ในช่วงการระบาดของCOVID-19 ปกป้องปอดเต็มที่แล้วหรือยัง ? #ลืมอะไรไปหรือเปล่า ?

 ลืมอะไรก็ลืมได้…แต่จะลืมฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบไม่ได้!!!!

 เพราะวัคซีนป้องกัน “โรคปอดอักเสบเป็นอีกหนึ่งวัคซีนสำคัญ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 (1)

โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น “โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส
- เสี่ยงด้วยอายุ : เป็นผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (2)

- เสี่ยงด้วยโรคประจำตัว (3)  : เป็นผู้มีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ. โรคตับ, โรคไต, โรคปอด, โรคมะเร็ง เป็นต้น

- เสี่ยงด้วยพฤติกรรม (3) : เป็นผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ หรือมีโรคพิษสุราเรื้อรัง

โดยผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส มักมีอาการ (4)  ปวดหัว, เจ็บคอ, ไข้สูง, หนาวสั่น, หอบ, หายใจลำบาก, ไอมีเสมหะ และสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านการไอ และจาม

ความรุนแรงของ “โรคปอดอักเสบ” จากเชื้อนิวโมคอคคัส

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานถึง 12 วัน อาจต้องมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือพักฟื้นในห้อง ICU มากถึง 10 วัน (5) โดยผู้ป่วยสูงอายุ มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือด และมีโอกาสเสียชีวิตถึง 23% (6)  เสี่ยงทำไม? ในเมื่อป้องกันได้ด้วยวัคซีน

วิธีป้องกัน “โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส คือ

การล้างมือให้สะอาด, สวมหน้ากากอนามัย, หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด  และที่สำคัญ! ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับวัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ เว้นระยะห่าง1 ปี แล้วฉีดวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ (7) ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง มีคำแนะนำการฉีดวัคซีนที่อาจแตกต่างจากคนทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนรับวัคซีน

ในช่วงการระบาดของCOVID-19 ปกป้องปอดเต็มที่แล้วหรือยัง ?

#ลืมอะไรไปหรือเปล่า ?

COVID-19 ไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดปอดอักเสบในผู้ใหญ่ได้บ่อยได้แก่ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส(1)  เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคออยู่แล้ว(2) เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือมีการติดเชื้อไวรัส จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อนิวโมคอคคัสนี้แพร่กระจายไปที่ปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ(3)     เราจึงพบการติดเชื้อนิวโมคอคคัสร่วมกับโควิด-19 และ ไข้หวัดใหญ่ได้(4,5)

#องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสและวัคซีนไข้หวัดใหญ่  เช่นเดียวกับวัคซีนโควิด-19 ในช่วงวิกฤต COVID-19 (6)

คำแนะนำการฉีดวัคซีน สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ (7)

- วัคซีนปอดอักเสบ: ฉีดวัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ก่อน เว้นระยะห่าง1 ปี แล้วฉีดวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์

- วัคซีนไข้หวัดใหญ่: ฉีดปีละ 1 เข็ม

- วัคซีนปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดในวันเดียวกันได้ (8)

ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง มีคำแนะนำการฉีดวัคซีนที่อาจแตกต่างจากคนทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนรับวัคซีน

หากมีนัดฉีดวัคซีนโควิด-19 เร็วๆนี้ จะสามารถฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่

   - ได้ ควรฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ก่อนวันนัดวัคซีนโควิดอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ (9)

หากฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว จะสามารถฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่

- ได้ สามารถฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ห่างจากวัคซีนโควิด 2-4 สัปดาห์ (9)

ลดความสับสน! ลดการแพร่กระจายเชื้อ!

สร้างภูมิคุ้มกันให้ครบถ้วน ในช่วงวิกฤติโควิด-19

2 เชื้อร้ายคล้ายโควิด ที่ไม่ควรมองข้าม #ฉันติดยังนะ

ทั้งเชื้อนิวโมคอคคัสและไข้หวัดใหญ่ ก็ทำให้เรามีอาการไข้ ไอ หอบ หายใจลำบาก และรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้เช่นเดียวกับโควิด-19  อีกทั้งกลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อยังเป็นกลุ่มเดียวกันคือ

-ผู้สูงอายุ
-ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอด โรคมะเร็ง

อย่าให้คนที่เรารักต้องเสี่ยงกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส, COVID-19, ไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อร่วมกันได้จริงหรือ?

ยกการ์ดด้วยวัคซีนปอดบวม ป้องกันติดเชื้อร่วมโควิด19

เชื้อนิวโมคอคคัสที่เป็นสาเหตุหลักของปอดบวมหรือปอดอักเสบ (1) มีโอกาสติดเชื้อร่วมกับ COVID-19 และ ไข้หวัดใหญ่ได้ในช่วงวิกฤติ COVID-19 นี้

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส รุนแรงหรือไม่?

โควิดทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง นิวโมคอคคัสก็เช่นกัน

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว (1) ผู้ป่วยมักมีอาการ ไข้ ไอ หอบ หายใจลำบาก เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาตัวที่บ้านเหมือนไข้หวัดทั่วไป

จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในรพ.นานเป็นสัปดาห์ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือนอนห้อง ICU บางรายมีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูง  

 

 

<