การตรวจพิเศษสำหรับโรคทางเดินอาหาร

การตรวจพิเศษสำหรับโรคทางเดินอาหาร

ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นในด้านการรักษา
1. เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
2. สำหรับการใส่ esophageal or duodenal stent เพื่อการรักษาแบบประคับประคองในภาวะหลอดอาหารหรือลำไส้เล็กตีบ
3. สำหรับทำผ่าตัดเย็บหูรูดผ่านกล้อง ( Endoscopic fundoplication) เพื่อรักษาภาวะกรดไหลย้อนในผู้ป่วยบางราย
4. สำหรับการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับอาหารทางปากได้( Percutaneous endoscopic gastrostomy and jejunostomy)
5. เพื่อทำการขยายส่วนตีบของทางเดินอาหารส่วนบน เช่น หลอดอาหาร, ช่วงรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก( Pylorus)

การตรวจพิเศษสำหรับโรคทางเดินอาหาร,ตับและทางเดินน้ำดีที่พบบ่อย
                                                                   
          การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น  ( Esophagogastroduodenoscopy)


ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นในด้านการวินิจฉัย

1. อาการปวดท้องด้านบนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามอาการ 
2. ผู้ที่มีอาการปวดท้องด้านบน( โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี) ร่วมกับมีสัญญานอันตราย ( alarm symptoms) ได้แก่ กลืนลำบาก, ถ่ายดำ, โลหิตจาง, น้ำหนักลดโดยไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้, อาเจียนต่อเนื่อง
3. มีอาการกลืนลำบากหรือกลืนเจ็บ
4. กลุ่มอาการกรดไหลย้อนที่เป็นอยู่นานและไม่ตอบสนองต่อการรักษา
5. เพื่อตรวจยืนยันกรณีพบความผิดปกติจากการตรวจด้วยภาพถ่ายทางรังสีที่สงสัยว่าเป็นเนื้องอก, แผล,มีการตีบหรือตัน ในกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
6. เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน
7. เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุภาวะโลหิตจางที่มีหลักฐานว่ามีการเสียเลือดจากทางเดินอาหาร เช่นการตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระ
8. เพื่อดูดเอาน้ำย่อยในลำไส้เล็กหรือนำชิ้นเนื้อจากผิวลำไส้เล็ก มาตรวจหาสาเหตุโดยเฉพาะในผู้ป่วยท้องเสียเรื้อรังบางราย
9. เป็นการตรวจคัดกรองหาเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร สำหรับผู้ป่วยตับแข็ง
10. ตรวจติดตามการหายของแผลในกระเพาะอาหารหลังการรักษา

ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นในด้านการรักษา
1. เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
2. สำหรับการใส่ esophageal or duodenal stent เพื่อการรักษาแบบประคับประคองในภาวะหลอดอาหารหรือลำไส้เล็กตีบ
3. สำหรับทำผ่าตัดเย็บหูรูดผ่านกล้อง ( Endoscopic fundoplication) เพื่อรักษาภาวะกรดไหลย้อนในผู้ป่วยบางราย
4. สำหรับการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับอาหารทางปากได้( Percutaneous endoscopic gastrostomy and jejunostomy)
5. เพื่อทำการขยายส่วนตีบของทางเดินอาหารส่วนบน เช่น หลอดอาหาร, ช่วงรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก( Pylorus)

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่( Colonoscopy) 
          ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในด้านการวินิจฉัย
1. เพื่อตรวจยืนยันกรณีพบความผิดปกติจากการตรวจด้วยภาพถ่ายทางรังสีที่สงสัยว่าเป็นเนื้องอก, แผล, มีการตีบในลำไส้ใหญ่
2. เพื่อตรวจหาสาเหตุของเลือดออกในทางเดินอาหารในกรณีต่อไปนี้
    - ถ่ายเป็นเลือดสด ที่ไม่มีสาเหตุชัดเจนจากบริเวณทวารและไส้ตรง
    - ถ่ายดำ ในกรณีที่ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นไม่พบความผิดปกติ
    - พบเลือดแฝงในอุจจาระในกลุ่มเสี่ยง
3. ตรวจหาสาเหตุของโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
4. ตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่ในกรณีต่างๆ เช่น
    - ในกรณีพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ตำแหน่งอื่นแล้วต้องทำการตรวจหาในบริเวณที่ยังตรวจไปไม่ถึง
   - ใช้ตรวจติดตามหลังผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว เพื่อดูการกลับเป็นช้ำ
   -  ในกลุ่มเสี่ยง
   - ผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบชนิด Ulcerative colitis หรือ Crohn's  
5. ผู้ป่วยท้องเสียเรื้อรัง ที่การตรวจเบื้องต้นยังไม่พบสาเหตุ

ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในด้านการรักษา
1. รักษาภาวะเลือดออกจากลำไส้ใหญ่บางสาเหตุ
2. สำหรับการใส่ colonic stent ในกรณีลำไส้ใหญ่ตีบจากมะเร็ง
3. เพื่อทำการขยายส่วนตีบของลำไส้ใหญ่
4. สำหรับตัดติ่งเนื้อที่ผนังลำไส้ใหญ่( Polypectomy) หรือตัดผิวลำไส้ใหญ่ในกรณีที่เป็นมะเร็งระยะต้น( endoscopic mucosal resection)
5. สำหรับแก้ไขภาวะลำไส้อุดตันในบางกรณี เช่น colonic volvulus

อัลตราซาวด์( Ultrasonography)
          เป็นการตรวจด้วยการใช้คลื่นเสียง สามารถใช้ตรวจอวัยวะในช่องท้องเพื่อหาความผิดปกติต่างๆ เช่น 
ตรวจตับ เพื่อหาเนื้องอก, ฝี, ซีสต์, ไขมันพอกตับ, ตับแข็ง, ตับโต
ตรวจถุงน้ำดีและท่อน้ำดี เพื่อหานิ่ว, เนื้องอก, การบวมของถุงน้ำดี, การอุดตัน
ตรวจตับอ่อน( มักเห็นได้ชัดเฉพาะในคนผอม) เพื่อหา เนื้องอก, ตับอ่อนอักเสบ, การโป่งของท่อตับอ่อน
ตรวจม้าม เพื่อหา ม้ามโต, ใช้ตรวจหาความผิดปกติของม้ามเมื่อมีอุบัติเหตุช่องท้อง
ตรวจต่อมหมวกไต( เห็นได้ไม่ดีนัก) เพื่อหาก้อนที่ต่อมหมวกไต
ตรวจในช่องท้อง เพื่อดู ท้องมานน้ำ
ตรวจท้องน้อย เพื่อดู ลำไส้กลืนกัน, ไส้ติ่งอักเสบ( ในผู้ป่วยบางราย), ฝี, ต่อมลูกหมาก( ในผู้ชาย), มดลูกและรังไข่( ในผู้หญิง), กระเพาะปัสสาวะ

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์( CT Scan)
          เป็นการตรวจด้วยรังสีเอ็กซ์ มักต้องกลืนสารทึบรังสีหากต้องการดูภายในลำไส้หรือกระเพาะอาหาร
ใช้ตรวจหาอวัยวะต่างๆในช่องท้องเหมือนในอัลตราซาวด์แต่ให้รายละเอียดมากกว่า และมีข้อห้ามและข้อควรระวังมากกว่า, ราคาแพงกว่า

เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( M.R.I.)
            เป็นการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีข้อด้อยและข้อดีกว่าเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ในบางโรคเท่านั้น


                                                                             นพ.สมบัติ วงศ์วิเศษกาญจน์
                                                                อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.วิภาวดี