ยาในผู้สูงอายุ

ยาในผู้สูงอายุ

          ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ยามากกว่าประชากรวัยอื่น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนั้น มักมีโรคเรื้อรัง ทำให้มีโอกาสรักษากับแพทย์
หลายคนและพบว่าร้อยละ90ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีใช้ยาอย่างน้อย 1ชนิดต่อสัปดาห์ และจำนวนยาที่ใช้สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ปฏิกิริยาระหว่างยา และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น การใช้ยาในผู้สูงอายุทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ง่ายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามวัย อาทิ การดูดซึมและการกำจัดยาออกจากร่างกายทำได้ลดลง นอกจากนั้นผู้สูงอายุซึ่งมีปัญหาด้านสายตาและความจำยังมีความเสียงที่จะใช้ยาผิดได้มากอีกด้วย

กลุ่มยานี้มีความเสี่ยงสูง  
- กลุ่มยานอนหลับและยากล่อมประสาท
- กลุ่มยาต้านซึมเศร้า
- กลุ่มยาแก้ปวดลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ZSAIDAs)
- กลุ่มยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
- กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ
- กลุ่มยาต้านเกร็ดเลือด
- กลุ่มยาแก้อาเจียน
- กลุ่มยาลดแพ้ Anti-histamine

กลุ่มยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ  
1. กลุ่มยารักษาโรคประจำตัว อาทิ ยาลดความดันโลหิต ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ยารักษาโรคหัวใจ
2. กลุ่มยานอนหลับและคลายกังวล
3. กลุ่มยาแก้ปวดและคลายกล้ามเนื้อ
4. กลุ่มยาวิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ 
* การได้ยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ทำให้ยามีปฏิกิริยาต่อกันหรือยาตีกัน ซึ่งเกิดจากยาชนิดหนึ่งไปมีผลแทรกแซงยาอีกชนิดหนึ่ง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าได้รับยาลดความดันโลหิตชนิดขับปัสสาวะจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 
ทำให้การรักษาโรคเบาหวานไม่ได้ผล หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่เป็นประจำและชอบรับประทานใบแปะก๊วยเป็นอาหารเสริม จะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย
* การเปลี่ยนแปลงทางเสรีรวิทยาในการออกฤทธิ์และกำจัดยาออกฤทธิ์และกำจัดยาออกจากร่างกาย
* พฤติกรรมของผู้ป่วยสูงอายุ
- การซื้อยารับประทานเอง ในประเทศไทยการซื้อยาตามร้านขายยาทำได้สะดวก ผู้สูงอายุจำนวนมากมักซื้อยาชุดหรือยาแฝงมาในรูปยาลูกหลอนมารับประทาน เช่น ผู้ที่มีปัญหาปวดตามข้อโดยมักเข้าใจว่าปลอดภัยเพราะผลิตจากสมุนไพร แต่มักมีการผสมยากลุ่มสเตียรอยด์ จึงส่งผลเสียในระยะยาว เช่น กระดูกพรุน ต่อมหมวกไตฝ่อ และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
* ขาดการติดตามการรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุจำนวนมากมักไม่ชอบมาพบแพทย์เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น กลัวรบกวนคนใกล้ชิด กลัวเสียเวลาและค่าใช้จ่าย การคมนาคมไม่สะดวก จึงพบได้บ่อยกว่าญาติมาขอรับยาเดิมจากแพทย์โดยไม่พาผู้ป่วยมาติดตามการรักษากับแพทย์
* การไม่รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยหลายรายมักใช้ยาผิดพลาดเนื่องจากสาเหตุต่างๆเช่น
- การใช้ยายุ่งยาก ผู้ป่วยไม่เข้าใจวิธีการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น รับประทานวันละหลายครั้ง
- ผู้ป่วยหยุดยาเองโดยไม่แจ้งแพทย์เพราะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
- สายตาไม่ดี หลงลืม ฉลากยาที่เขียนไม่ชัดเจนจึงรับประทานยาผิด
- ทัศนคติของผู้ป่วยต่อยา เช่น รับประทานยามากๆจะทำให้ตับและไตวาย จึงหยุดใช้ยาไปเอง หรือบางรายคิดว่าควรเพิ่มปริมาณการใช้ยาเพื่อจะได้หายจากโรคโดยเร็ว
* การเก็บสะสมยา สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยและมีโรคเรื้อรังมักจะได้รับยาหลายชนิด เมื่อใช้ยาไม่หมดก็จะเก็บสะสมยาไว้ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยอีกครั้งก็จะเลือกรับประทานยาเดิมที่เคยรับประทานได้ผล ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้หากยานั้นหมดอายุแล้ว

          ในผู้สูงอายุกลุ่มยาที่นิยมใช้มากคือ กลุ่มยานอนหลับและยาแก้ปวดซึ่งยา 2 กลุ่มนี้ไม่ได้รักษาที่สาเหตุของโรค แต่อาจบรรเทาอาการให้ทุเลาลงเป็นครั้งคราวดังนั้นการใช้ยาต้องทำร่วมกับการรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับและเกิดอาการปวด ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์  

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก...นิตยสาร Health Today

<