โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือโรคลูคีเมีย (Leukemia) คือโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ
  • อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดขึ้นได้ทั้งการปวดกระดูก ติดเชื้อบ่อย มีรอยฟกช้ำบ่อย เลือดกำเดาไหลง่าย อ่อนเพลียง่าย และมีภาวะต่อมน้ำเหลืองโต
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากปัจจัยพันธุกรรม การสัมผัสสารเคมี การฉายรังสี โรคทางพันธุกรรม การติดเชื้อบางชนิด
  • วิธีรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถทำได้โดยรักษาด้วยเคมี รักษาแบบเฉพาะเจาะจง ฉายรังสี บำบัดภูมิคุ้มกัน และการปลูกถ่ายไขกระดูก

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยในบทความนี้จะพูดถึงสาเหตุและการเกิดโรค ระยะเวลาในการรักษาของคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง พร้อมแนะนำข้อมูลการตรวจวินิจฉัยและการรักษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงขั้นตอนนัดหมายการรักษา สิทธิการรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดี

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว คืออะไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว คืออะไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือที่เรียกว่า โรคลูคีเมีย (Leukemia) คือโรคมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนในกระดูกเติบโตมากผิดปกติ ที่ทำลายระบบการสร้างเม็ดเลือดในร่างกาย จนทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดลง โดยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน (Acute Leukemia) และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia)

สังเกตอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สังเกตอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีอาการที่อาจพบในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงได้ ดังนี้

มีอาการเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ

  • มีไข้และมีเหงื่อออกมากในช่วงกลางคืน
  • ปวดบริเวณกระดูกหรือข้อต่อ
  • มีรอยฟกช้ำตามร่างกายหรือมีเลือดออกง่ายกว่าปกติ
  • ติดเชื้อบ่อย เช่น ติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • เกิดภาวะต่อมน้ำเหลือง ม้าม หรือตับโต
  • น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากอะไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากอะไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากอะไร? มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากหลายสาเหตุที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเติบโตผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุหลัก ดังนี้

  • อายุผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากขึ้น
  • พันธุกรรมกลุ่มคนที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม โรคพันธุกรรมอื่นๆ หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ก็ทำให้มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเม็ดเลือดขาวเช่นกัน
  • สารเคมีการสัมผัสกับสารเคมี เช่น เบนซีนและยาฆ่าแมลงบางชนิด
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัดเกิดจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมี อาจทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคได้
  • การได้รับรังสีการสัมผัสกับรังสี เช่น รังสีนิวเคลียร์ หรือรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสี เป็นต้น
  • ติดเชื้อไวรัสการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและลักษณะของเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้น คือแบ่งตามระยะเวลาเกิด คือมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia) ที่เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเติบโตอย่างรวดเร็ว และมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง (Chronic Leukemia) จะยังไม่แสดงอาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในระยะแรก มักใช้เวลาหลายปีจนกว่าจะเริ่มมีอาการ และการแบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลจีนัส (myelogenous leukemia) เกิดจากเซลล์ในกระดูกที่เติบโตมากเกินไป และมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซิติก (Lymphocytic Leukemia) เกิดจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเติบโตมากเกินไป

ผลกระทบของระยะโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีส่วนต่อการรักษา โดยระยะเริ่มต้นการรักษาจะไม่เข้มข้นมากนัก จะใช้ยากระตุ้นหรือติดตามอาการ แต่หากกรณีเซลล์มะเร็งลุกลาม การรักษาจะมีความเข้มข้น เช่น การใช้เคมีบำบัดหรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

กลุ่มไหนที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

กลุ่มไหนที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือโรคลูคีเมีย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มีบางกลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ เช่น

  • ผู้ชายอาจมีแนวโน้มเป็นลูคีเมียมากกว่าผู้หญิง สาเหตุจากปัจจัยทางพันธุกรรมและฮอร์โมน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่สัมผัสสารเคมีหรือติดเชื้อไวรัสขณะอยู่ในครรภ์แม่
  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง
  • คนที่เคยได้รับการฉายรังสีโรคมะเร็งหรือสัมผัสสารเคมีอันตราย
  • ผู้ที่ชอบสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • คนที่ครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง
  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม อย่างภาวะดาวน์ซินโดรม
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV หรือผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตนเอง

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

วิธีการตรวจวินิจฉัยของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count หรือ CBC) เพื่อตรวจจำนวนและลักษณะของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในร่างกายว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงหรือต่ำกว่าปกติ และการตรวจไขกระดูก โดยใช้เข็มเจาะและตัดชื้นเนื้อช่วงกระดูกสะโพกหรือหลังกระดูกเชิงกราน เพื่อตรวจสอบลักษณะและจำนวนของเซลล์มะเร็งในไขกระดูก

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

วิธีการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือโรคลูคีเมีย สามารถแบ่งวิธีการรักษาตามอาการได้ ดังนี้

1. การรักษาด้วยเคมีบำบัด

เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ด้วยการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือการรับประทานยา เพื่อให้ยาทำลายเซลล์มะเร็งหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งแผนการรักษาและชนิดของยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นคนกำหนด

2. การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง

เป็นแนวทางที่ใช้ยาที่ออกฤทธิ์กับเซลล์มะเร็งโดยตรง เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและทำลายเซลล์มะเร็งที่ผิดปกติ ช่วยให้ควบคุมการเกิดเซลล์มะเร็งได้นานกว่า และมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติในร่างกายน้อยกว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัด

3. การรักษาด้วยรังสี

รักษาด้วยการฉายรังสีทั่วร่างกาย หรือฉายรังสีเฉพาะส่วนของร่างกาย เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในร่างกายและป้องกันไม่ให้เซลล์เจริญเติบโต นอกจากนี้มักใช้ร่วมกับเคมีบำบัดเพิ่มเตรียมร่างกายก่อนการปลูกถ่ายไขกระดูก

4. การรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไขกระดูก

ปลูกถ่ายไขกระดูกโดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่แข็งแรงหรือไขกระดูกจากตัวผู้ป่วย ญาติพี่น้อง หรือผู้บริจาค มาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย เพื่อช่วยฟื้นฟูให้ร่างกายสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ที่แข็งแรง และฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้กลับมาทำงานเป็นปกติ

5. การรักษาด้วยวิธีบำบัดภูมิคุ้มกัน

เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยการรบกวนหรือหยุดกระบวนการที่เซลล์มะเร็งใช้ในการผลิตโปรตีน เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งสามารถป้องกันตัวเองจากการโจมตีของระบบภูมิคุ้มกันได้

วิธีป้องกันไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แม้จะไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ 100% แต่สามารถดูแลสุขภาพให้ดีเพื่อลดความเสี่ยงได้ เช่น หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี รังสี หรือสารก่อมะเร็งต่างๆ โดยไม่จำเป็น งดสูบบุหรี่และอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารกันบูดหรืออาหารแปรรูป ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง หมั่นตรวจสุขภาพและเช็กความผิดปกติของเม็ดเลือดเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้การพักผ่อนให้เพียงพอก็สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันเช่นกัน

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

ที่โรงพยาบาลวิภาวดีมีให้บริการแบบ One Stop Service โดยให้บริการทางแพทย์แบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยจนถึงขั้นตอนการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์การรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เข้ารับบริการ

การตรวจวินิจฉัย

ที่โรงพยาบาลวิภาวดีมีบริการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและแม่นยำ เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินและวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษา

มีแนวทางการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ครอบคลุมทุกด้าน เช่น การให้ยาเคมีบำบัด การรับประทานยาระหว่างการรักษา การรักษาแบบมุ่งเป้า หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด

ทีมแพทย์

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วย ที่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ข้อมูลการนัดหมาย

ผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจหรือรับคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่โรงพยาบาลวิภาวดี สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ โทร 02-561-1111 หรือ 02-058-1111 กด 1221 หรือ 1222 โดยเปิดให้บริการทุกวันอังคารและพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา เวลา 17:00 - 20:00 น.

สิทธิการรักษาและค่าใช้จ่าย

โรงพยาบาลวิภาวดีให้บริการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวภายใต้สิทธิการรักษาต่างๆ ได้แก่ ประกันสุขภาพเอกชน การชำระค่ารักษาด้วยตนเองตามอัตราค่าบริการของโรงพยาบาล การเสียค่าใช้จ่ายที่ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาที่เลือก และแพ็คเกจหรือโปรโมชั่นที่โรงพยาบาลให้บริการ

สรุป

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือโรคลูคีเมีย เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวในกระดูกเจริญเติบโตผิดปกติ จนทำให้ระบบการสร้างเม็ดเลือดเสียหาย โรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดได้จากปัจจัยพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม มักพบได้ในคนทุกเพศทุกวัยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากสภาวะโรคอื่นๆ การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และการหลีกเลี่ยงสารเคมีอันตราย จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาหรือเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทางโรงพยาบาลวิภาวดีมีบริการในการวินิจฉัยและรักษาที่ครบวงจร พร้อมทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาและดูแลผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

รวบรวมคำถามที่ผู้คนมักสงสัยเพื่อให้เข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างถูกต้อง

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวรักษาให้หายขาดได้ไหม?

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ความรุนแรง และการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย หากเข้ารับการรักษาไว ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากปล่อยจนเซลล์มะเร็งลุกลามก็จะทำให้การรักษาให้หายขาดเป็นไปได้ยากมากขึ้น

เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวห้ามกินอะไร?

หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สะอาดหรืออาหารดิบ อาหารแปรรูป อาหารที่มีไขมันสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารไหม?

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเองไม่ได้เป็นสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงโดยตรงที่ทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร ยกเว้นการรักษาหรือภาวะสุขภาพที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลอดอาหารได้

ควรทำอย่างไรหากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว?

หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดอาจเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ควรสังเกตอาการว่ามีอาการไหนที่บ่งบอกหรือไม่ หากคิดว่าใช่ ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

“ภูมิใจที่ได้ดูแลคุณ”

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าที่

02-561-1111

02-058-1111


ทีมแพทย์โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว