- พัฒนาการเด็ก เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ การเข้าสังคม สมอง ตลอดจนสติปัญญาของเด็ก ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 17 ปี
- พัฒนาการเด็กมี 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ และพัฒนาการทางภาษา
- พัฒนาการเด็กแบ่งตามช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 17 ปี โดยเด็กจะพัฒนาแต่ละด้านไปเรื่อยๆ เล็กๆ น้อยๆ จนใช้งานร่างกายและความคิดได้อย่างคล่องแคล่ว
พัฒนาการเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่ควรสังเกตตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยรุ่น เพราะเปรียบเหมือนรากฐานการใช้ชีวิตในภายภาคหน้า ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของสุขภาพกาย สุขภาพใจ การเข้าสังคม หรือการเรียนรู้
การพาลูกๆ ไปคลินิกพัฒนาการเด็กจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ และยังช่วยสังเกตถึงความผิดปกติของพัฒนาการเด็กเพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที มาดูกันว่าพัฒนาการเด็กคืออะไร และคลินิกพัฒนาการเด็กมีความสำคัญอย่างไร ดังนี้
/Vibhavadi%20-%20Dec%204-02.jpg)
พัฒนาการเด็กสำคัญอย่างไร
พัฒนาการเด็ก (Child Development) คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ การเข้าสังคม สมอง ตลอดจนสติปัญญาของเด็ก โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 17 ปี ซึ่งเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การเลี้ยงดู โภชนาการ และการส่งเสริมด้านสติปัญญาจากผู้ปกครอง
พัฒนาการเด็กเปรียบเสมือนรากฐานที่แข็งแรงสำหรับอนาคตของพวกเขา ซึ่งมีความสำคัญดังนี้
- สร้างพื้นฐานการเรียนรู้เตรียมความพร้อมด้านการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
- ส่งเสริมสุขภาพกายและใจช่วยให้เด็กร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทาน และมีสุขภาพจิตดี รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้าสังคมได้อย่างมีความสุข
- พัฒนาศักยภาพการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ช่วยให้เด็กค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่
- เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเด็กที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสมและมีพัฒนาการที่ดี มีแนวโน้มที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ ปรับตัวได้ดี และมีความสุขในชีวิต
/Vibhavadi%20-%20Dec%204-03.jpg)
พัฒนาการเด็กมีกี่ด้าน
คลินิกพัฒนาการเด็กได้แบ่งพัฒนาการเด็กแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักๆ ดังนี้
1. พัฒนาการทางร่างกาย (Physical Development)
พัฒนาการเด็กทางด้านร่างกาย หรือ Physical Development คือพัฒนาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับร่างกาย ดังนี้
- ระบบประสาท ได้แก่ การมองเห็น การรับรส การได้กลิ่น การได้ยิน การรับรู้ทางด้านร่างกาย และการรับรูปอากัปกิริยา
- การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor – Adaptive Development) ได้แก่ การหยิบจับ การขีดเขียน และการปั้น
- การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development) ได้แก่ การทรงตัว การยืน การเดิน และการวิ่ง
ในช่วงเริ่มต้น พัฒนาการของเด็กทารกเริ่มจากการหันศีรษะและนั่งตัวตรง จากนั้นจึงเริ่มเอื้อมมือเพื่อหยิบจับสิ่งของได้ เมื่อเข้าสู่วัยเตาะแตะในช่วง 1-3 ปี ในระหว่างนี้เอง เด็กจะสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามสัญชาตญาณได้แล้ว
2. พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Development)
พัฒนาการเด็กทางด้านสติปัญญา (Cognitive Development) คือพัฒนาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิด การใช้เหตุผล การประมวลผล และการทำความเข้าใจสิ่งเร้ารอบตัว ตลอดจนทักษะการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจำ และทักษะการใช้ภาษา โดยพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ 2 ปี เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเร้าผ่านการเคลื่อนไหว และความรู้สึกผ่านการมอง สัมผัส ดูด และฟัง
- ระยะที่ 2เกิดขึ้นในช่วงอายุ 2-7 ปี เด็กจะเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงสัญลักษณ์ หัดใช้คำหรือรูปเพื่อเป็นตัวแทนสิ่งต่างๆ
- ระยะที่ 3เกิดขึ้นในช่วงอายุ 7-11 ปี เด็กจะเรียนรู้กระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น เริ่มมีการมองเห็นสิ่งต่างๆ จากมุมมองของบุคคลอื่น และเริ่มรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
- ระยะที่ 4เกิดขึ้นในช่วงอายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กจะเรียนรู้กระบวนการคิดอย่างมีตรรกะ รู้จักการใช้เหตุผลมากยิ่งขึ้น
3. พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ (Social and Emotional Development)
พัฒนาการเด็กทางด้านสังคมและอารมณ์ (Social and Emotional Development) คือพัฒนาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสามารถในการควบคุมอารมณ์อารมณ์ภายในจิตใจ จัดการกับอารมณ์ได้โดยไม่ต้องโวยวายหรือใช้ความรุนแรง พร้อมทั้งเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และปรับตัวตามสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างพัฒนาการเด็กทางด้านสังคมและอารมณ์ เช่น การแสดงออกผ่านสีหน้า การแสดงความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ การตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆ การเข้าหาผู้อื่น การทำตามกฎระเบียบในสังคม เป็นต้น
4. พัฒนาการทางภาษา (Language Development)
พัฒนาการเด็กทางด้านภาษา (Language Development) เป็นความสามารถในการเข้าใจและใช้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นเด็กทารกที่เข้าใจภาษาพูดตั้งแต่ตัวเองยังพูดไม่ได้ โดยสื่อสารผ่านภาษากาย เช่น การร้องไห้ การยิ้ม การหัวเราะ เป็นต้น จากนั้นเด็กจะเริ่มพัฒนาด้านภาษาผ่านการหัดพูดทีละคำ พูดเป็นวลี และพัฒนาเป็นประโยคในที่สุด
/Vibhavadi%20-%20Dec%204-04.jpg)
พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยมีอะไรบ้าง
คลินิกพัฒนาการเด็กยังแบ่งพัฒนาการเด็กตามแต่ละช่วงวัย เพื่อเป็นแนวทางการสังเกตพัฒนาการลูกน้อยให้กับเหล่าผู้ปกครอง ซึ่งแบ่งออกตามช่วงวัย ตั้งแต่พัฒนาการเด็กทารก พัฒนาการตามวัย 0-5 ปี ตลอดจนอายุ 17 ปี ดังนี้
วัยทารกแรกเกิด (ช่วงเดือนแรก)
พัฒนาการเด็กทารกแรกเกิด มีดังนี้
- ตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น มองตามสิ่งที่เคลื่อนไหว หันตามเสียงรอบตัว
- ขยับศีรษะ ผงกหัว หันซ้าย-ขวา
- มองเห็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว
- รับรู้กลิ่นรอบตัวได้เล็กน้อย
- สื่อสารผ่านการร้องไห้และการยิ้ม
วัยทารก (3-12 เดือน)
พัฒนาการเด็กทารก 3 - 12 เดือน มีดังนี้
- ควบคุมการเคลื่อนไหวศีรษะ เช่น ก้มหน้า เงยหน้า หันหน้าซ้าย-ขวา ผงกหัว
- ประสานมือเข้าด้วยกัน
- ตอบสนองเมื่อมีคนเรียกชื่อ
- นั่งได้ด้วยตัวเอง
- คลาน
- ยืนได้โดยด้วยตัวเอง
วัยเตาะแตะ (1-3 ปี)
พัฒนาการเด็กทารก 1 - 3 ปี มีดังนี้
- หัดเดินเตาะแตะได้ด้วยตัวเอง
- ขึ้นบันไดได้
- กระโดดอยู่กับที่
- หัดพูดคำ วลี หรือประโยคสั้นๆ
- กำมือ จับหรือถือดินสอได้
- วางรูปวงกลมได้
ช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่ควรตรวจคัดกรองโรคออทิสติก เพื่อวินิจฉัยพัฒนาการที่ผิดปกติ
วัยก่อนเรียน (3-5 ปี)
พัฒนาการเด็กทารก 3 - 5 ปี มีดังนี้
- เคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้น
- ขยับตัวด้วยท่าทางที่หลากหลาย เช่น กระโดด เต้น ยืนขาเดียว
- พูดได้หลายประโยคต่อกันมากขึ้น
- พร้อมฝึกเข้าห้องน้ำด้วยตัวเองได้
วัยเรียน (6-17 ปี)
พัฒนาการเด็กทารก 6 - 17 ปี มีดังนี้
- พัฒนาทางด้านร่างกายเต็มที่
- มีกระบวนการคิดเป็นระบบและมีตรรกะมากยิ่งขึ้น
- เรียนรู้การเข้าสังคมได้ด้วยตัวเอง
- มีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่หลากหลาย
คลินิกพัฒนาการเด็กมีแพทย์เฉพาะทางด้านไหนบ้าง
คลินิกพัฒนาการเด็กมีแพทย์เฉพาะทางที่หลากหลาย ตอบโจทย์กับพัฒนาการอย่างรอบด้าน ดังนี้
- กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเป็นแพทย์ที่ดูแลด้านพัฒนาการเด็กโดยตรง ประเมินและวินิจฉัยภาวะต่างๆ เช่น สมาธิสั้น ออทิสติก ปัญหาด้านการเรียนรู้
- จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นดูแลปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ภาวะอารมณ์สองขั้ว
- นักจิตวิทยาคลินิกประเมินและบำบัดปัญหาพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และพฤติกรรม
- นักแก้ไขการพูดดูแลเด็กที่มีปัญหาการพูด เช่น พูดช้า พูดไม่ชัด ติดอ่าง
- นักกิจกรรมบำบัดฝึกทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การเล่น และการเข้าสังคม
- นักกายภาพบำบัดดูแลเด็กที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง พัฒนาการการเคลื่อนไหวล่าช้า
/Vibhavadi%20-%20Dec%204-05.jpg)
คลินิกพัฒนาการเด็กที่โรงพยาบาลวิภาวดี
โรงพยาบาลวิภาวดีที่นี่มีแผนกพัฒนาศักยภาพเด็กที่ให้บริการคัดกรองและให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ผลักดันให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพพิเศษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service ครบครันในที่เดียว
ข้อมูลและบริการ
คลินิกพัฒนาการเด็กที่โรงพยาบาลวิภาวดี พร้อมให้บริการที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น
- ประเมินพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ เช่น ด้านร่างกาย สติปัญญา ภาษา อารมณ์ สังคม และพฤติกรรม
- วินิจฉัยภาวะบกพร่องทางพัฒนาการ เช่น สมาธิสั้น ออทิสติก ปัญหาด้านการเรียนรู้ ความบกพร่องทางสติปัญญา
- ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย และการปรับพฤติกรรม
- จัดโปรแกรมบำบัดรักษา เช่น กิจกรรมบำบัด แก้ไขการพูด พฤติกรรมบำบัด
- สนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
ทีมแพทย์และบุคลากร
คลินิกพัฒนาการเด็กที่โรงพยาบาลวิภาวดี พร้อมให้บริการครบถ้วน ด้วยทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น
- กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
- นักกระตุ้นพัฒนาการ
- จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
- นักจิตวิทยาคลินิก
- นักจิตวิทยา
- นักกิจกรรมบำบัด
- ครูการศึกษาพิเศษ
- ครูฝึกการพูด
ค่าใช้จ่าย
ทางโรงพยาบาลวิภาวดีมีแพ็กเกจและโปรโมชันพัฒนาการเด็ก ด้วยโปรแกรมตรวจประเมินพัฒนาการเด็กอย่างรอบด้าน ในราคา 990 - 2,790 บาท
สถานที่และเวลาให้บริการ
แผนกพัฒนาศักยภาพเด็ก เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 น. ไปจนถึง 20:00 น. ที่อาคาร 4 ชั้น 2 โรงพยาบาลวิภาวดี เข้ามารับการรักษาได้ที่ 51/3 ถ.งามวงศ์วาน จตุจักร กรุงเทพฯ หรือนัดพบแพทย์และสอบถามข้อมูล โทร 0-2058-1111 หรือ 0-2561-1111 กด 4247
สรุป
พัฒนาการเด็ก คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงทารกจนถึงวัยรุ่น ครอบคลุมด้านร่างกาย อารมณ์ การเข้าสังคม สมอง และสติปัญญา ผู้ปกครองสามารถสังเกตพัฒนาการ 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ ไปจนถึงภาษา หากพบว่าลูกมีปัญหาหรือพัฒนาการล่าช้า แนะนำควรพาเด็กพบแพทย์ที่คลินิกพัฒนาการเด็กเพื่อวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมทันที
แนะนำโรงพยาบาลวิภาวดีที่นี่มีแผนกพัฒนาศักยภาพเด็กที่ช่วยคัดกรอง พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กที่เหมาะสมตามช่วงวัย พร้อมให้บริการด้วยทีมแพทย์และบุคลากรมากประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กโดยเฉพาะ และมีโปรแกรมตรวจประเมินพัฒนาการเด็กอย่างรอบด้านในราคาที่เข้าถึงได้
FAQ
บทความนี้ได้รวบรวมเอาคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก พร้อมคำตอบจากแพทย์มาคลายข้อสงสัยเพิ่มเติม ดังนี้
เด็กพัฒนาการช้าทำอย่างไร?
หากพบว่าลูกมีพัฒนาการเด็กล่าช้า แนะนำให้รีบพาลูกมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองและหาสาเหตุ เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม รวมถึงการกระตุ้นพัฒนาการจากผู้เชี่ยวชาญเด็ก
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพัฒนาการช้า?
สังเกตว่าลูกมีพัฒนาการเด็กล่าช้า ดังนี้
- สังเกตการได้ยินหากลูกอายุ 6 เดือนแล้วยังไม่หันหน้าไปตามเสียงเรียก นั่นอาจแสดงถึงความผิดปกติของพัฒนาการ
- สังเกตการมองเห็นหากลูกมีตาเหล่เข้าหรือตาเหล่ออก ตลอดพฤติกรรมการหยิบของเล่นมาดูใกล้ๆ อาจหมายถึงการมองเห็นที่ผิดปกติได้
- สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายหากเด็กมีอาการแขนขาอ่อนปวกเปียก ยืนได้ไม่คงที่ ยืนได้ไม่นาน หรือเคลื่อนไหวลำบาก อาจมีปัญหาด้านร่างกายได้
- สังเกตการแสดงออกหากเด้กมีอาการก้าวร้าว ซน อารมณ์รุนแรงผิดปกติ หรือไม่มีสมาธิ โฟกัสไม่ได้ เด็กอาจมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ล่าช้า
ใครมีหน้าที่แก้ไขเสียงของเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา?
หากเด็กมีความบกพร่องด้านการพูดและภาษา ควรพาลูกไปพบนักแก้ไขการพูด (Speech-Language Pathologist) เพื่อทดสอบและรักษาความสามารถด้านการใช้ภาษาอย่างเหมาะสม
เด็กที่มีความบกพร่องมีกี่ประเภท?
เด็กที่มีความบกพร่อง แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่
- ความบกพร่องทางการเห็น
- ความบกพร่องทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
- ความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
- ความบกพร่องทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติก
- ความบกพร่องทางสติปัญญา
- ความบกพร่องทางการเรียนรู้