ไบโพลาร์คือโรคทางจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อันเนื่องมาจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรือเกิดจากพันธุกรรม หรือสาเหตุอื่นๆ ที่ควรทำความเข้าใจอาการและการรักษาอย่างตรงจุด บทความนี้จะมาทำความเข้าใจกับไบโพลาร์หรืออารมณ์สองขั้ว และเคล็ดลับการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างราบรื่น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องอันดีเกี่ยวกับโรคนี้
ไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) คือโรคทางจิตเวชที่มีลักษณะความผิดปกติของอารมณ์ โดยผู้ป่วยจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างสองขั้วอย่างชัดเจน ได้แก่ ช่วงอารมณ์ดีหรือคึกคักผิดปกติ (Mania) และช่วงซึมเศร้า (Depression) ซึ่งอารมณ์ทั้งสองขั้วนี้อาจเกิดขึ้นสลับกัน หรือมีช่วงอารมณ์ปกติแทรกอยู่เป็นระยะ
โดยทั่วไปคนจะมีอารมณ์ขึ้นลงในแต่ละวันเป็นเรื่องปกติ และสามารถกลับมาอยู่ในสภาวะปกติได้แต่สำหรับผู้ที่เป็นไบโพลาร์ อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและยาวนานคือมีอารมณ์ดีหรือซึมเศร้าติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยไม่สามารถควบคุมหรือกลับสู่อารมณ์ปกติได้ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ความสัมพันธ์กับครอบครัวและผู้อื่น
วิธีสังเกตอาการไบโพลาร์เบื้องต้น จะมีอาการแบ่งออกเป็นช่วงๆ ในบางคนอาจมีอารมณ์คึกคักก่อน ค่อยมีอาการแบบซึมเศร้าตามมา อาจมีอาการปกติสลับกันไป ดังนี้
โรคไบโพลาร์เป็นอาการทางสุขภาพจิตมีกี่ระยะ? โดยไบโพลาร์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
ไบโพลาร์ประเภทนี้คือจะมีภาวะอารมณ์ดี หรือก้าวร้าวแบบสุดโต่ง หรือควบคุมตัวเองไม่ได้ และจะสลับกับช่วงที่มีอาการซึมเศร้าแบบรุนแรง ในบางกรณีอาการของโรคไบโพลาร์อาจคล้ายกับโรคจิตเภทบางประเภท ทำให้การวินิจฉัยเป็นเรื่องยาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องพิจารณาและแยกแยะอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า ร่วมกับกลุ่มอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวหรือกระฉับกระเฉงแบบไม่รุนแรง (Hypomania) แล้วโรคไบโพลาร์ประเภทนี้อันตรายไหม? ในประเภทนี้จะไม่มีภาวะ Mania ที่รุนแรงสุดโต่งเหมือนประเภทที่ 1 ช่วงอารมณ์แปรปรวนอาจเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น เช่น เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน ก่อนกลับสู่ภาวะปกติ
ไบโพลาร์ประเภทนี้คือภาวะอารมณ์แปรปรวนแบบเรื้อรังหรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วแบบไซโคลไทมิก (Cyclothymic) เป็นอาการอารมณ์ดีแบบไม่รุนแรงกับมีอาการซึมเศร้าแบบไม่รุนแรง ซึ่งเป็นลักษณะอารมณ์ที่ไม่คงที่และเรื้อรัง ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี โดยอาการในแต่ละช่วงจะเกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ และไม่ถึงระดับรุนแรงของอาการอารมณ์ดีผิดปกติกับซึมเศร้าเต็มรูปแบบ
กลุ่มนี้จะมีอาการคล้ายไบโพลาร์แต่ไม่เกณฑ์วินิจฉัยของ Bipolar I, Bipolar II หรือ Cyclothymic Disorder โดยมีสาเหตุคือเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ผลข้างเคียงจากสารเสพติด โรคทางระบบประสาท หรือโรคทางกายอื่นๆ ในบางกรณีไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่ามาจากปัจจัยอะไร
ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดของโรคไบโพลาร์ได้ว่าสาเหตุคืออะไรบ้าง แต่คาดว่าไบโพลาร์อาจเกิดจากสาเหตุหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่
ในการวินิจฉัยโรคไบโพลาร์สามารถใช้เกณฑ์วินิจฉัยทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ โดยสิ่งสำคัญคือการสังเกตและรวบรวมอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงคนใกล้ชิดต้องตระหนักยอมรับในความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พร้อมเปิดใจขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในการวินิจฉัยมักมีขั้นตอนดังนี้
กระบวนการรักษาโรคไบโพลาร์เป็นการรักษาโรคร่วมกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยา ทีมสหวิชาชีพ และครอบครัว โดยหลักการรักษาคือใช้ทั้งยาและทำจิตบำบัดควบคู่กัน เพื่อควบคุมอารมณ์ให้คงที่และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้
การรักษาไบโพลาร์ด้วยยาคือเป็นการปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมองและควบคุมอารมณ์ โดยแพทย์อาจสั่งยากลุ่มควบคุมอารมณ์ เช่น ลิเทียม (Lithium) ยารักษาอาการชัก (Anticonvulsants) ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) และยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) ทางผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ และไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้อาการกำเริบขึ้นหรือรุนแรงขึ้นได้
กระบวนการรักษาไบโพลาร์ การพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคือการช่วยวิเคราะห์สภาพจิตใจและสาเหตุของปัญหา พร้อมพัฒนาทักษะการรับมือกับความเครียดและอุปสรรคในชีวิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจและลดความทุกข์
การรักษาอาการไบโพลาร์รูปแบบนี้คือการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการดำเนินชีวิต (Interpersonal and Social Rhythm Therapy: IPSRT) จะเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและกิจวัตรประจำวันที่สม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาความสมดุลของอารมณ์และลดความแปรปรวนของอารมณ์ในชีวิตประจำวัน
วิธีการรักษาไบโพลาร์ด้วยโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา คือการรักษาอาการไบโพลาร์ในรูปแบบให้ความรู้กับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และการรักษาโรคไบโพลาร์เบื้องต้น เพื่อให้สามารถจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมได้ดีขึ้น และยังช่วยให้มีทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมเป็นไปอย่างราบรื่น
กระบวนการรักษาไบโพลาร์รูปแบบนี้คือการให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทในการบำบัด เพื่อลดความตึงเครียดในครอบครัว และนำไปสู่การเรียนรู้วิธีการรับมือกับไบโพลาร์และการปรับตัวอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยไบโพลาร์ เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้
กระบวนการรักษาไบโพลาร์วิธีนี้คือการเน้นไปที่ปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเชิงลบที่ส่งผลต่อโรคไบโพลาร์ พร้อมทั้งการฝึกการคิดเชิงบวกเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมและจัดการอารมณ์ของโรคได้ดีขึ้น ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น รวมถึงในด้านพฤติกรรมให้เป็นไปในทางบวกมากขึ้น
กระบวนการรักษาไบโพลาร์วิธีนี้คือการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy: ETC) เพื่อกระตุ้นสมอง โดยวิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือต้องการรักษาแบบเร่งด่วนเพื่อป้องกันอันตราย เช่น กรณีที่ผู้ป่วยมีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือมีแนวโน้มจะทำร้าย เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
การรักษาไบโพลาร์ด้วยคีตามีน (Ketamine treatment) คือการรักษาโดยยาคีตามีนปริมาณต่ำผ่านทางหลอดเลือดดำ (Intravenous: IV) ซึ่งเป็นยาที่ได้รับการพิสูจน์พบว่ายาคีตามีนมีฤทธิ์ในการต่อต้านและบรรเทาอาการไบโพลาร์ชนิดซึมเศร้ารุนแรงและเฉียบพลัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย
ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมนอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคไบโพลาร์ หากแพทย์วินิจฉัยพบความผิดปกติ การรักษาก็คือการให้ยาเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนร่วมด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่ายาปรับสมดุลฮอร์โมนนั้นให้ผลลัพธ์ในเชิงบวก ในการช่วยลดอาการของโรคไบโพลาร์ได้ดี
สำหรับการป้องกันโรคไบโพลาร์ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดสามารถรักษาโรคไบโพลาร์ได้สมบูรณ์ แต่สามารถลดความเสี่ยงและช่วยควบคุมอาการไบโพลาร์ได้ ด้วยการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีแนวทางในการป้องกันเบื้องต้น ดังนี้
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองมีอาการของโรคไบโพลาร์ หรือมีความเครียดสะสมที่ต้องการการวินิจฉัยและรักษาเบื้องต้นอย่างตรงจุดโรงพยาบาลวิภาวดีพร้อมให้บริการด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง ครอบคลุมตั้งแต่การพูดคุยสอบถามหาสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิต ไปจนถึงการตรวจและรักษาด้วยยาจนกว่าผู้ป่วยจะดีขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ป่วย ดังนี้
สามารถเข้ารับการตรวจรักษาจิตเวชได้ที่ โรงพยาบาลวิภาวดี ที่อยู่ 51/3 ถ.งามวงศ์วาน จตุจักร กรุงเทพฯ หรือโทรนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 สำหรับตัวแทนประกันชีวิต สามารถติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance
ไบโพลาร์คือภาวะอารมณ์แปรปรวนระหว่างช่วงอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania) กับช่วงซึมเศร้าอย่างรุนแรง (Depression) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้อื่น การวินิจฉัยอาการไบโพลาร์เบื้องต้นต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และประเมินอาการทางจิตเวชอย่างละเอียด
การรักษาหลักคือการใช้ยาเพื่อปรับสมดุลของสารสื่อประสาทควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัดและการสนับสนุนจากครอบครัว ส่วนการป้องกันเน้นไปที่การสังเกตอารมณ์ของตนเอง หลีกเลี่ยงสารเสพติด รับประทานยาอย่างเคร่งครัด ออกกำลังกาย และจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม หากมีอาการคึกคักผิดปกติสลับกับซึมเศร้า ไม่คงที่ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันโรงพยาบาลวิภาวดีพร้อมให้คำปรึกษา พูดคุยสอบถาม การตรวจและรักษาทางยา พร้อมติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพจิตกลับมาดีขึ้น
โรคไบโพลาร์คืออาการทางจิตเวชที่มักเข้าใจผิดอยู่เสมอ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยพร้อมคำตอบที่จะช่วยไขข้อสงสัยของคุณให้เข้าใจโรคไบโพลาร์มากขึ้น
ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์มักมีความผิดปกติทางอารมณ์มี 2 ระยะ โดยจะสลับระหว่างช่วงที่มีอาการซึมเศร้า (Depression) กับช่วงที่อารมณ์ดีผิดปกติ หรือมีพลังมากเกินไป (Mania)
ภาวะแทรกซ้อนที่มาจากโรคไบโพลาร์ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้ อาการปวดศีรษะเรื้อรัง มีน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วน ภาวะสมาธิสั้นที่อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ความวิตกกังวลหรือโรควิตกกังวลร่วม ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างแย่ลง ทั้งในครอบครัว ที่ทำงาน และในสังคม รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ คือ การใช้จ่ายเกินตัว การกระทำผิดกฎหมาย
ซึมเศร้ากับไบโพลาร์เป็นคนละโรคกัน และสามารถแยกความแตกต่างได้ที่ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ในไบโพลาร์จะมีการสลับอารมณ์ไปมาระหว่างซึมเศร้าและอารมณ์ดีผิดปกติ ส่วนซึมเศร้าจะไม่มีการสลับอารมณ์ไปมา จะอยู่ในภาวะซึมเศร้าต่อเนื่อง
ไบโพลาร์คือภาวะที่สามารถรักษาให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้แต่ไม่หายขาด โดยอาการสามารถควบคุมได้ถ้าได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ในบางกรณีที่มีอาการเกิดขึ้นซ้ำบ่อยๆ หรือเคยมีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาเป็นระยะยาว เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาอีก และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาสมดุลทางอารมณ์ได้อย่างมั่นคง
สำหรับการพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นไบโพลาร์อย่างเข้าใจและเหมาะสมสามารถทำได้ด้วยการบอกว่าคุณอยู่เคียงข้าง เพราะผู้ป่วยไบโพลาร์มักเผชิญกับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว หากมีคนคอยช่วยรับฟัง เตือนเรื่องยา และอย่ากลัวที่จะถามเกี่ยวกับอาการไบโพลาร์ เพราะการพูดคุยจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ทบทวนตัวเองเบื้องต้น
ตัวอย่างเช่น “ช่วงเวลาไหนที่เธอมีอารมณ์เศร้า และเธอจัดการอารมณ์อย่างไร” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและยังเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้ทบทวนตัวเองอีกด้วย นอกจากนี้การรักษาไบโพลาร์ที่ดีที่สุดและสร้างความเข้าใจต่อกันคือการพาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved