Key Takeaway
โรคหัวใจในเด็กเป็นปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะแม้จะพบไม่บ่อยเท่าในผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยเด็กโต การทำความเข้าใจความซับซ้อนของโรคหัวใจในเด็ก ทั้งสาเหตุ อาการเตือน แนวทางการรักษา และวิธีดูแลที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเติบโตได้อย่างแข็งแรง
โรคหัวใจในเด็กเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งบางรายอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์ บางรายตรวจพบได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 1-2 เดือน ทั้งนี้อาการและความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจที่เด็กเป็น
เพื่อให้เข้าใจง่ายและช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง โรคหัวใจในเด็ก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจตรวจพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กแรกเกิด ไปจนถึงเมื่อเด็กโตขึ้น โดยสาเหตุของความผิดปกตินี้ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม ความผิดปกติทางโครโมโซม (เช่น Down’s Syndrome) การติดเชื้อของมารดาในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก (เช่น หัดเยอรมัน) โรคประจำตัวของมารดา (เช่น เบาหวาน) ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อายุของมารดา อาการเมาสุรา การใช้ยาหรือได้รับรังสีบางชนิดขณะตั้งครรภ์ รวมถึงการคลอดก่อนกำหนด
อาการของโรคหัวใจในเด็กขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรง เด็กบางรายอาจไม่แสดงอาการเลย ขณะที่บางรายอาจมีอาการรุนแรง ซึ่งสามารถแบ่งโรคหัวใจพิการในเด็กแรกเกิด ได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
โรคหัวใจในเด็กที่เกิดในภายหลังหรือโรคหัวใจในเด็กโตเป็นภาวะที่หัวใจเกิดความผิดปกติหลังจากคลอดไปแล้ว ไม่ได้เกิดจากความปกติตั้งแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากหลายจากการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกัน หรือพฤติกรรมบางอย่าง เช่น
สัญญาณเตือนโรคหัวใจในเด็กเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจอย่างใกล้ชิด เพราะหากพบอาการผิดปกติของลูกแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการและพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้
เมื่อผนังหัวใจรั่ว เลือดจึงไหลผ่านรูรั่วไปยังปอดมากกว่าปกติ ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดลดลง ทำให้เด็กมีอาการหายใจเร็วขึ้นกว่าปกติ
เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมักใช้เวลาดูดนมนานกว่าปกติ และต้องหยุดดูดบ่อยครั้ง เนื่องจากเลือดไหลผ่านรูรั่วในผนังหัวใจไปยังปอดมากเกินไป ทำให้หัวใจและปอดต้องทำงานหนักกว่าปกติ
เพราะเด็กเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจะใช้พลังงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้พลังงานที่เหลือสำหรับการเจริญเติบโตมีน้อย จึงทำให้ร่างกายเติบโตช้ากว่าเด็กทั่วไป
เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมักมีอัตราการเผาผลาญสูงกว่าปกติ จึงทำให้มีอาการเหงื่อออกมาก ตัวเย็น และซีดมากกว่าเด็กทั่วไป
หากคุณแม่ลองคลำหรือสังเกตที่หน้าอกของลูกแล้วพบว่าหัวใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าลูกมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจในเด็ก
สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนสำหรับเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว คือ ริมฝีปาก ปลายมือ และปลายเท้ามีสีเขียวคล้ำผิดปกติ
การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจในเด็กมีความสำคัญต่อการรักษาที่เหมาะสม แพทย์จะใช้วิธีการตรวจหลายรูปแบบเพื่อระบุปัญหาได้อย่างแม่นยำ เช่น
การรักษาโรคหัวใจในเด็กนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค รวมถึงอาการของเด็กแต่ละคน โดยแพทย์จะประเมินและเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยวิธีรักษาหลักๆ มีดังนี้
โรงพยาบาลวิภาวดีมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจในเด็กและทารกแรกเกิด พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทั้งในกรณีเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยทีมแพทย์จะวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้รับผลการรักษาที่ดีที่สุด
บริการครอบคลุมตั้งแต่การตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทันสมัย เช่น การอัลตราซาวด์หัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการเอกซเรย์ทรวงอก พร้อมการรักษาโดยใช้ยา การทำบอลลูน หรือการผ่าตัดหากจำเป็น
ผู้ปกครองสามารถใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพหรือชำระเงินเองได้ ทั้งนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี โทร. 02-561-1111
ส่วนนี้รวบรวมคำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหัวใจในเด็ก พร้อมคำตอบที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจมากขึ้น สามารถดูแลสุขภาพหัวใจของลูกน้อยได้อย่างถูกวิธี และช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็กที่ไม่มีอาการรุนแรงหรืออาการไม่ชัดเจน อาจสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แต่ยังคงต้องได้รับการดูแลและติดตามอาการอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจเด็ก ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องได้รับยาหรือเข้ารับการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์
ลิ้นหัวใจรั่วในเด็กเกิดจากไข้รูมาติก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสที่ไม่ได้รับการรักษา อาจเริ่มจากคออักเสบธรรมดาแต่ปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ลิ้นหัวใจเสียหายจนรั่วได้
อาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติในเด็กคือใจสั่น หัวใจเต้นแรง แม้ขณะพักผ่อนหรือหลับ โดยจังหวะเต้นไม่สม่ำเสมอ อาจรู้สึกเหมือนหัวใจหยุดเต้นเป็นพักๆ และทำให้เด็กอ่อนเพลียหรือหน้ามืดได้
โรคหัวใจในเด็กเป็นภาวะความผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตั้งแต่แรกเกิดหรือพัฒนาในภายหลัง ผู้ปกครองควรใส่ใจและสังเกตอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ตัวเขียว ริมฝีปากหรือปลายมือปลายเท้าเขียว หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็ว เพราะการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
ศูนย์หัวใจวิภาวดี โรงพยาบาลวิภาวดี พร้อมให้บริการดูแลรักษาโรคหัวใจในเด็กโดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มากประสบการณ์ ร่วมกับเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้เด็กได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved