ท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี

 ท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี

เราจะมาพูดกันในหัวข้อ ต่อไปนี้ครับ

อันตรายจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม
ลักษณะท่าทางการทำงาน
วิธีการทำงาน
การเคลื่อนย้ายวัสดุชิ้นงาน

อันตรายจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม      

1. อันตรายต่อเอ็น และกล้ามเนื้อ

2. อันตรายต่อข้อต่างๆ

3. อันตรายต่อเส้นประสาท

4. อันตรายต่อเส้นเลือด

ลักษณะท่าทางการทำงาน

1. มือและข้อมือ

ท่าทางที่เหมาะสม วางมือในแนวราบเป็นเส้นตรง

ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง

1) การงอนิ้วมือและนิ้วย้อนกลับมาด้านหลังของมือ

2) การงอมือและนิ้วห้อยลงด้านหน้า

3) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านหัวแม่มือ

4) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านนิ้วก้อย

5) การหมุนมือและแขนแบบหมุนออกทางด้านนิ้วก้อย

6) การหมุนมือและแขนแบบหมุนเข้าทางด้านนิ้วก้อย

2. แขนและไหล่

ท่าทางที่เหมาะสม ช่วงหัวไหล่และท่อนแขนในขณะทำงานควรจะระนาบและตั้งฉากกับลำตัว

ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง

1) มือ แขน หรือไหล่เหยียดตรงออกไปด้านหน้าของลำตัว

2) แขน หรือไหล่เคลื่อนที่ไปทางด้านหลังของลำตัว

3) เหยียดแขนตรงออกไปด้านข้างของลำตัว

4) งอแขนเข้าหาลำตัว

3. คอและหลัง

ท่าทางที่เหมาะสม ในขณะยืนหรือนั่ง กระดูกสันหลังจะต้องโค้งเว้าตามธรรมชาติ

ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง

1) การงอหลังหรือการโน้มตัวไปข้างหน้า

2) การบิดเอี้ยวลำตัวตรงกระดูกส่วนเอว

3) การเอียงลำตัวไปทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง

4) การเอียงคอไปทางด้านข้าง

5) การก้มเงยคอไปมา

6) การหันหน้าไปมา

4. เข่าและขา

ท่าทางที่เหมาะสม

ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง

1) การคุกเข่าหรืองอขาเป็นระยะเวลานาน

2) ยืนอยู่ท่าเดียวเป็นเวลานาน

วิธีการทำงาน

1. มือและข้อมือ

ท่าทางปกติในขณะทำงาน

- มือและข้อมืออยู่ในแนวตรงคล้ายการจับมือทักทาย

- ควรปรับระดับความสูงของตำแหน่งวางชิ้นงานให้เหมาะสม กับตำแหน่งการวางมือและข้อมือ

- ควรวางชิ้นงานตรงหน้าโดยตรง

- หากมีการเคลื่อนที่ของชิ้นงานในขณะทำงาน ควรสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของมือ

การทำงานซ้ำๆ กัน                

- หลีกเลี่ยงการออกแรงทำงานของมือเดิมซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน

- ควรมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของมือและข้อมือไปมา

- ควรสลับเปลี่ยนชิ้นงานที่ต้องทำให้หลากหลายหากต้องทำงานใดเป็นเวลานานๆ

- ถ้าเป็นไปได้ควรมีการสลับหน้าที่การทำงานกันบ้าง

การออกแรงจับถือ

- ลดการออกแรงจับถือชิ้นงานโดยการใช้ทั้งมือจับ

- หลีกเลี่ยงการจับถือสิ่งของที่ใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป

- ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ทั้งสองมือทำงานประสานร่วมกัน

- ใช้วิธีการลากหรือเลื่อนสิ่งของแทนที่จะใช้วิธีการจับขึ้นในแนวดิ่ง

การใช้ถุงมือและมือจับ              

- พิจารณาขนาดและตำแหน่งของมือจับให้รู้สึกถนัดกระชับ

- ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดพอเหมาะกับมือ

- ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดใหญ่พอที่จะไม่บีบรัดการไหลเวียนเลือด

การใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์

- พยายามหลีกเลี่ยงการงอบิดของข้อมือบ่อยครั้งเกินไป

- พยายามลดการออกแรงกดที่ไม่จำเป็น

- ควรใช้ถุงมือยางในการใช้เครื่องมือที่มีการสั่นสะเทือน และเครื่องมือที่ต้องออกแรงหมุน

- ดูแลรักษาเครื่องมือให้ปลอดภัยและเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา

- ใช้กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของมือในการใช้เครื่องมือ

2. แขนและไหล่

ท่าทางปกติ

- ควรรักษาระดับของไหล่และแขนให้อยู่ในท่าทางปกติ คือ ในระดับของการจับมือทักทายกัน

- ข้อศอกควรอยู่แนบกับลำตัว       

- ข้อศอกควรอยู่ในระดับต่ำ หรือระดับที่รองรับน้ำหนักในการทำงานของท่อนแขน

การเอื้อมจับ

- พยายามลดความถี่ในการที่จะต้องยื่นแขนออกไปจับวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน

- พยายามลดการที่ต้องยกแขนหรือไหล่ในการเอื้อมมือไปจนสุดเอื้อม

การเคลื่อนไหวในขณะทำงาน

- ใช้วิธีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ

- หลีกเลี่ยงการยกหรือโยนชิ้นงานขึ้นเหนือศีรษะ

- ใช้วิธีการวางชิ้นงานลงเมื่อทำเสร็จ แทนการออกแรงโยน

การคงท่าเดิมขณะทำงาน

- หลีกเลี่ยงการทำงานท่าเดิมโดยตลอด

- ใช้วิธีการหมุนเปลี่ยนงานที่ทำ

- ใช้เครื่องมือช่วยในการจับวัสดุอุปกรณ์หรือชิ้นงานในขณะทำงาน

- ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อส่วนไหล่และแขนเพื่อให้เกิดการคลายตัว

3. คอและหลัง

การทำงานในท่านั่ง

ท่านั่งปกติในขณะทำงาน

- นั่งทำงานในท่าทางที่การจัดเรียงตัวของกระดูกสันหลังได้รูปทรงตามธรรมชาติ

- ใช้เก้าอี้ที่ปรับได้                 

 

 

<