กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)


              โรคกล้ามเนื้อหัวใจตามเฉียบพลัน คือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด
สาเหตุของโรค
              เกิดจากการที่ก้อนไขมันในเส้นเลือดหัวใจเกิดการปริแตกออก ทำให้เกิดการจับตัวกันของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้


อาการของโรค
              เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ อาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออกและมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นนานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป


ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
1. เพศชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เพศหญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
2. การสูบบุหรี่
3. ภาวะไขมันในเลือดสูง
4. ความดันโลหิตสูง
5. โรคเบาหวาน
6. อ้วน


การรักษา
1. การให้ออกซิเจน
2. การให้ยาแก้ปวด
3. การให้ยาขยายหลอดเลือด
4. การให้ยาต้านเกร็ดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด
5. การรักษาอย่างอื่น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปโดยทั่วไป ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสัญญาณชีพจร และควรจะได้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่ตลอดเวลา ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ให้อมยาไนโตรกลีเซอรีน หรือไนเตรตใต้ลิ้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบมาโรงพยาบาล


วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค
1. หยุดสูบบุหรี่
2. ควบคุมโรคความดันโลหิตสูง
3. ถ้าเป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี
4. ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสม โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลต่ำ งดอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และกะทิ
5. ปรับปริมาณแคลอรี่ในอาหารให้พอดี เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับความสูง
6. ออกกำลังกายพอประมาณทุกวัน หรืออย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์


          ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

<