โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคอ้วน

โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคอ้วน

 

            การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของประเทศไทยแตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก เมื่อก่อนซื้อของในตลาด ปัจจุบันซื้ออาหารสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อปัญหาสุขภาพที่ตามมาจึงพบมากขึ้นได้แก่ ภาวะอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ปัญหาโรคอ้วนพบในหลายประเทศทั่วโลก จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า อัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น เท่าตัว หลังปีพ.ศ. 2518 ประชากรโลกอายุมากกว่า18 ปีขึ้นไป เป็นโรคอ้วนถึง 650 ล้านคน

            จะเห็นได้ว่าการเกิดภาวะโรคอ้วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น และยังพบว่าธุรกิจลดความอ้วนในไทยได้รับความนิยม เช่น คลินิกลดความอ้วน การโฆษณาต่างๆ การกินยาลดน้ำหนัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเมื่อเราอ้วน เราควรที่จะจำกัดการรับประทานอาหารหรือลดการบริโภคอาหาร บวกกับการออกกำลังกาย หากไม่ตั้งใจจริง ขาดความอดทน ไม่ปฏิบัติต่อเนื่องก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

            คำว่า อ้วนมี ความหมาย คือ น้ำหนักเกินหรือท้วม(Overweight) กับ โรคอ้วน(Obesity) โดยคำนวณจากค่าดัชชีมวลกาย (BMI) โรคอ้วน  BMI > 30 กิโลกรัมตารางเมตร (เกณฑ์องค์การอนามัยโลก)

            น้ำหนักเกินหรือท้วม หมายถึง ค่า BMI > 25 กิโลกรัมตารางเมตร

            การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index)

             BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม)

                           ความสูง (เมตร)²

            สาเหตุหลักของความอ้วน

1.พันธุกรรม

2.การทำงานผิดปกติของต่อมไร้ท่อ

3.พฤติกรรมการกิน

4.ขาดการออกกำลังกาย

5.สาเหตุอื่น เช่น สภาพแวดล้อม

 การวัดเส้นรอบเอว

               ผู้ชาย เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 36 นิ้ว (90 ซ.ม.)

               ผู้หญิง เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 32 นิ้ว (80 ซ.ม.)

รูปร่างอ้วนมี รูปแบบ คือ Apple Shape และ Pear Shape

              รูปร่าง แอปเปิ้ลเชฟ จะมีไขมันบริเวณหน้าท้องมากกว่าสะโพก

              รูปร่าง แพร์เชฟ จะมีช่วงไหล่ และเอวที่เล็กกว่าสะโพก

การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร

  1. รับประทานอาหารให้ครบ หมู่ เป็นอาหารกลุ่มไขมันต่ำ
  2. น้ำหนักค่อย ๆ ลดลงสม่ำเสมอ
  3. อาหารเผ็ดโดยเฉพาะพริก สามารถช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญได้
  4. ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหลังเวลา18:00 น.
  5. ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. รับประทานอาหาร ควรเคี้ยวอาหารช้า ๆ
  7. อย่านอนดึก
  8. กำหนดพลังงานควรลดวันละ 300-500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
  9. รับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ควรงดไขมัน
  10. เพิ่มการออกกำลังกาย
  11. หลีกเลี่ยงขนมหวาน ผลไม้ที่มีแป้งมาก เช่น ทุเรียน อาหารทอด อาหารมันมากๆ  เพิ่มการรับประทานใยอาหาร ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  12. จำกัดการรับประทานอาหารกลุ่มข้าว แป้ง รับประทาน ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และจัดสัดส่วนให้เหมาะสม
<