะยังไม่มีงานวิจัยใดที่สามารถอธิบายสาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้อย่างชัดเจน แต่สามารถดูแลป้องกันตัวเองเบื้องต้นไม่ให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ดังนี้
หากกำลังมองหาบริการตรวจสุขภาพ รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง รวมถึงการฟื้นฟูอาการ รวมถึงมะเร็งอื่นๆ สามารถรับการรักษาด้วยบริการแบบ One Stop Service ได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดีโดยมีบริการซักประวัติ ตรวจครอบคลุมตั้งแต่ตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของเม็ดเลือด วางแผนการรักษา ไปจนถึงการดูแลระหว่างการรักษาเพื่อลดผลกระทบต่อร่างกาย ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง
โรงพยาบาลวิภาวดีมีแนวทางการวินิจฉัยที่ครบวงจร เริ่มตั้งแต่การตรวจระดับความผิดปกติของเม็ดเลือดเพื่อประเมินภาวะทั่วไป คัดกรองสัญญาณของโรค รวมถึงการตัดชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา พร้อมวางแผนการรักษาอย่างแม่นยำและตรงจุด
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่โรงพยาบาลวิภาวดี เริ่มจากการตรวจเลือดเพื่อประเมินความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดและค้นหาสัญญาณของโรค พร้อมดูแลอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการรักษา และวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลตามระดับความรุนแรงของโรค เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
ในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่โรงพยาบาลวิภาวดีมีทีมแพทย์เฉพาะทางที่ชำนาญการในการรักษาอาการมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งอื่นๆ พร้อมให้คำแนะนำ การตรวจวินิจฉัย และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลกระทบต่อร่างกายให้น้อยที่สุด
หากจะมารักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่โรงพยาบาลวิภาวดีสามารถทำการนัดหมาย รับการตรวจวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งอื่นๆ สามารถสอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-058-1111, 02-561-1111 กด 1221, 1222 โดยเปิดให้บริการวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 17:00-20:00 น.
สามารถเข้ามาติดต่อสอบถามกับโรงพยาบาลวิภาวดีโดยตรง เพื่อสอบถามบริการการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งและอาการแทรกซ้อนเพิ่มเติมได้ โดยมีแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมวางแนวทางการรักษาที่หลากหลายตามอาการและความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คือเนื้องอกที่เกิดขึ้นในระบบน้ำเหลืองของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอาการเบื้องต้นมักพบก้อนที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณต่างๆ ร่วมกับไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน และน้ำหนักลด สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่ามาจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อไวรัสบางชนิด และพันธุกรรม
ส่วนการวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจเลือด ตรวจชิ้นเนื้อ รักษาได้หลายวิธี เช่น เคมีบำบัด รังสีรักษา และภูมิคุ้มกันบำบัด ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยสามารถทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดีพร้อมด้วยโปรแกรมการรักษาโรคที่ครอบคลุม และคำวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างปลอดภัย ตรงจุด
วันนี้เราได้รวบรวมคำถาม ข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ พร้อมคำตอบเพื่อสร้างความเข้าใจในโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพื่อสุขภาพที่ดี
ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักเกิดจากก้อนมะเร็งที่กดทับหรือทำลายอวัยวะต่างๆ เช่น ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของระบบไหลเวียนเลือดหรือน้ำเหลือง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และทางเดินปัสสาวะ อาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้ หากลุกลามเข้าไขกระดูก ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ครบถ้วน ทำให้เกิดภาวะซีด เลือดออกง่าย และติดเชื้อได้ง่าย
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Mycosis Fungoides (MF) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนัง อาการมักเริ่มจากผื่นแดงนูนบนผิวหนัง บางครั้งอาจมีเป็นก้อนเนื้อหรือแผลบนผื่นราบ โดยมีหลายระยะตั้งแต่ผื่นแดงเป็นสะเก็ดจนถึงก้อนเนื้อที่อาจติดเชื้อได้ โดยส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ และเพศชายจะมีโอกาสมากกว่าเพศหญิง
ในโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ความเครียดเรื้อรังสามารถกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองเกินความจำเป็น และในบางรายอาจเกิดภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (Immune Overreaction) ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองได้
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นห้ามกินอะไรบ้าง? อาหารที่ควรเลี่ยงสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนและเพื่อสุขภาพดี ได้แก่ อาหารหมวดแป้งที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจำพวกข้าวขัดสี ขนมปัง พาสตา มักกะโรนี รวมถึงเนื้อวัว เนื้อหมูส่วนสะโพก ชีส ผลิตภัณฑ์จากนม ผักดอง ผักแปรรูป และผลไม้รสหวานจัดหรือมีน้ำตาลสูง
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved