โรคกรดไหลย้อน

  • โรคกรดไหลย้อน (GERD) เป็นภาวะที่กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและระคายเคืองในหลอดอาหารหรือคอ
  • อาการของโรคกรดไหลย้อน มีอาการได้ทั้งแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย ไอเรื้อรัง เสียงแหบ และมีความรู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้ออยู่ในลำคอ
  • โรคกรดไหลย้อนเกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ดี เช่น ทานอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร รวมถึงเกิดจากภาวะโรคอ้วน และภาวะตั้งครรภ์
  • วิธีรักษาโรคกรดไหลย้อน สามารถรักษาได้โดยการปรับพฤติกรรมการกิน และการใช้ยาลดกรด หากเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจต้องใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดหูรูดหลอดอาหาร

เมื่อพูดถึงอาการกรดไหลย้อน หลายคนอาจมองว่าเป็นอาการทั่วไปเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาก็อาจส่งผลต่อร่างกายได้ ซึ่งโรคกรดไหลย้อนคืออะไร? เกิดจากอาหารไม่ย่อยจริงหรือไม่? ต้องใช้เวลารักษานานแค่ไหนและใครบ้างที่ควรระวังเป็นพิเศษ?

บทความนี้จะพาคุณเจาะลึกถึงสาเหตุ อาการ วิธีตรวจวินิจฉัย และแนวทางการรักษาจากทีมแพทย์ พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการนัดหมาย สิทธิการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลวิภาวดี เพื่อให้คุณได้รับแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

โรคกรดไหลย้อน คืออะไร

โรคกรดไหลย้อน คืออะไร

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) หมายถึงภาวะที่กรดหรือแก๊สในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารจนทำให้เกิดอาการแสบร้อนหน้าอกหรือหลอดอาหารระคายเคือง ซึ่งโรคกรดไหลย้อนแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่ โรคกรดไหลย้อนธรรมดา (GERD - Gastroesophageal Reflux Disease) และโรคกรดไหลย้อนที่ขึ้นมาคอและกล่องเสียง (LPR - Laryngopharyngeal Reflux)

อาการของโรคกรดไหลย้อนเป็นอย่างไร

อาการของโรคกรดไหลย้อนเป็นอย่างไร

หากสงสัยว่าตนเองอาจเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ ก็สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ง่ายๆ ดังนี้

  • มีความรู้สึกเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
  • แสบร้อนบริเวณกลางอกและลิ้นปี่หลังรับประทานอาหาร
  • อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้และอยากอาเจียนหลังรับประทานอาหาร
  • มีอาการเรอเปรี้ยว รู้สึกเปรี้ยวขมหรือขมในปากและคอ
  • ไอเรื้อรังหรือระคายเคืองคอ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • เสียงแหบ หรือเจ็บคอ จากกรดที่ระคายเคืองกล่องเสียง

สาเหตุโรคกรดไหลย้อนเกิดจากอะไร

สาเหตุโรคกรดไหลย้อนเกิดจากอะไร

โรคกรดไหลย้อนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการรับประทานอาหารด้วยความเร่งรีบ ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารได้ทัน และส่งผลให้โรคเกิดกรดไหลย้อน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการ ดังนี้

  • ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารหากหลอดอาหารบีบตัวช้าหรือทำงานไม่ปกติ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวช้าลง หรือทำให้อาหารไหลย้อนขึ้นมาค้างในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารเมื่อกระเพาะอาหารบีบตัวไม่ดี ส่งผลให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ และทำให้กรดจากกระเพาะไหลย้อนเข้าหลอดอาหารมากขึ้น
  • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเช่น การดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลม สูบบุหรี่ นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ทานอาหารในปริมาณมากต่อหนึ่งมื้อ ทานอาหารรสจัดมากเกินไป และความเครียด
  • โรคอ้วนการมีน้ำหนักเกินจะทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องและทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาได้ง่ายขึ้น
  • การตั้งครรภ์ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง รวมถึงมดลูกที่ขยายตัวจะเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร ทำให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นมา

การแบ่งระยะของโรคกรดไหลย้อน

การแบ่งระยะของโรคกรดไหลย้อน

การแบ่งระยะของโรคกรดไหลย้อนแบ่งได้ 4 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 จะมีอาการเสียดท้อง เรอเปรี้ยว และแสบร้อนบริเวณหน้าอก มักจะเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง
  • ระยะที่ 2 มีอาการท้องอืด หายใจไม่ทั่วท้อง เหนื่อยง่าย และปวดตึงที่คอ บ่า ไหล่ เกิดขึ้นบ่อยขึ้น ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ระยะที่ 3 เกิดขึ้นต่อเนื่องและมีความรุนแรง เช่น ไอเรื้อรัง รู้สึกคลื่นไส้ และสำลักอาหารบ่อยๆ ทำให้เริ่มเกิดแผลในหลอดอาหาร
  • ระยะที่ 4 อาการจะรุนแรงขึ้นจากระยะ 3 และเริ่มมีภาวะแทรกซ้อน ที่ทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร

ผลกระทบของระยะโรคกรดไหลย้อนต่อแนวทางการรักษา คือในระยะแรกสามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทานยาลดกรด หากอยู่ในระยะที่ 2 และ 3 ควรพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยแพทย์จะจ่ายยาลดกรดกลุ่ม PPIs เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนในระยะที่ 4 จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็ง

กลุ่มไหนที่เสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน

กลุ่มไหนที่เสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ทุกเพศและทุกกลุ่มอายุ ได้แก่ เด็กทารกถึงเด็กโต ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ผู้ที่รับประทานอาหารแล้วนอนทันที ผู้ที่ชอบทานอาหารรสจัดเป็นประจำ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง รวมถึงผู้ป่วยที่ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงหรือยาต้านโรคซึมเศร้า

การตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน

การตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน

การตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนเริ่มต้นด้วยการซักประวัติและสอบถามอาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการเรอเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก ท้องอืด พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ยา และโรคประจำตัวต่างๆ ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อสาเหตุของการเกิดโรค เช่น ตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร ตรวจด้วยการเอกซเรย์ และตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น

การรักษาโรคกรดไหลย้อน

การรักษาโรคกรดไหลย้อน

การรักษาโรคกรดไหลย้อน สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการปรับพฤติกรรมการกิน การใช้ยา และการรักษาทางการแพทย์ ดังนี้

  1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทานอาหาร โดยทานอาหารในปริมาณพอเหมาะ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน
  2. ทานยาตามแพทย์สั่ง เช่น ทานยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในระยะสั้น หรือทานยา Proton Pump Inhibitors (PPIs) เพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อนที่รุนแรง
  3. การผ่าตัดหรือการรักษาทางการแพทย์ โดยการผ่าตัดเย็บหูรูดหลอดอาหารโดยไม่ต้องผ่าตัด (หรือ TIF) หรือการผ่าตัดหูรูดหลอดอาหาร

วิธีป้องกันไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน

การควบคุมพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตเป็นวิธีสำคัญในการป้องกันโรคกรดไหลย้อน โดยควรรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารผลิตกรดมากเกินไป หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว และควรเดินย่อยหรือรอประมาณ 2-3 ชั่วโมงเพื่อป้องกันกรดไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร งดอาหารรสจัดและเครื่องดื่มที่กระตุ้นกรดไหลย้อน เช่น แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และน้ำอัดลม นอกจากนี้การหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดรูปจะช่วยลดความดันในช่องท้อง และการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยลดแรงกดที่กระเพาะอาหาร

การรักษาโรคกรดไหลย้อน ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

การรักษาโรคกรดไหลย้อน ที่โรงพยาบาลวิภาวดี

สำหรับผู้ที่ต้องรับการรักษาโรคกรดไหลย้อนทางโรงพยาบาลวิภาวดีมีให้บริการการรักษาในรูปแบบ One Stop Service ซึ่งผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาได้ทั้งในระยะเริ่มต้นและกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน โดยไม่ต้องไปหลายที่ให้ยุ่งยาก

การตรวจวินิจฉัย

เริ่มต้นการรักษาด้วยการสอบประวัติและอาการของผู้ป่วย พฤติกรรมการกินอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น และตรวจร่างกายเพื่อหาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกรดไหลย้อน

การรักษา

มีวิธีการรักษาที่ครอบคลุมทั้งในระยะเริ่มต้นและกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การส่องกล้องหลอดอาหาร หรือการตรวจการทำงานของหูรูดหลอดอาหาร เป็นต้น

ทีมแพทย์

ได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร เพื่อให้การรักษาโรคกรดไหลย้อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลการนัดหมาย

ผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจหรือรับคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนที่โรงพยาบาลวิภาวดี สามารถโทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร โทร 02-058-111 หรือ 02-561-1111 ต่อ 4525 หรือ 4534 โดยเปิดให้บริการทุกวันวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07:00 - 20:00 น. และ วันเสาร์-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08:30 - 19:30 น.

สิทธิการรักษาและค่าใช้จ่าย

ที่โรงพยาบาลวิภาวดีมีสิทธิการรักษาและค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาโรคกรดไหลย้อนที่ครอบคลุม ทั้งสิทธิประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจวินิจฉัย ค่ายา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามรูปแบบการรักษาพยาบาล

สรุป

โรคกรดไหลย้อน (GERD) เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและระคายเคืองในหลอดอาหาร โดยในระยะเริ่มต้นจะมีอาการอืดท้อง รู้สึกอาหารไม่ย่อย หากไม่รักษาอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบ หรือแผลในหลอดอาหาร จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายอย่างมะเร็งหลอดอาหารได้ จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารให้พอเหมาะ และเดินย่อยหลังรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน

ผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อนสามารถเข้ารับการตรวจรักษาได้ที่โรงพยาบาลวิภาวดีด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหาร และเครื่องมือวินิจฉัยที่ทันสมัย ที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเพื่อช่วยให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนได้มากขึ้น ดังนี้

โรคกรดไหลย้อนรักษาให้หายขาดได้ไหม?

โรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาให้ดีขึ้นหรือหายได้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและโรคประจำตัวของแต่ละคน หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

เป็นโรคกรดไหลย้อนห้ามกินอะไร?

ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อน ได้แก่ ช็อกโกแลต ของทอด อาหารรสจัด อาหารฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารที่มีไขมันสูง ผลไม้รสเปรี้ยว กระเทียม หัวหอม และมะเขือเทศ

โรคกรดไหลย้อนเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารไหม?

อาการของกรดไหลย้อนจะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดอาหาร กล่องเสียง และช่องคอ หากมีอาหารเรื้อรังเป็นเวลานานอาจทำให้เยื่อบุผิวของหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะหลอดอาหารบาร์เรต และนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้

ควรทำอย่างไรหากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคกรดไหลย้อน?

หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคกรดไหลย้อน ควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้น เช่น แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว หรือมีอาการคลื่นไส้หลังทานอาหาร หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการในขั้นต่อไป

“ภูมิใจที่ได้ดูแลคุณ”

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าที่

02-561-1111

02-058-1111


ทีมแพทย์โรคกรดไหลย้อน