โรคซึมเศร้าเป็นภาวะผิดปกติทางอารมณ์ที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน หลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงความเศร้าชั่วคราว แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคนี้มีความซับซ้อนทั้งด้านจิตใจและสมอง โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น ความเครียดสะสม พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง หรือประสบการณ์ชีวิตที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการดูแลหรือรักษาอย่างเหมาะสม อาการอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ความสัมพันธ์ และอาจรุนแรงจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้
การทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าเป็นก้าวแรกที่สามารถช่วยเหลือตนเองและคนรอบข้าง เพื่อสังเกตสัญญาณเตือน และเข้ารับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญให้ทันเวลาก่อนจะสายเกินไป แล้วอาการโรคซึมเศร้ามีกี่ระยะ? รักษายังไงได้บ้าง? บทความนี้มีคำตอบ
โรคซึมเศร้า (Depression) คือโรคทางอารมณ์และจิตใจที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเศร้า หดหู่ หรือหมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้เกิดจากสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเพียงชั่วคราว อาการของโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับ การรับประทานอาหาร การทำงาน การเรียน หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจไม่สามารถควบคุมความรู้สึกเศร้าได้ด้วยตนเอง ในบางรายอาจรู้สึกสิ้นหวัง รู้สึกผิดอย่างไม่มีเหตุผล หรือมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และไม่ควรมองข้ามว่าเป็นเพียงอาการอ่อนไหวหรือแค่คิดมาก เพราะโรคซึมเศร้าเป็นภาวะที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
อาการของโรคซึมเศร้าไม่ใช่เพียงความรู้สึกเศร้าชั่วคราว แต่มีลักษณะต่อเนื่องกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน โดยอาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้
หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่อง ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อประเมินและเข้ารับการดูแลอย่างเหมาะสม
โรคซึมเศร้าอาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งด้านชีวภาพ จิตใจ และสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสมดุลของสารเคมีในสมอง รวมถึงการตอบสนองทางอารมณ์ที่ผิดปกติ โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
อาการโรคซึมเศร้ามีกี่ระยะ คำตอบคือมีทั้งหมด 3 ระยะ โดยแต่ละระยะจะแสดงอาการที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรค การเข้าใจลักษณะของแต่ละระยะจะช่วยให้สามารถสังเกตอาการและรับมือได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าจะต้องดำเนินการโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาคลินิก โดยพิจารณาจากลักษณะอาการ ระยะเวลาของอาการ และผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการสังเกตเพียงผิวเผิน โดยขั้นตอนทั่วไปในการวินิจฉัยประกอบด้วยดังนี้
การได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและครบถ้วน จะเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในระยะยาวได้
การรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายแนวทางขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ และสภาพร่างกายรวมถึงจิตใจของผู้ป่วย โดยการรักษาที่แพทย์แนะนำมีดังนี้
โรงพยาบาลวิภาวดีให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของคนไทยไม่น้อยไปกว่าสุขภาพกาย พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัย ออกแบบแผนการรักษา และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอย่างครอบคลุม โดยทีมจิตแพทย์และแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมและเป็นมืออาชีพ อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลวิภาวดียังมีการดูแลรักษาโรคซึมเศร้าที่ดี ได้แก่
ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดอาจมีอาการ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี ที่อยู่ 51/3 ถ.งามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์นัดหมายได้ที่ 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 สำหรับตัวแทนประกันชีวิต สามารถติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance
โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทางจิตใจที่ไม่ควรมองข้าม มีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งสารเคมีในสมอง ความเครียด หรือประสบการณ์ชีวิตที่กระทบกระเทือนจิตใจ อาการอาจเริ่มจากความรู้สึกเศร้าเรื้อรัง เบื่อหน่าย ไปจนถึงความคิดทำร้ายตนเอง การวินิจฉัยและการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญจึงมีความสำคัญ เพราะสามารถรักษาได้ทั้งยา การบำบัดทางจิต และการดูแลตนเองจนดีขึ้น
โรงพยาบาลวิภาวดีพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคซึมเศร้าด้วยทีมจิตแพทย์และแพทย์เฉพาะทางมากประสบการณ์ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ห้องพักที่เหมาะแก่การพักฟื้น พร้อมโปรโมชันและสิทธิประโยชน์ที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด
หลายคนอาจสงสัยว่าอาการที่ตนเองหรือคนใกล้ตัวเผชิญอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าหรือไม่ รวมถึงวิธีการสังเกต อาการ และแนวทางดูแลรักษา ในหัวข้อนี้เราได้รวบรวมคำถามพร้อมคำตอบสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจโรคนี้ได้ง่ายขึ้น
สามารถสังเกตได้จากอาการเศร้าหดหู่ เบื่อหน่าย ขาดพลังงาน รู้สึกไร้ค่า ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หากอาการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอย่างถูกต้อง
โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง ซึ่งอาการจะรุนแรงขึ้นตามลำดับ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง โดยอาจใช้การรักษาด้วยยา การบำบัดทางจิต และการปรับพฤติกรรมร่วมกัน รวมถึงได้รับการสนับสนุนและกำลังใจจากครอบครัวหรือคนรอบข้าง
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved