มะเร็งกระเพาะอาหาร

  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหารคือโรคที่มีอาการเริ่มต้นคล้ายกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรืออาหารไม่ย่อย โดยมักเกิดขั้นในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป รวมถึงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori)
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีอาการคืออาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายท้อง แสบร้อนบริเวณหน้าอก ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร อาเจียนอาจมีเลือดปน
  • สาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและพัฒนาเป็นมะเร็งได้ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน
  • การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีหลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดฉายรังสี เคมีบำบัด การรักษาด้วยยามะเร็งแบบมุ่งเป้า และการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด

อาการปวดท้องเป็นอาการที่ใครหลายคนล้วนเคยเป็นแน่นอน แต่อาการปวดท้องอาจไม่ใช่แค่อาการปวดท้องธรรมดา เพราะมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคที่ไม่มีอาการในระยะแรกๆ แต่จริงๆ แล้วโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้นๆ บทความนี้จะพาคุณรู้จักอาการของมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะแรก พร้อมแนวทางลดความเสี่ยงก่อนโรคลุกลาม และวิธีรักษาเพื่อดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร คืออะไร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer/Stomach Cancer) คือโรคที่มีอาการเริ่มต้นคล้ายกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรืออาหารไม่ย่อย โดยความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเกิดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสามารถทำได้ด้วยการส่องกล้องกระเพาะอาหารพร้อมตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หากพบในระยะที่สามารถผ่าตัดได้ โอกาสที่กระเพาะอาหารจะหายขาดจากมะเร็งก็สูง แต่ส่วนใหญ่มักพบเจอเมื่อเชื้อมะเร็งลุกลามแล้ว

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไร

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่อาจสังเกตได้ ในระยะแรกอาจสับสนกับโรคกระเพาะทั่วไป โดยมีสัญญาณเตือนถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้แก่

  • อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายท้อง
  • แสบร้อนบริเวณหน้าอก
  • ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • คลื่นไส้
  • เบื่ออาหาร

แต่หากโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเริ่มลุกลามมากขึ้น จะมีอาการอื่นๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • รู้สึกไม่สบายท้องบริเวณส่วนบนและส่วนล่าง
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • อาเจียน หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

แม้สาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหารยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ทำให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติและควบคุมไม่ได้ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร และลุกลามไปยังอวัยวะอื่น เช่น ตับ ตับอ่อน ปอด ลำไส้ รังไข่ และต่อมน้ำเหลือง

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีกี่ระยะ?

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีกี่ระยะ?

การแบ่งระยะอาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารจะดูจากตำแหน่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยแบ่งออกเป็นระยะแรกถึงระยะที่ 4 ดังนี้

  1. ระยะที่ 1เซลล์มะเร็งจำกัดอยู่บริเวณเยื่อบุด้านในหรือกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองเพียงเล็กน้อย มักไม่แสดงอาการหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รักษาได้ด้วยการส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อมะเร็งที่ผิวกระเพาะอาหาร
  2. ระยะที่ 2มะเร็งกระเพาะอาหารมีการกระจายจากเยี่อบุผิวด้านในไปยังชั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร หรือลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองในวงกว้างขึ้น
  3. ระยะที่ 3มะเร็งลุกลามลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือผิวด้านนอกของกระเพาะ และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น รักษาด้วยการผ่าตัดกระเพาะอาหารร่วมกับเคมีบำบัด
  4. ระยะที่ 4เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นที่ห่างไกลจากบริเวณกระเพาะอาหาร การรักษาในระยะนี้เน้นไปที่การประคับประคองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มีหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดมะเร็งได้ดังนี้

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและแผลในกระเพาะอาหาร เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
  • มีประวัติเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
  • เคยเป็นโรคกรดไหลย้อนที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
  • มีอาชีพหรือใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นหรือสารเคมีบางชนิด
  • ภาวะน้ำหนักเกินในผู้ชาย (ส่วนผู้หญิงยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน)
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การบริโภคอาหารแปรรูป หมักดอง ตากเค็ม รมควันบ่อยๆ และรับประทานผักผลไม้น้อย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งในกระเพาะอาหารมีขั้นตอนการวินิจฉัยหลักๆ ดังนี้

  1. เริ่มจากการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินลักษณะก้อนหรือความผิดปกติในช่องท้อง รวมถึงการตรวจต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือดและการทำงานของตับและไต เพื่อประเมินสุขภาพโดยรวม
  2. การกลืนแป้งสารทึบแสง (Barium Swallow) ให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสมสารทึบแสง ซึ่งจะเคลือบผิวหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก จากนั้นถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะๆ เพื่อมองหาก้อนเนื้อหรือความผิดปกติ
  3. ตรวจด้วยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อดูรอยโรคหรือความผิดปกติภายใน หากพบสิ่งที่น่าสงสัย แพทย์สามารถทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งในระยะแรกได้แม่นยำ
  4. การส่องกล้องตรวจด้วยคลื่อนเสียงความถี่สูง (Endoscopic Ultrasonography, EUS) จะช่วยประเมินความลึกของมะเร็งและการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงหรือต่อมน้ำเหลือง
  5. นอกจากการส่องกล้องทางเดินอาหารแล้ว ยังมีการตรวจด้วย CT Scan เพื่อประเมินตำแหน่งและการกระจายของโรคในช่องท้อง ซึ่งให้ภาพที่ละเอียดกว่าเอกซเรย์ธรรมดาและช่วยวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารสามารถรักษาให้หายได้ไหม? สามารถรักษาให้หายได้ โดยแพทย์จะพิจารณาาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ตามอาการ ระยะของโรค สภาพร่างกาย และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนี้

1. รักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารวิธีนี้แพทย์มักแนะนำเพื่อจำกัดและควบคุมมะเร็งไม่ให้ลุกลาม เป็นการตัดเนื้อร้ายออก พิจารณาตามเงื่อนไขของคนไข้ และบางส่วนของกระเพาะอาหารอาจถูกตัดออกไปด้วย โดยวิธีผ่าตัดมีหลายรูปแบบ ดังนี้

  • การส่องกล้องเพื่อตัดเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารเหมาะสำหรับมะเร็งระยะเริ่มต้นที่ยังไม่ลุกลามนัก แพทย์จะใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารเพื่อตัดเฉพาะเยื่อบุผิวที่มีเซลล์มะเร็งโดยไม่ต้องเปิดหน้าท้อง
  • การผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วนการรักษามะเร็งวิธีนี้เป็นการตัดเอาบริเวณที่มีมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบข้างออกบางส่วน ผู้ป่วยยังคงมีกระเพาะอาหารส่วนที่เหลือทำงานต่อได้
  • การผ่าตัดกระเพาะออกทั้งหมดในกรณีที่มะเร็งลุกลามมาก แพทย์จะตัดกระเพาะอาหารออกทั้งหมดออก และต่อหลอดอาหารเข้ากับลำไส้เล็กเพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมอาหารต่อไปได้
  • การเลาะต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องเพื่อประเมินว่ามีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหรือไม่ โดยนำตัวอย่างไปตรวจหามะเร็ง
  • การผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการเป็นการผ่าตัดเพื่อช่วยลดอาการหรือป้องกันภาวะแพทกซ้อนในกรณีที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

2. รักษาด้วยการบำบัดฉายรังสี

การรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีบำบัด เป็นการฉายแสงพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • Adjuvant Radiationเป็นการฉายรังสีหลังผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกแล้ว เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ในบริเวณกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
  • Neoadjuvant Radiationเป็นการฉายรังสีก่อนการผ่าตัด เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนมะเร็งให้เล็กลง ทำให้การผ่าตัดทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน และกลืนลำบากหากมีการฉายรังสีบริเวณหลอดอาหาร

3. รักษาด้วยการเคมีบำบัด

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารด้วยเคมีบำบัด เป็นการบรรเทาอาการผู้ป่วยที่อยู่ในระยะลุกลาม เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • Adjuvant Chemotherapyให้หลังผ่าตัด เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่หรือแพร่กระจายไปแล้ว รวมถึงช่วยลดโอกาสการกลับมาเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารซ้ำ
  • Neoadjuvant Chemotherapyให้หลังผ่าตัด เพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งให้เล็กลง ทำให้การผ่าตัดมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น

4. รักษาด้วยการให้ยามะเร็งแบบมุ่งเป้า

การรักษาวิธีนี้จะมุ่งเป้าไปที่โปรตีนเฉพาะบนเซลล์มะเร็ง เช่น HER2 หรือ VEGFR2 ซึ่งพบในมะเร็งกระเพาะอาหารบางชนิด โดยตัวยาแบบมุ่งเป้าเข้าไปทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งที่มีโปรตีนตัวดังกล่าว ด้วยการขัดขวางกลไกของตัวรับโปรตีนในเซลล์โดยตรง ไม่สามารถเติบโตและแบ่งตัวได้ ไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติ ทั้งยังช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษาแบบทั่วไป

5. รักษาด้วยการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด

วิธีนี้เป็นการรักษาที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถจดจำและทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยาจะยับยั้งโปรตีนบางชนิดที่เซลล์มะเร็งสร้างขึ้น เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันกลับมาทำหน้าที่ในการต่อต้านเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูกลับมาต่อต้านเซลล์มะเร็งในกระเพาะอาหารได้

การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ถึงแม้อาการของมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะแรกจะทำให้สับสนกับอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร แต่เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีวิธีดังนี้

  • จัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงอาหารปรุงแต่งและอาหารแปรรูป เช่น ปิ้ง ย่าง หมัก ดอง เค็ฒจัด และมันจัด
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
  • รับประทานผักและผลไม้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อย หากมีอาการบ่อยควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
  • ตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • รักษาโรคระบบทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น โรคกระเพาะอาหาร หรือกรดไหลย้อน เพื่อป้องกันการลุกลามเป็นมะเร็งในอนาคต
  • พยายามคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

หากกำลังมองหาโรงพยาบาลในการตรวจสุขภาพหรือรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร รวมถึงโรคในระบบทางเดินอาหารอื่นๆโรงพยาบาลวิภาวดีพร้อมให้บริการแบบครบวงจร ทั้งบริการซักประวัติ ตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพด้วยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหาร นี่คือเหตุผลสำคัญที่ควรเลือกไว้วางใจการรักษาที่นี่

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารที่โรงพยาบาลวิภาวดีจะมีบริการตรวจหาเชื้อ Helicobactor Pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบเรื้อรัง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารมากขึ้น โดยใช้วิธีการตรวจทางลมหายใจ (Urea Breath Test) เพื่อประกอบการตรวจวินิจฉัยต่อไป

การรักษา

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารโดยโรงพยาบาลวิภาวดีจะเริ่มตั้งแต่การตรวจหาเชื้อ Helicobactor Pylori การส่องกล้องทางเดินอาหาร ส่วนต้น (Esophagogastroduodenoscopy) ตัดชิ้นเนื้อในกระเพาะอาหารเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา และรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ทางเดินอาหารด้วยการผ่าตัดและให้ยาในการรักษา

ทีมแพทย์

โรงพยาบาลวิภาวดีมีแพทย์ผู้เฉพาะทางในด้านทางเดินอาหารที่มากไปด้วยประสบการณ์การรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร พร้อมให้คำแนะนำ ตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างตรงจุด

โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญ พร้อมดูแลผู้ป่วยแต่ละรายด้วยแนวทางที่เหมาะสม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและสุขภาพที่ดีในระยะยาว

ข้อมูลการนัดหมาย

หากคุณต้องการติดต่อโรงพยาบาลวิภาวดี เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร หรือตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหาร สามารถสอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-058-1111, 02-561-1111 ต่อ 4525 หรือ 4534 ในเวลาทำการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07:00-20:00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08:30-19:30 น.

สิทธิการรักษาและค่าใช้จ่าย

มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม? หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษาโรคนี้ หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถเข้ามาติดต่อสอบถามกับโรงพยาบาลวิภาวดีได้โดยตรง ทางโรงพยาบาลมีโปรแกรมตรวจวินิจฉัยและรักษามะเร็งกระเพาะอาหารที่หลากหลาย ออกแบบให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อการดูแลที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

สรุป

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่ระยะแรกเริ่มด้วยด้วยอาการคล้ายกับโรคกระเพาะหรืออาหารไม่ย่อย มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และคนที่มีอายุเกิน 40 ปี มีสาเหตุที่ไม่แน่ชัดในปัจจุบัน อาจมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ รวมถึงอาการกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะ โดยการวินิจฉัยสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การใช้ CT Scan ฯลฯ ในการรักษามีหลายวิธีโดยแพทย์จะรักษาตามระยะความรุนแรงของโรค โดยมีทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด การใช้ยามะเร็งแบบมุ่งเป้า และใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด

หากสังเกตอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร รู้สึกปวดท้อง หรือต้องการรับการตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารสามารถตรวจรักษาได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดีพร้อมด้วยโปรแกรมการรักษาโรคที่ครอบคลุม และคำวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างปลอดภัย ตรงจุด

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

วันนี้เราได้รวบรวมคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร พร้อมคำตอบสำหรับสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งกระเพาะอาหาร เพื่อสุขภาพการย่อยอาหารที่ดี

มะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้ายอยู่ได้นานแค่ไหน?

สำหรับมะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้าย การรักษาจะเน้นไปที่การประคับประคองเพื่อลดความทุกข์ทรมานและบรรเทาอาการ โดยทั่วไปมักมีระยะเวลาในการใช้ชีวิตต่อประมาณ 6-12 เดือน แต่ในบางรายที่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสมอาจอยู่ได้นานกว่านั้น

มะเร็งกระเพาะอาหารกับกรดไหลย้อนเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

โรคในระบบทางเดินอาหารมักมีอาการที่คล้ายกันในระยะแรกๆ เช่น ปวดท้อง จุกแน่น ท้องอืด อาหารไม่ค่อยย่อย คลื่นไส้ และเบื่ออาหาร ทำให้มักถูกมองข้ามคิดว่าเป็นโรคทั่วไป จึงควรสังเกตอาการผิดปกติอย่างต่อเนื่องและพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

ทำไมแผลในกระเพาะอาหารทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้?

แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากเยื่อบุกระเพาะถูกกรดและน้ำย่อยทำลาย มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori และการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน หากแผลเกิดจากเชื้อดังกล่าว และกลายเป็นแผลเรื้อรังหรืออักเสบบ่อยๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารสูงขึ้นถึง 3-6 เท่า

การตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหาร ทำได้อย่างไร?

การตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธีที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง สามารถตรวจสอบความผิดปกติก่อนเกิดเป็นมะเร็งได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรเข้ารับการตรวจทุก 3 ปี

“ภูมิใจที่ได้ดูแลคุณ”

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าที่

02-561-1111

02-058-1111


ทีมแพทย์มะเร็งกระเพาะอาหาร