ระบบทางเดินหายใจ

  • โรคระบบทางเดินหายใจ คือกลุ่มโรคที่ส่งผลกระทบต่อจมูก คอหอย หลอดลม และปอด ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย มลภาวะ หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ซึ่งมีทั้งแบบไม่รุนแรงและแบบรุนแรงที่อาจส่งผลถึงชีวิตได้ 
  • โรคระบบทางเดินหายใจที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ หวัด ทอนซิลอักเสบ คออักเสบ หอบหืด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ วัณโรค โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
  • การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถป้องกันได้หลายวิธี เช่น รักษาสุขอนามัย ฉีดวัคซีนป้องกันโรค หลีกเลี่ยงควันบุหรี่และมลภาวะ ออกกำลังกายเป็นประจำ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดียิ่งขึ้น

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะมักทำให้เกิดอาการไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล หรือหายใจลำบาก ไปจนถึงภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย พร้อมวิธีการป้องกันดูแลรักษาให้ดีขึ้น เพื่อช่วยให้คุณทราบถึงแนวทางการรับมือกับโรคเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและทำให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

โรคระบบการหายใจคืออะไร?

โรคระบบการหายใจคืออะไร?

โรคระบบทางเดินหายใจ คือกลุ่มโรคที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ในระบบหายใจ ได้แก่ จมูก คอหอย กล่องเสียง หลอดลม ปอด และกระบังลม โดยอาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ภูมิแพ้ มลภาวะทางอากาศ หรือโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการทำงานของปอดและหลอดลม ซึ่งมักแสดงอาการออกมาเป็นการไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ หายใจลำบาก หรือแน่นหน้าอก

โดยโรคในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือโรคเฉียบพลันที่เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งสามารถหายได้เมื่อได้รับการรักษา และโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน

โรคระบบการหายใจที่พบได้บ่อย

โรคระบบการหายใจที่พบได้บ่อย

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ มีตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงโรคที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ซึ่งโรคที่พบได้บ่อย มีดังนี้

หวัด

หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักเกิดจาก Rhinovirus ที่แพร่กระจายผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม ซึ่งเมื่อติดเชื้อจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ และอาจมีไข้ต่ำ ซึ่งปกติแล้วจะหายได้เองภายใน 5-10 วัน โดยสามารถบรรเทาอาการไข้หวัดได้ด้วยการพักผ่อน ดื่มน้ำอุ่น ทานยาลดไข้ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นจัด

ทอนซิลอักเสบ

เป็นภาวะที่ต่อมทอนซิลบริเวณด้านหลังลำคอเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ เจ็บคอรุนแรง กลืนลำบาก ไข้สูง ต่อมทอนซิลบวมแดงหรือมีจุดหนอง และอาจมีกลิ่นปากร่วมด้วย แต่หากอาการรุนแรงหรือเป็นซ้ำบ่อย อาจต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือพิจารณาผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออก

คออักเสบ

คออักเสบ

เป็นภาวะที่เยื่อบุในลำคอเกิดการอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย มลภาวะหรือการใช้เสียงมากเกินไป โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ เจ็บคอ กลืนลำบาก ระคายคอ เสียงแหบ และอาจมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาการมักดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน แต่หากเกิดจากแบคทีเรีย อาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม

หอบหืด

หอบหืดเป็นโรคระบบทางเดินหายแบบเรื้อรัง ที่เกิดจากการอักเสบของหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบแคบลงและไวต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ละอองเกสร หรืออากาศเย็น ซึ่งอาการที่พบบ่อยคือ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก และไอเรื้อรัง โดยเฉพาะเวลากลางคืนหรือหลังออกกำลังกาย และอาการอาจรุนแรงขึ้นหากสัมผัสสิ่งกระตุ้น หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อเนื่อง

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจาก Influenza virus สามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม โดยมักแสดงอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียอย่างรุนแรง เจ็บคอ ไอแห้ง และน้ำมูกไหล ซึ่งโรคนี้มีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไปและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

หลอดลมอักเสบ

โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเยื่อบุหลอดลมอักเสบ มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหรือการระคายเคืองจากควันบุหรี่และมลภาวะ ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไอเรื้อรัง มีเสมหะข้นเหนียว แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และอาจมีไข้ต่ำ โดยอาการมักดีขึ้นภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่หากเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาจต้องได้รับการรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่อง

ปอดอักเสบ

ปอดอักเสบ

เป็นภาวะที่ปอดติดเชื้อจนเกิดการอักเสบ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะข้นหรือเป็นหนอง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอกขณะหายใจเข้า และอ่อนเพลียอย่างรุนแรง ในบางกรณีอาจมีอาการตัวเขียวจากภาวะขาดออกซิเจน ซึ่งควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันที

วัณโรค

วัณโรคเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ที่สามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม โดยส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอด แต่สามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่นได้ ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไอเรื้อรังนานเกิน 3 สัปดาห์ ไอมีเลือดปน เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร และมีไข้ต่ำช่วงบ่ายหรือกลางคืน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจลุกลามและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลงอย่างถาวร มักเกิดจากการสูบบุหรี่หรือการสัมผัสมลพิษเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบและถุงลมถูกทำลาย ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก หายใจลำบาก หอบเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลาทำกิจกรรม และอาจมีอาการแน่นหน้าอก

โรคนี้เป็นภาวะเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน

เป็นภาวะที่ปอดได้รับความเสียหายรุนแรง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนผิดปกติ โดยมักเกิดจากการติดเชื้อรุนแรง ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การสูดควันพิษ หรือการบาดเจ็บที่ปอดโดยตรง ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่ หายใจลำบากรุนแรง หายใจเร็ว ตัวเขียวจากภาวะขาดออกซิเจน และอาจเกิดภาวะช็อก หากไม่ได้รับการรักษาทันทีอาจนำไปสู่ภาวะล้มเหลวของระบบหายใจและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แนวทางการรักษาโรคระบบการหายใจ

แนวทางการรักษาโรคระบบการหายใจ

การรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ มีบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรค โดยแนวทางการรักษาหลัก ได้แก่

  • การใช้ยาการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับชนิดและอาการ โดยอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ โดยมียาหลายประเภท ได้แก่ ยาต้านไวรัสสำหรับไข้หวัดใหญ่ ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น วัณโรคหรือปอดอักเสบ ยาขยายหลอดลมและสเตียรอยด์สำหรับโรคหอบหืดและ COPD
  • การพ่นยาและสูดดมเป็นแนวทางการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่ช่วยให้ตัวยาเข้าสู่ปอดโดยตรง ออกฤทธิ์รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มักใช้กับโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะหลอดลมหดเกร็งหรืออักเสบ เช่น โรคหอบหืด และ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • การทำกายภาพบำบัดปอดเป็นวิธีฟื้นฟูการทำงานของปอด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ภาวะปอดแฟบ หอบหืด และมีเสมหะสะสมมาก ช่วยเสริมความแข็งแรงของปอด ลดอาการหายใจลำบาก และเพิ่มการแลกเปลี่ยนออกซิเจน
  • การผ่าตัดเป็นแนวทางการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่ใช้ในกรณีที่การรักษาด้วยยาและวิธีอื่น ๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือควบคุมอาการของโรคได้ ซึ่งอาจพบได้ในการรักษาทอนซิลอักเสบเรื้อรัง การผ่าตัดเปิดหลอดลม มะเร็งปอด วัณโรคขั้นรุนแรง หรือการผ่าตัดถุงลมโป่งพอง

วิธีการป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ

การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมและดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ดังนี้

  • รักษาสุขอนามัย โดยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือล้างด้วยแอลกอฮอล์เจล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยเฉพาะตา จมูก และปาก เพื่อลดการติดเชื้อ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ และวัคซีนป้องกันวัณโรคตามคำแนะนำของแพทย์
  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่และมลภาวะ โดยใช้หน้ากากอนามัยเสมอเมื่อต้องอยู่ในที่ที่มีฝุ่นละอองหรือมลพิษสูง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างปอดให้แข็งแรงและลดความเสี่ยงของโรคทางเดินหายใจ โดยควรเลือกกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความจุปอด เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือโยคะ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ และอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ดียิ่งขึ้น
  • ลดการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ หรือสารเคมีที่อาจกระตุ้นอาการทางเดินหายใจ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก หากจำเป็นต้องอยู่ในที่แออัด ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ

การรักษาโรคระบบการหายใจ ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

การรักษาโรคระบบการหายใจ ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

โรงพยาบาลวิภาวดีให้ความสำคัญกับสุขภาพทางเดินหายใจของคนไทย โดยให้บริการตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และรักษาโรคระบบทางเดินหายใจด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมเทคโนโลยีการรักษาที่ได้มาตรฐาน ทั้งยังมีโปรโมชันเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง มาดูกันว่ารักษาที่นี่ดียังไงบ้าง

  • โรงพยาบาลได้มาตรฐานระดับสากล ISO 9001 : 2008 และ Hospital Accreditation (HA)
  • มีศูนย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ รองรับการรักษาโรคต่างๆ และการวินิจฉัยแยกโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง วัณโรค และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • มีทีมแพทย์เฉพาะทางประสบการณ์สูง พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
  • ใช้เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัย เช่น การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary Function Test - PFT) หรือการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์คุณภาพสูง
  • มีบริการฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากหรืออาการทรุดกะทันหัน พร้อมสิทธิประโยชน์ด้านประกันสุขภาพที่ครอบคลุม
  • ห้องพักผู้ป่วยสะอาด เงียบสงบ และเหมาะแก่การพักฟื้น

 

หากมีอาการผิดปกติทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือสงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะติดเชื้อ สามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี ที่อยู่ 51/3 ถ.งามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรงเทพฯ หรือโทรเพื่อนัดหมายก่อนเข้ารับการรักษาได้ที่เบอร์ 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 และสำหรับตัวแทนประกันชีวิต สามารถติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance

สรุป

โรคระบบทางเดินหายใจเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย และเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย มลภาวะ หรือโรคเรื้อรัง ซึ่งมีทั้งระดับที่ไม่รุนแรง เช่น หวัดและคออักเสบ ไปจนถึงโรคร้ายแรงอย่างปอดอักเสบ วัณโรค หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ตั้งแต่การใช้ยา การพ่นยา การทำกายภาพบำบัดปอด ไปจนถึงการการผ่าตัด

ซึ่งที่โรงพยาบาลวิภาวดีมีบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินหายใจโดยทีมแพทย์เฉพาะทางพร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดความละเอียดสูง (HRCT) การตรวจส่องกล้องหลอดลม หรือการพ่นยาเพื่อบรรเทาอาการ พร้อมบริการฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันท่วงทีและปลอดภัยมากที่สุด

FAQ

โรคระบบทางเดินหายใจเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย ทำให้หลายคนมักเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหลายประการ เราจึงได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยพร้อมคำตอบที่จะทำให้คุณหายข้องใจ ดังนี้

โรคระบบการหายใจมักเกิดจากสาเหตุอะไร

โรคระบบทางเดินหายใจมักเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา มลภาวะในอากาศ ควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้มีอาการไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจลำบาก หรือแน่นหน้าอกตามมา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละโรค

โรคระบบการหายใจส่วนบน มีอะไรบ้าง

โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ หวัด คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ และหลอดลมอักเสบในระยะแรก โดยโรคเหล่านี้ส่งผลต่ออวัยวะบริเวณจมูก คอหอย และกล่องเสียง หลอดลม ไปจนถึงปอด ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ และเสียงแหบ โดยทั่วไปมักไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองหรือรักษาได้ด้วยยา

แนวทางการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ มีอะไรบ้าง

การรักษาโรคระบบทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค โดยแนวทางหลัก ได้แก่ การใช้ยา การทำกายภาพบำบัดปอด และในบางกรณีอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือการผ่าตัด เพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

ที่ โรงพยาบาลวิภาวดี
เราพร้อมดูแลคุณด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินหายใจ พร้อมเครื่องตรวจสมรรถภาพปอดและการวินิจฉัยอย่างละเอียด
เพื่อให้คุณ…หายใจได้เต็มปอดอีกครั้ง

ริการการตรวจพิเศษ 
1. การตรวจสมรรถภาพปอดแบบละเอียดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย 
2. การตรวจ เอ๊กซเรย์ คอมพิวเตอร์ ชนิดรายละเอียดสูง (HRCT) 
3. การตรวจส่องกล้องหลอดลม 
4. การตรวจทดสอบปฏิกิริยาภูมิแพ้ทางผิวหนัง  
5. คลินิกวิเคราะห์การนอนหลับ และภาวะการนอนกรน

บริการพิเศษ 
1. ตรวจสอบสมรรถภาพ เพื่อตรวจหาโรคหืด, ถุงลมโป่งพอง 
2. เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ชนิดความละเอียดสูง (HRCT)
3. CT Scan 64 Slice Chest 

คลินิกบริการ 
1. ไอ ไอเรื้อรัง หวัดเรื้อรัง 
2. กลุ่มโรคหืด ภูมิแพ้ 
3. โรคถุงลมโป่งพอง 
4. คลินิกเลิกบุหรี่ 
5. การติดเชื้อระบบการหายใจ ปอด / หลอดลมอักเสบ และวัณโรค 
6. โรคปอดจากการทำงาน 
7. อบรมเทคนิคการใช้ยาสูดพ่น สำหรับทางเดินหายใจ 
8.คลินิกวิเคราะห์การนอนหลับ และภาวะการนอนกรน

ศูนย์โรคระบบการหายใจ 
ติดต่อนัดหมายแพทย์ได้ที่ 0-2058-1111 , 0-2561-1111  กด 1245

“ภูมิใจที่ได้ดูแลคุณ”

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าที่

02-561-1111

02-058-1111


ทีมแพทย์ระบบทางเดินหายใจ