โรคปอดบวม

โรคปอดบวม เด็กๆ กว่า 900,000 คนทั่วโลก จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคปอดบวม ซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้ ข้อมูลปี พ.ศ.2558

 

 โรคปอดบวม 
เด็กๆ กว่า 900,000 คนทั่วโลก จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคปอดบวม ซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้ ข้อมูลปี พ.ศ.2558

โรคติดเชื้อ ที่คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มากที่สุด*

·       โรคปอดบวม                  16%

·       โรคมาลาเรีย                   6%

·       โรคไข้สมองอักเสบ          2%

·       โรคเอดส์/ เอชไอวี            2%

โรคปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อ ‘สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี’ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคปอดบวม และยังเป็นเชื้ออันตรายที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรครุนแรงอย่างโรค ไอ พี ดี ได้อีกด้วย

            โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเรื่องเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

อาการและการป้องกันโรคปอดบวม

สังเกตอาการ2

·       ไข้

·       ไอ

·       หนาวสั่น

·       เจ็บหน้าอก

·       หายใจลำบาก

            อาการของโรคปอดบวม

คือมีอาการไข้มากกว่า 3 วัน ไอนานและรุนแรง เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย ในรายที่มีอาการรุนแรง จะเป็นหนองในเยื่อหุ้มปอด เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

            การป้องกัน

·       ให้ทารกดื่มนมแม่ในช่วงหกเดือนแรก

·       ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม

·       ล้างมือให้สะอาด

·       รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปอดบวม โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม

วิธีง่ายๆ แนะนำให้ครอบครัวของเด็กๆ รู้จักถึงสัญญาณอันตรายของโรคปอดบวม และเร่งพบแพทย์หากเกิดอาการ

คุณอาจเสี่ยง เป็นโรคปอดบวม จากเชื้อนิวโมคอคคัส

ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อหรือมากกว่านั้น

·       อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี

·       เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต

·       โรคหอบหืด

·       เบาหวาน

·       ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ

·       ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

·       โรคมะเร็ง

·       ภาวะม้ามไม่ทำงานหรือไม่มีม้าม

·       ใส่ชุดประสาทหูเทียม

·       น้ำไขสันหลังรั่ว

·       สูบบุหรี่

·       โรคพิษสุราเรื้อรัง

โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเรื่องเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

      ด้วยความปรารถนาดี รพ.วิภาวดี

เอกสารอ้างอิง

1Centers for Disease Control and Prevention[Internet]. Pneumococcal Diseas/Transmission and Those at High Risk; 2013. [cited2015 June 6] Available from: http://www.cdc.gov/pneumoccol/about/risk-transmission.html

<