คู่มือการเข้าเฝือก

“อย่าปล่อยให้อาการ ปวด เป็นปัญหาอีกต่อไป”

         ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ รพ.วิภาวดี ให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง ที่มีประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมให้บริการ


เฝือก

        คือเครื่องดามที่ใช้ดามกระดูกและข้อ ส่วนที่ถูกหุ้มด้วยเฝือกนั้นอยู่นิ่งๆ โดยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายส่วนอื่นๆที่อยู่นอกเฝือกได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปกป้องเนื้อเยื่ออื่นๆที่ได้รับบาดเจ็บ ลดความเจ็บปวด บวม และส่งเสริมให้กระดูกหักนั้นติดกันดังเดิม


การปฏิบัติตนในระยะ 3 วันแรกหลังใส่เฝือก

        หลังจากที่แพทย์ใส่เฝือกให้ แต่เฝือกก็ยังมีสภาพเปียกชื้นและบุง่ายอยู่ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1- 2 วัน จึงจะแห้งสนิท

        1. ป้องกันเฝือกแตก หักหรือบุบในระหว่างที่เปียกชื้น หรือแห้งไม่สนิท วางเฝือกบนวัสดุนุ่มนิ่ม เช่น หมอนหรือฟองน้ำ หลีกเลี่ยงการวางเฝือกบนวัสดุแข็ง เช่น วางส่วนของส้นเท้าบนพื้นปูน หรือใช้ส่วนของข้อศอกเท้าพนักเก้าอี้ ควรประคองเฝือกในระหว่างเคลื่อนย้าย หรือลุกออกจากเตียงอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการใช้ปลายนิ้วกดหรือบีบเฝือกเล่น

        2. ดูแลให้เฝือกแห้งเร็ว วางเฝือกในที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น ไม่ใช้ผ้าห่มหรือสิ่งใดๆคลุมบนเฝือก การใช้พัดลมเป่าจะช่วยให้เฝือกแห้งเร็วขึ้น แต่ห้ามนำเฝือกไปผิงกับไฟ
 

การปฏิบัติเมื่อเฝือกแห้งดีแล้ว

       1. ดูแลไม่ให้เฝือกเปียกชื้นหรือสกปรก เช่น การเดินในสนามหญ้าตอนเช้าๆ หรือถูกน้ำจนเปียก เวลาอาบน้ำควรใช้ถุงพลาสติกหุ้มเฝือกไว้ อาจใช้ถุงสวมทับหลายๆชั้น โดยการมัดปากถุง ที่คนละระดับจะช่วยกันน้ำได้ดียิ่งขึ้น

       2. ไม่ควรให้เฝือกเป็นตัวรับน้ำหนักอย่างเต็มที่ ยกเว้น มีส้นยางเป็นตัวรับน้ำหนัก

       3. ไม่ควรลงน้ำหนักหรือเดินบนเฝือก ถ้าแพทย์ยังไม่อนุญาต
 

ปัญหาที่อาจเกิดจากการเข้าเฝือก

       1. เฝือกหลวม

             เนื่องจากอวัยวะภายในเฝือก ยุบบวมลง หรือเข้าเฝือกไม่กระชับตั้งแต่แรก

       2. เฝือกคับหรือแน่นเกินไป

             จากการบวมที่เกิดหลังการเข้าเฝือก

       3. การเข้าเฝือกนานเกินไป

             ทำให้ข้อติดยึด

       4. การถอดเฝือกนานเกินไป

             โดยที่กระดูกยังไม่ติดกันดี ทำให้เกิดการเคลื่อนหลุดของปลายกระดูก

       5. อาจเกิดจากอาการคันและระคายเคืองจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราที่                   ผิวหนังใต้เฝือกรวมทั้งความอับชื้นที่ผิวหนังใต้เฝือก

       6. อาจเกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ (Compartment Syndrome)

       7. อาจเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน และลิ่มเลือดได้ (Deep Vein                           Thrombosis Pulmonary Edema)

 

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยใส่เฝือก

       • ควรเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้เฝือกบ่อยๆ และเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่ภายนอกเฝือกหรือข้อต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ใส่เฝือกขาควรเคลื่อนไหวนิ้วเท้า และเกร็งกล้ามเนื้อน่อง

       • ห้ามตัดเฝือก หรือวัสดุรองรับเฝือกออกเอง

       • อย่าให้เฝือกกระทบของแข็งบ่อยๆ อย่าให้ได้รับแรงกดจนแตกหรือยุบ เช่น เหยียบหรือวางบนพื้นแข็งโดยตรง

       • ห้ามทำให้พื้นเฝือกเปียกหรือถูกน้ำหรือลนด้วยความร้อนเพื่อให้แห้งเร็ว

       • ห้ามใช้วัสดุแหย่เข้าไปในเฝือก เพื่อแก้อาการคันเพราะอาจทำให้ผิวหนังมีบาดแผลได้

       • ควรยกส่วนแขนหรือขาที่เข้าเฝือก ให้อยู่เหนือระดับหัวใจเสมอ เพื่อช่วยให้เกิดการไหลเวียนที่ดี
 

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยใส่เฝือก

       มาพบแพทย์ตามนัดเสมอ ถ้ามีอาการผิดปกติต่อไปนี้ ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีก่อนวันนัด

       • เมื่อมีอาการปวดมากยิ่งขึ้น

       • เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าข้างที่เข้าเฝือก มีสีเขียวคล้ำหรือซีดขาวบวมมากขึ้นหรือมีอาการชา

       • เมื่อไม่สามารถขยับเขยื้อนนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าข้างที่ใส่เฝือกได้

       • เมื่อมีวัตถุแปลกปลอม หลุดเข้าไปในเฝือก

       • เมื่อพบว่าเฝือกหลวม บุบสลายหรือแตกหัก

       • มีเลือด น้ำเหลืองหรือหนองไหลซึมออกมาจากเฝือกหรือมีกลิ่นเหม็น

 

เวลานั่ง/นอน

       -ให้ใช้หมอนหนุนแขนหรือขาที่เข้าเฝือก

เวลาเดิน/ยืน

       -ให้ใช้ผ้าคล้องคอสำหรับ ผู้ที่ใช้เฝือกแขน
  

        ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการคันระคายเคือง จากการใส่เฝือกแนะนำให้ใช้สเปรย์แป้งที่มีส่วนผสมของ Triclosan, Tea tree oil, Mentol และ Alcohol เพื่อช่วย

         • ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่เป็นต้นเหตุของอาการคัน

         • ลดความอับชื้นและอาการระคายเคืองภายในเฝือก

         • ทำให้แผลสมานและหายเร็วขึ้น

         • ระงับกลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์
 

เทคโนโลยีก้าวไกล ไปกับรพ.วิภาวดี

         เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก (Dexa Bone Densitometer) เป็นวิธีมาตรฐานสูงสุดของรพ.ชั้นนำ โดยการใช้รังสีเอกซเรย์ 2 พลังฉาย ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจ โดยที่พลังงานสูงใช้ตรวจกระดูกส่วนพลังงานต่ำใช้ตรวจเนื้อเยื่อและไขมัน และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบมาตรฐานความแข็งแรงกระดูก ผลตรวจที่ได้จะเป็นแนวทางในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน

 

                                                                                                                                                                                                                       ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

                                                                                                                                                                                                                              โรงพยาบาลวิภาวดี

<