โรคต่อมทอนซิลอักเสบถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมักมีอาการหลักคือกลืนลำบาก เจ็บคอ ปากมีกลิ่น หรือมีไข้ ไปจนถึงอาการอักเสบแบบเรื้อรัง ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับต่อมทอนซิลอักเสบ เพื่อให้คุณทราบถึงสาเหตุ อาการผิดปกติที่ต้องหมั่นสังเกต และวิธีการรักษาพร้อมคำแนะนำในการดูแลตัวเองเมื่อมีอาการทำอย่างไร เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น
ต่อมทอนซิลอักเสบคือภาวะต่อมทอนซิลบริเวณด้านหลังลำคอเกิดการอักเสบเนื่องจากติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยปกติต่อมทอนซิลทำหน้าที่ดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่พยายามเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร แต่เมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียขึ้น ต่อมทอนซิลจะทำงานได้ลดลง ส่งผลให้เชื้อโรคสะสมในบริเวณนี้มากขึ้นจนทำให้ต่อมทอนซิลบวมและเกิดการอักเสบตามมา
หากปล่อยให้เชื้อโรคลุกลามหรือมีอาการอักเสบบ่อยๆ ต่อมทอนซิลจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลง หายใจลำบาก และอาจเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตัน โดยเฉพาะขณะนอนหลับ มักมีอาการกรนเสียงดัง หรือสะดุ้งตื่นบ่อยครั้ง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็ก
โรคต่อมทอนซิลอักเสบมักพบในเด็กวัยก่อนเข้าเรียนและในวัยรุ่น โดยมีอาการสำคัญที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้
ในกรณีเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถบอกอาการได้อย่างชัดเจน ผู้ปกครองควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น
ต่อมทอนซิลอักเสบมีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง? โดยสาเหตุที่พบบ่อยมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักเป็นเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส (ชนิดเอ) ที่ทำให้เกิดอาการคออักเสบ และเชื้อสเตร็ปโตคอกคัสสายพันธุ์อื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบได้เช่นกัน รวมถึงสามารถติดต่อจากการหายใจ ไอ จาม หรือใช้ของร่วมกัน
กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบ แบ่งออกได้เป็นดังนี้
ในการวินิจฉัยต่อมทอนซิลอักเสบ แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด ดังนี้
การรักษาอาการต่อมทอนซิลอักเสบจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการอักเสบ โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธี
หากมีอาการไม่รุนแรง เช่น เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา เน้นการพักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารให้เพียงพอ โดยทั่วไปร่างกายจะฟื้นตัวเองได้ภายใน 2-3 วัน แต่ในกรณีมีอาการมากขึ้น เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นหนองควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยว่าเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยการรักษาต่อมทอนซิลอักเสบจะต้องกินยาอะไรบ้าง กี่วันหาย?
หากต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากเชื้อไวรัสแพทย์จะทำการรักษาตามอาการ ด้วยการกินยาอะไร ได้แก่ ยาลดไข้ ยาอมแก้เจ็บคอ หรือยาพ่นคอ หากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยากลุ่มเพนนิซิลิน รับประทานยาอย่างน้อย 7-10 วันเพื่อป้องกันการดื้อยาและภาวะแทรกซ้อน
ในกรณีที่มีอาการต่อมทอนซิลอักเสบรุนแรง เช่น เจ็บคอมากจนทานอาหารไม่ได้ มีไข้สูง อาจต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือและยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
แพทย์จะพิจารณาในกรณีที่มีอาการต่อมทอนซิลบวมโตมากจนขัดขวางทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก นอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีความสงสัยว่าต่อมทอนซิลอาจจะเป็นมะเร็ง และมีอาการอักเสบซ้ำหลายครั้ง
ในการผ่าตัดต่อมทอนซิลจะทำผ่านปากโดยใช้เครื่องมือพิเศษและดมยาสลบ ไม่มีแผลภายนอก หากสงสัยว่าการผ่าตัดนี้ต้องใช้เวลากี่วันจึงหายเป็นปกติ หลังจากผ่าตัดต่อมทอนซิลอักเสบผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บคอและแผลในลำคอประมาณ 1 สัปดาห์ ห้ามกินอะไรบ้าง? ช่วงแรกควรหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือหยาบ รวมถึงงดการไอแรงๆ หรือขากเสมหะที่อาจกระทบกับแผล
อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล 1-2 วัน และแพทย์จะทำการนัดติดตามผลหลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ และอีกครั้งในช่วง 2-4 สัปดาห์หลังผ่าตัด
ในการป้องกันโรคต่อมทอนซิลอักเสบ สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้
โรงพยาบาลวิภาวดีให้ความสำคัญกับโรคต่อมทอนซิลอักเสบของคนไทย ด้วยบริการแบบ One Stop Service ครบวงจร ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และรักษาด้วยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยต่อมทอนซิลอักเสบสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ และการรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดีนั้นดีอย่างไร
หากสังเกตอาการหรือสงสัยว่าคุณอาจมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับต่อมทอนซิลอักเสบ เช่น เจ็บคอจนกลืนลำบาก ปากเหม็น มีก้อนบวมบริเวณคอ สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี ที่อยู่ 51/3 ถ.งามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรงเทพฯ หรือโทรเพื่อนัดหมายก่อนเข้ารับการรักษาได้ที่เบอร์ 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 และสำหรับตัวแทนประกันชีวิต สามารถติดต่อผ่าน LINE: @vibhainsurance
โรคต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้ต่อมทอนซิลบวมแดงและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและอาจมีภาวะหายใจลำบากได้ โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ เจ็บคอ กลืนอาหารหรือน้ำลายลำบาก มีไข้ ต่อมทอนซิลบวมและโต กลุ่มเสี่ยงที่สามารถเป็นต่อมทอนซิลอักเสบได้ง่าย คือกลุ่มเด็กที่มีอายุไม่ถึง 10 ปี กลุ่มที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น โดยวิธีการรักษาสามารถทำได้ด้วยการทานยาหากมีอาการที่ไม่รุนแรงมาก แต่ในกรณีอาการรุนแรงควรรักษาด้วยการผ่าตัด
ทางโรงพยาบาลวิภาวดีมีบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยแพ็กเกจรักษาผ่าตัดต่อมทอนซิลทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหู คอ จมูกด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และมีสิทธิประกันที่ครอบคลุม
ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการแทรกซ้อน เราจึงรวบรวมคำถามที่พบบ่อยและคำตอบไว้เป็นแนวทางในการรับมือ ดังนี้
ต่อมทอนซิลอักเสบ มักมีสาเหตุส่วนใหญ่จากเชื้อไวรัส สามารถดูแลที่บ้านด้วยตัวเองได้ โดยอาการมักดีขึ้นภายใน 2-3 วันหรือหายเองภายใน 4-7 วัน วิธีดูแลตัวเองควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ลำคอชุ่มชื้น
อาหารที่คนเป็นต่อมทอนซิลอักเสบห้ามกินมีอะไรบ้าง ได้แก่ อาหารที่มีกรดออกซาลิกสูงจำพวกมะเขือเทศและซอสต่างๆ อาหารหมักดองที่มีปริมาณเกลือหรือน้ำส้มสายชูสูง เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่มีกรดซิตริกสูงอย่างสับปะรด ส้ม และอาหารที่มีน้ำมันมาก
ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม และเครื่องดื่ม เช่น น้ำอุ่น ชาที่ไม่มีคาเฟอีน และกลั้วปากด้วยน้ำเกลือแล้วบ้วนทิ้ง จะช่วยบรรเทาอาการเจ็๋บคอจากต่อมทอนซิลอักเสบและลดการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากอาการต่อมทอนซิลอักเสบไม่รุนแรง รักษาด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่เหมาะสม อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หากอาการรุนแรงขึ้นควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษา โดยยาปฏิชีวนะร่วมกับยาอื่นๆ และอาการจะดีขึ้นภายใน 3-7 วัน
นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบาย คุกกี้
Copyright © Vibhavadi Hospital. All right reserved