อาหารเพิ่มน้ำนมมารดาหลังคลอด

อาหารเพิ่มน้ำนมมารดาหลังคลอด                   หัวใจสำคัญของคุณแม่หลังคลอด ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละวันได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะถ้าคุณแม่กินอาหารเพียงพอ สุขภาพแข็งแรง ไม่เครียด น้ำนมจะเพียงพอสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะควรเลือกรับประทานผัก 5 ชนิด เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม ได้แก่ หัวปลี มีธาตุเหล็กมากช่วยบำรุงน้ำนมได้ดี เมนูแนะนำ แกงเลียง ยำหัวปลี ทอดมันหัวปลี ต้มข่าไก่ใส่หัวปลี หัวปลีชุบแป้งทอด ต้มหัวปลีจิ้มน้ำพริก หรือปลาผัดพริกไทยดำ ขิง ช่วยขับเหงื่อขับลม ไล่ความเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร ซึ่งแม่หลังคลอดยังมีน้ำคาวปลาอยู่ การกินขิงทำให้ร่างกายอบอุ่น ได้แก่ มันต้มขิง ปลาผัดขิง ดื่มน้ำขิงอุ่นๆ แทนน้ำเปล่า เต้าฮวยน้ำขิง ใบกะเพรา มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงธาตุ เพิ่มน้ำนม ได้แก่ กะเพราหมู  ปลา ไก่ ไม่เผ็ด ต้มจืดใบกะเพราหมูสับ ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ได้แก่ แกงเลียง ฟักทองนึง ผัดฟักทองใส่ไข่ ฟักทองแกงบวด กุยช่าย ทั้งต้นและใบ ช่วยบำรุงน้ำนม ได้แก่ กินร่วมกับผัดไทย กุยช่ายทอด ผัดกุยช่ายใส่ตับ กุยช่ายผัดกุ้ง                 นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก การให้อาหารอื่นก่อนวัยอันควร เป็นการให้สิ่งที่แปลกปลอม เพราะร่างกายทารกไม่สามารถย่อยได้ อาจทำให้เด็กท้องอืด หรือเด็กมีอาการแพ้ได้ คุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน โดยไม่กินอย่างอื่นเลย แม้แต่น้ำ การให้นมลูก คุณแม่ควรอุ้มลูกไว้ในอ้อมกอด เป็นเสมือนการสร้างความสัมพันธ์สายใยรักที่ดีกับลูกด้วย ลูกได้รับภูมิคุ้มกัน อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ สำหรับคุณแม่ที่อยากกลับมาหุ่นดีและกระชับ ขอย้ำว่ายังไม่ต้องลดปริมาณอาหารพลังงานสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรประมาณ 2,500 Kcal/day เพิ่มขึ้นมากกว่าตอนตั้งครรภ์ เพราะลูกยังกินนมแม่อยู่ จึงควรรับประทานอาหารที่เหมาะสม คุณแม่หลังคลอดบุตรควรเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารหมักดองต่างๆ ควรงดการดื่มน้ำเย็น น้ำอัดลมต่างๆ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ในช่วงการระบาดของCOVID-19 ปกป้องปอดเต็มที่แล้วหรือยัง ? #ลืมอะไรไปหรือเปล่า ?

 ลืมอะไรก็ลืมได้…แต่จะลืมฉีดวัคซีนป้องกัน “โรคปอดอักเสบ” ไม่ได้!!!!  เพราะวัคซีนป้องกัน “โรคปอดอักเสบ” เป็นอีกหนึ่งวัคซีนสำคัญ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 (1) โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น “โรคปอดอักเสบ” จากเชื้อนิวโมคอคคัส - เสี่ยงด้วยอายุ : เป็นผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (2) - เสี่ยงด้วยโรคประจำตัว (3)  : เป็นผู้มีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ. โรคตับ, โรคไต, โรคปอด, โรคมะเร็ง เป็นต้น - เสี่ยงด้วยพฤติกรรม (3) : เป็นผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ หรือมีโรคพิษสุราเรื้อรัง โดยผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส มักมีอาการ (4)  ปวดหัว, เจ็บคอ, ไข้สูง, หนาวสั่น, หอบ, หายใจลำบาก, ไอมีเสมหะ และสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านการไอ และจาม ความรุนแรงของ “โรคปอดอักเสบ” จากเชื้อนิวโมคอคคัส ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานถึง 12 วัน อาจต้องมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือพักฟื้นในห้อง ICU มากถึง 10 วัน (5) โดยผู้ป่วยสูงอายุ มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือด และมีโอกาสเสียชีวิตถึง 23% (6)  เสี่ยงทำไม? ในเมื่อป้องกันได้ด้วยวัคซีน วิธีป้องกัน “โรคปอดอักเสบ” จากเชื้อนิวโมคอคคัส คือ การล้างมือให้สะอาด, สวมหน้ากากอนามัย, หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด  และที่สำคัญ! ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับวัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ เว้นระยะห่าง1 ปี แล้วฉีดวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ (7) ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง มีคำแนะนำการฉีดวัคซีนที่อาจแตกต่างจากคนทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนรับวัคซีน ในช่วงการระบาดของCOVID-19 ปกป้องปอดเต็มที่แล้วหรือยัง ? #ลืมอะไรไปหรือเปล่า ? COVID-19 ไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดปอดอักเสบในผู้ใหญ่ได้บ่อยได้แก่ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส(1)  เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคออยู่แล้ว(2) เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือมีการติดเชื้อไวรัส จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อนิวโมคอคคัสนี้แพร่กระจายไปที่ปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ(3)     เราจึงพบการติดเชื้อนิวโมคอคคัสร่วมกับโควิด-19 และ ไข้หวัดใหญ่ได้(4,5) #องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสและวัคซีนไข้หวัดใหญ่  เช่นเดียวกับวัคซีนโควิด-19 ในช่วงวิกฤต COVID-19 (6) คำแนะนำการฉีดวัคซีน สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ (7) - วัคซีนปอดอักเสบ: ฉีดวัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ก่อน เว้นระยะห่าง1 ปี แล้วฉีดวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ - วัคซีนไข้หวัดใหญ่: ฉีดปีละ 1 เข็ม - วัคซีนปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดในวันเดียวกันได้ (8) ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง มีคำแนะนำการฉีดวัคซีนที่อาจแตกต่างจากคนทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนรับวัคซีน หากมีนัดฉีดวัคซีนโควิด-19 เร็วๆนี้ จะสามารถฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่    - ได้ ควรฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ก่อนวันนัดวัคซีนโควิดอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ (9) หากฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว จะสามารถฉีดวัคซีนปอดอักเสบหรือไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ - ได้ สามารถฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ห่างจากวัคซีนโควิด 2-4 สัปดาห์ (9) ลดความสับสน! ลดการแพร่กระจายเชื้อ! สร้างภูมิคุ้มกันให้ครบถ้วน ในช่วงวิกฤติโควิด-19 2 เชื้อร้ายคล้ายโควิด ที่ไม่ควรมองข้าม #ฉันติดยังนะ ทั้งเชื้อนิวโมคอคคัสและไข้หวัดใหญ่ ก็ทำให้เรามีอาการไข้ ไอ หอบ หายใจลำบาก และรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้เช่นเดียวกับโควิด-19  อีกทั้งกลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อยังเป็นกลุ่มเดียวกันคือ -ผู้สูงอายุ -ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอด โรคมะเร็ง อย่าให้คนที่เรารักต้องเสี่ยงกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส, COVID-19, ไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อร่วมกันได้จริงหรือ? ยกการ์ดด้วยวัคซีนปอดบวม ป้องกันติดเชื้อร่วมโควิด19 เชื้อนิวโมคอคคัสที่เป็นสาเหตุหลักของปอดบวมหรือปอดอักเสบ (1) มีโอกาสติดเชื้อร่วมกับ COVID-19 และ ไข้หวัดใหญ่ได้ในช่วงวิกฤติ COVID-19 นี้ โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส รุนแรงหรือไม่? โควิดทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง นิวโมคอคคัสก็เช่นกัน โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว (1) ผู้ป่วยมักมีอาการ ไข้ ไอ หอบ หายใจลำบาก เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาตัวที่บ้านเหมือนไข้หวัดทั่วไป จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในรพ.นานเป็นสัปดาห์ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือนอนห้อง ICU บางรายมีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูง      

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอเหมาะสมก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไอเดรต ไขมันและน้ำ อย่างเพียงพอ  สำหรับผู้ป่วยมะเร็งผลข้างเคียงของอาการรักษาอาจจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาการเหล่านั้นคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูกแสบปาก กลืนลำบาก และเจ็บปากเมื่อกลืนอาหาร ยารักษามะเร็งอาจมีผลลดความอยากอาหารลง สิ่งเหล่านำไปสู่ปัญหาทางโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภุมิต้านทานลดลงและติดเชื้อง่าย ไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้ ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากเสียชีวิตจากการขาดอาหาร มากกว่าการลุกลามของโรค ทำไมผู้ป่วยมะเร็งจึงขาดสารอาหาร ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เซลล์มะเร็งจะสร้างสารเคมีบางอย่างมำให้เผาผลาญอาหารได้โดยเร็ว รับประทานอาหารได้น้อยในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากจะเบื่ออาหาร เมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย การเบื่ออาหารจึงเป็นสาเหตุทำให้ขาดสารอาหารได้ง่ายขึ้น ทำอย่างไรจะทำให้รับ ประทานอาหารได้มากขึ้นได้ ไม่รับประทานอาหารบางชนิด  ปัญหาการที่ไม่รับประทานอาหารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเข้าใจว่าเป็นอาหารแสลงต่อโรคมะเร็ง ยังเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งขาดสารอาหาร ผู้ป่วยที่รักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดมักมีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นบางช่วง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ควรระวังความสะอาดของอาหาร ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร และการหยิบอาหารสดบางประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ปลาดิบ ไข่สด ต้องล้างมือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการปรุงประกอบอาหาร ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาด อาหารที่ปรุงสุกแล้วเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การรับประทานอาหารนอกบ้านควรดูแลความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น สลัดผัก อาหารยำ น้ำแข็ง น้ำดื่มไม่สะอาด อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถกินอาหารได้พอสมควร ควรกินตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพดีของคนไทย ดังนี้ กินอาหารในครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย หมั่นดูแลน้ำหนักตัวเองให้อยู่ในมาตรฐาน ไม่ผอมเกินไป กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เลือกรับประทาน ข้าวกล้อง+ข้าวไร้เบอรี่+ข้าวแดง จะได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า กินผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำกินให้หลากสี ผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง ผักโขม บล็อคโคลี่ จะสร้างภูมิคุ้มกันโรค และต้านมะเร็งได้ การกินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ เป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ควรกินบ่อย การกินไข่ถ้าไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงรับประทานได้วันละ1ฟอง แต่ถ้าเป็นไขมันในเลือดสูงควรกินเฉพาะไข่ขาว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ลดการรับประทานเนื้อแดง และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการเติมสารกันบูด เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง แหนม เพราะมีการวิจัยพบว่ามีส่วนกระตุ้นเซลล์มะเร็ง การดื่มนมเพื่อบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยควรดื่มนมสดหรือนมพร่องมันเนยวันละ1-2แก้ว กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร เช่น กินอาหารทอด ผัก แต่พอควร หลีกเลี่ยงอาหารทอดจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันทอดซ้ำ อาหารปิ้ง ย่าง(ไม่ดำไหม้เกรียม) เลือกอาหารประเภทต้มนึ่ง แกงที่ไม่ใส่กะทิ เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด หลีกเลี่ยงการกินอาหารหวานจัด เค็มจัด เพราะถ้ากินหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน กินเค็มจะเสี่ยงเป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เพราะอาหารที่ไม่ปรุงสุก และปนเปื้อนเชื้อโรค และสารเคมีต่างๆ เช่น สารบอแรกซ์ สารกันรา สีย้อมผ้า สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และยาหฆ่าแมลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ และเป็นผลเสียต่อโรคมะเร็ง งดหรือลด เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ มีส่วนทำให้เกิดโรคร้ายมากมาย **ในผู้ป่วยมะเร็งมีปัญหาเฉพาะด้านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ ควรปรับการรับประทานอาหารตามอาการที่ปรากฎ เบื่ออาหาร เลือกอาหารที่ผู้ป่วยพอรับประทานได้ กลิ่น รสไม่จัด เช่นขนมปังกรอบ กินเป็นอาหารว่าง กินทีละน้อย แต่กินบ่อย คลื่นไส้ ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด เลี่ยงอาหารที่มันเยิ้ม มีกลิ่นฉุน รับประทานอาหารแห้งประเภทแครกเกอร์ ขนมปังกรอบ อาหารที่เสิร์ฟไม่ปรุงรส ให้มีรสหวานตามธรรมชาติ ไม่ใส่เครื่องเทศ อาเจียน จัดอาหารเหลวใสทุก 10-15 นาที หลังจากอาเจียน เช่น น้ำซุปใส น้ำหวาน น้ำผลไม้ ยกหัวให้สูงเพื่อเอนหลัง หรือการใช้ยาลดการอาเจียน อิ่มเร็ว ให้เครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นดื่มระหว่างมื้อ เช่น เสริมนมทางการแพทย์ เลี่ยงการกิน อาหารมันๆ  ของทอด  เนื่องจากย่อยยาก กินอาหารเป็นมื้อเล็กๆหลายมื้อ การรับรสเปลี่ยน กลั้วคอหรือลิ้นก่อนรับประทานอาหาร ใช้น้ำมะนาวช่วย เมื่อลิ้นขม บางครั้งอาจจะทานเป็นอาหาร ปากแห้ง รับประทานอาหารอ่อนที่มีน้ำมาก เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยวน้ำ อมลูกอม ไอศครีม รับประทานอาหารหวานจัด จิบน้ำบ่อยๆ มีแผลในช่องปาก เจ็บปากและลิ้น ไม่รับประทานอาหารที่เป็นกรดหรือเปรี้ยว เครื่องเทศ เผ็ดร้อน อาหารเค็ม อาหารหยาบแข็ง ระวังเลือดออกในช่องปาก ให้อาหารที่เคี้ยวกลืนง่าย ได้แก่ ข้าวต้ม โจ๊กผสมผัก กล้วยสุก แตงโม วุ้น พุดดิ้ง ไข่ลวก  ข้าวโอ๊ต เสิร์ฟอาหารต้องไม่ร้อนหรืออุณหภูมิห้อง ท้องเสีย แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอ เสริมเครื่องดื่มเกลือแร่ งดการดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมประมาณ1สัปดาห์ หรือจนกว่าหยุดถ่าย งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลม ท้องผูก แนะนำให้รับประทานใยอาหาร 25-35กรัมต่อวัน เช่น กินผัก ผลไม้ ธัญพืชเมล็ดมากๆ ดื่มน้ำ8-10แก้ว หรือน้ำลูกพรุน น้ำผลไม้อุ่นๆ เดินและออกกำลังกาย หรือปรึกษาแพทย์ อาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ถั่วแดง ธัญพืชไม่ขัดสี ซีเรียล ข้าวโพด ผักสด ผลไม้ หน่อไม้ฝรั่ง คื่นช่าย ถั่วลันเตา มะเขือ อาหารสุกสะอาด ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวต่ำมาจากหลายสาเหตุ เช่น การฉายแสง เคมีบำบัด และจากตัวโรค ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรรับประทานอาหารปรุงสุกทันที เก็บรักษาอุณหภูมิเหมาะสม ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกสะอาด ระวังเชื้อราจากผลไม้ ล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่เชื้อ น้ำลายเหนียว ทำให้ฟันผุง่าย ให้อาหารที่มีน้ำปกติ เครื่องดื่มที่มีกรดซิตริก น้ำผลไม้ปั่น เลี่ยงการรับประทานขนมปัง นม เจลาติน แอลกอฮอล์ ดูแลสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอ น้ำหนักลด เพิ่มแคลอรี่และโปรตีนในอาหาร รับประทานไขมันดีต่อสุขภาพ เพิ่มอาหารทางการแพทย์ อ่อนเพลีย ให้อาหารอ่อนๆ เคี้ยวน้อยที่สุด พักผ่อนให้เพียงพอ หรือให้อาหารทางสายให้อาหาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด                 โรคหลอดเลือดหัวใจ หมายถึง โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่ตีบแคบอุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง จากไขมันคอเลสเตอรอลจับบริเวณเซลล์กล้ามเนื้อเรียบในหลอดเลือด ทำให้เกิดการอุดตัน จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก                 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ กรรมพันธุ์ ความเครียด ภาวะหมดประจำเดือน ไม่ค่อยออกกำลังกาย ผู้ชายอายุ > 45 ปี ผู้หญิงอายุ > 55 ปี                 อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จำกัดไขมันและอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง การควบคุมอาหารประเภทไขมันจะช่วยลดและชะลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจได้ 1.1 รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวลดลง กรดไขมันอิ่มตัวพบมากในไขมันสัตว์ และไขมันจากพืชบางชนิด เช่น ปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และพบได้ในนม เนยชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีไขมันสูง เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ แฮม กุนเชียง 1.2 รับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้เพียงพอ ควรจะรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด 1.3 รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงลดลง อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงมักพบในไขมันสัตว์ ขาหมู ข้าวมันไก่ หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ไข่แดง อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ยกเว้นปลาทะเล เนื่องจากไขมันต่ำ อาหาร Fast food เช่น พิซซ่า เบอร์เกอร์ รวมถึงเบเกอรี่ต่างๆ เช่น คุ้กกี้ เค้ก หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด หวานจัด โดยการเลี่ยงหรืองดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส ซอสปรุงรส อาหารรสจัด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเค็ม ผักดองเค็ม ผลไม้ดอง รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงเป็นประจำ อาหารที่มีกากหรือใยอาหารสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมัน ป้องกันท้องผูก ช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการเกิดโรคหัวใจ ข้าวที่มีใยอาหารมาก ได้แก่  ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท จมูกข้าว หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา-กาแฟ น้ำอัดลม เนื่องจากมีสารคาเฟอีน ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาหารสำหรับผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

อาหารสำหรับผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม             การบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างไตทางหน้าท้อง จำเป็นต้องบริโภคพลังงานและโปรตีนให้เพียงพอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสูญเสียโปรตีนไประหว่างฟอกเลือดล้างไตประมาณ 1-2กรัม และ6-12กรัมต่อวัน ตามลำดับ ผู้ป่วยต้องรับประทานโปรตีนเพื่อชดเชยส่วนที่เสียไป โปรตีนเพิ่ม1.1-1.4กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องควรรับประทานโปรตีนและพลังงานให้เพียงพอ อาจจะทำให้ผู้ป่วยขาดโปรตีนและพลังงาน หรือ Protein Energy Wasting (PEW)ได้             ภาวะขาดโปรตีนและพลังงาน             กลไกลการเกิดภาวะ PEW นั้น เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย และต่อมไร้ท่อ การเพิ่มขึ้นของของเสีย การอักเสบของร่างกาย โรคร่วมเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ รวมถึงการฟอกเลือดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะ PEWได้ นอกจากจะทำให้อ่อนแรงแล้ว ยังส่งผลถึงดัชนีภาวะโภชนาการในเลือด เช่น Albumin , Pre - albumin และ cholesterol กล้ามเนื้อลดลง ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต การติดเชื้อทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลง             รายงานจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดทดแทนไต ที่จำนวนภาวะ  PEW สูงถึงร้อยละ8-33 เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ไม่ว่าจะเป็นวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตทางหน้าท้อง จำเป็นต้องรักษาภาวะกรด-ด่างในเลือดให้อยู่ในระดับเหมาะสม และที่สำคัญจะต้องรับประทานอาหารให้เพียงพอทั้งพลังงานและโปรตีน  โดยเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี จากเนื้อสัตว์ เช่น ไข่ขาว ปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ โปรตีน ที่ควรได้รับต่อวัน ไข่ขาว4-6ฟองต่อมื้อ หรือเนื้อสัตว์ ไขมัน มื้อละ4-6ช้อนโต๊ะ จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย             โปรตีนอัลบูมิน โปรตีนอัลบูมินในเลือดมีความสำคัญต่อการป้องกันการบวนน้ำ สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ควรบริโภคให้เพียงพอ จึงจะเกิดประโยชน์             ฟอสฟอรัส พบมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง และเนื้อสัตว์บางชนิด ถ้าฟอรัสผิดปกติ จะส่งผลต่อกระดูกทำให้กระดูกเปราะบางหักง่าย และภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง             กรดไขมันโอเมก้า3 เนื้อปลา ช่วยลดการอักเสบ และลดความเสี่ยงจากหัวใจและหลอดเลือด ควรรับประทานปลาอย่างน้อย1มื้อต่อวัน ปริมาณ100กรัม เพิ่มได้รับโอเมก้า3             น้ำและของเหลว ชั่งน้ำหนักตอนเช้าทุกวัน น้ำหนักควร เพิ่มไม่เกิน0.5 กิโลกรัม/วัน ถ้าเพิ่ม1กิโลกรัม/วัน แสดงว่ามีภาวะ ต้องจำกัดน้ำ  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การควบคุมอาหารกับโรคความดันโลหิตสูง

การควบคุมอาหารกับโรคความดันโลหิตสูง             การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันความดันโลหิตสูง สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยน้ำหนักตัวที่ลดลง 10 กิโลกรัม จะลดความดันโลหิตซิสทอลิค (ความดันช่วงหัวใจบีบตัว) ได้โดยเฉลี่ย 5-20 มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็ควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ต่อไป ควบคุมดัชนีมวลกาย = 18.5-22.9 Kg/m2 ลดการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง กิจกรรมการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ การรับประทานอาหารในรูปแบบ DASH Diet การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนมที่ไขมันต่ำ รวมถึงการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว การจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชายไม่เกิน 2 ดริ๊ง/วัน ผู้หญิงไม่เกิน 1 ดริ๊ง/วัน จำกัดการดื่มชา-กาแฟ เลิกสูบบุหรี่ ลดภาวะเครียด             โซเดียม (Sodium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ปรับสมดุลของของเหลวในร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ และมีผลต่อความดันโลหิต พบได้จากอาหารตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว ผัก โดยมีปริมาณเล็กน้อย แต่คนส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมเกินจากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ผงปรุงรสและอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูหยอง กุนเชียง รวมถึงอาหารกระป๋อง เช่น ผักกาดดอง ไข่เค็ม เต้าหู้ยี้ กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น การควบคุมปริมาณโซเดียมสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมของโซเดียมต่อวัน จะสามารถลดความดันได้ 2-8 มิลลิเมตรปรอท และหากผู้ป่วยบริโภคอาหารแบบ DASH Diet ร่วมกับการจำกัดปริมาณโซเดียม สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีกว่าการควบคุมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง             ปริมาณโซเดียมในอาหาร ยกตัวอย่าง ข้าวสวย 1 ทัพพี มีโซเดียม 20 มิลลิกรัม นม 240 มิลลิลิตร มีโซเดียม 120 มิลลิกรัม  ขนมปัง 1 แผ่น มีโซเดียม 130 มิลลิกรัม หมูหยอง 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 23 มิลลิกรัม ไส้กรอกหมู 30 กรัม  มีโซเดียม 200 มิลลิกรัม เนื้อหมูสุก 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 30 มิลลิกรัม             ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส ยกตัวอย่าง ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียม 815 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา มีโซเดียม 104 มิลลิกรัม ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 30 มิลลิกรัม ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา มีโซเดียม 238 มิลลิกรัม ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา มีโซเดียม 237 มิลลิกรัม เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนชา มีโซเดียม 500 มิลลิกรัม ซุปก้อน 1 ก้อน (10 กรัม) มีโซเดียม 1,760 มิลลิกรัม  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคผอม (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)

โรคผอม (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)                 การที่ผู้ป่วยมีค่า Body Mass Index (BMI) ต่ำกว่า < 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร แต่ถ้าเป็นโรคผอมจะนับตั้งแต่ BMI<17.0 กิโลกรัม/ตารางเมตร                 สาเหตุเกิดจากร่างกายสูญเสียพลังงาน หรือใช้พลังงานไปมากกว่าที่ร่างกายได้รับ ก็จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงหรือมีน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ หรือได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น ความยากจน เบื่ออาหาร ไม่เบื่ออาหารแต่กลัวอ้วน จึงล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เรียกโรคนี้ว่าบูลิเมีย เนอร์โวซา (bulimia nervosa) เกิดค่านิยมผิดๆยิ่งผอมยิ่งสวย จิตเวชที่ไม่ทานอาหารเลยพบมากในกลุ่มนางแบบและวัยรุ่น ที่มักคิดว่าตัวเองอ้วน โรคทางกายที่ได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ เช่น มีปัญหาทางช่องปากและฟัน มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ทำให้การย่อยการดูดซึมผิดปกติ                 กลุ่มที่ใช้พลังงานมากกว่าปกติได้แก่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ออกกำลังกายอย่างหนัก รับประทานยาบางชนิดหรือการใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า โรคที่สูญเสียน้ำจนทำให้น้ำหนักลดลวดเร็ว เบาหวาน น้ำตาลในเลือดมากทำให้ปัสสาวะบ่อย โรคที่มีแคลเซียมในร่างกายสูงปกติ เช่นมะเร็งบางชนิด                 อันตรายของโรคผอม หากเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และกระดูกพรุน ตาโปน ถ้าเป็นโรคมะเร็ง หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการลุกลามจนรักษาไม่ได้ ถ้าเป็นการล้วงคออาเจียน หลังรับประทานอาหาร น้ำย่อยในกระเพาะมีกรด ทำให้เกิดแผลในกระพุ้งแก้ม ฟันผุ เสียวฟังได้ง่าย                 แนวทางการรักษาในโภชนบำบัด                 กรณีเป็นโรคกลัวอ้วน จำเป็นต้องได้รับการรักษาปรับความเข้าใจของผู้ป่วยและญาติ ให้ความรู้ด้านสารอาหารและโภชนาการ อาจจะใช้ยาช่วยภาวะทางจิตเวช                 กรณีกินเยอะ แต่ไม่อ้วน ไม่แนะนำให้กินอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด หรืออาหารที่มีไขมันสูง เพื่อให้ได้แคลอรี่มาก เพราะจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงได้ หรือมีพุงแทนที่จะมีกล้ามเนื้อเป็นอาหารเพิ่มโปรตีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่นนม ไข่ ถั่ว ธัญพืช ออกกำลังกาย เช่น ยกเวท โยคะ เพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรเบอรี่ การเพิ่มน้ำหนักควรเพิ่มพลังงานจากเดิม วันละ 500 Kcal/วัน โดยอาจจะเพิ่มมื้ออาหาร อย่าลืมว่าอาหารที่เพิ่มควรจะเป็นโปรตีน หรือข้าว แป้ง ธัญพืชขัดสีน้อยแทน ขนมหวานหรืออาหารมันๆ                - เพิ่มโปรตีนเป็น 1.5-2.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1  กิโลกรัม                - คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เพิ่มขึ้นวันละ300-500 แคลอรี่ต่อวัน จะทำให้น้ำหนักค่อยๆ เพิ่มขึ้น                - นม เป็นแหล่งโปรตีนควรดื่มพร้อมมื้ออาหาร ประมาณ 1-2 แก้ว หรือดื่มหลังออกกำลังกาย                - ไข่ ควรรับประทานทุกวัน วันละ1ฟอง ถ้ามีปัญหาไขมันในเลือดสูง ควรจำกัดการกินไข่แดง ไม่เกิน3ฟอง ต่อสัปดาห์ หรือรับประทานไข่ขาวแทน                - ข้าวสวย1ส่วน=1ทัพพี น้ำหนัก55กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ถ้าเป็นข้าวเหนียว1ส่วน หนักประมาณ35กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ข้าวยังมีโปรตีน แต่มีปริมาณที่น้อย                - พืชตระกูลถั่ว เป็นอีกทางเลือกเพราะให้พลังงานสูง ถั่วอัลมอนด์1กำมือ ประกอบด้วยโปรตีน 7กรัม และไขมันชนิดดี 18กรัม สามารถรับประทานเป็นของว่าง แต่ต้องจำกัดปริมาณ                - เนื้อแดง ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยกรดอะมิโน การรับประทานเนื้อแดงติดมันจะให้พลังงานมากกว่าเนื้อแดงไร้มัน                - เวย์โปรตีน เป็นแหล่งโปรตีนที่ได้รับความนิยมในหมู่นักกล้าม เพิ่มกล้ามเนื้อ ควรรับประทานก่อนหรือหลังออกกำลังกาย หรือคนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ควรรับประทานเวย์โปรตีนเพิ่ม                - ขนมปังโฮลเกรน อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี กินคู่กับโปรตีนช่วยเพิ่มน้ำหนักได้ดี                - อะโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันชนิดดี อะโควาโด 1 ลูกให้พลังงาน 332 กิโลแคลอรี มีวิตามินและเกลือแร่                 นอกจากการเพิ่มอาหารแล้ว ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่อาจส่งผลดีต่อการเพิ่มน้ำหนักได้ ดังนี้ ออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มกล้ามเนื้อที่พอเหมาะ ทำให้อยากอาหารมากขึ้น เน้นโปรตีนและข้าวแป้ง พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง แบ่งมื้ออาหารออกเป็นวันละ 5-6 มื้อ ไม่ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร ลดการกินเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะจะทำให้อยากอาหารลดลง งดการสูบบุหรี่ คนที่สูบบุรีมีแนวโน้มทำให้อยากอาหารลดลงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคไต

โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคไต        การควบคุมอาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกของโรค จะช่วยชะลอความเสื่อมของไต โดยรับประทานโปรตีนต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้ยูเรีย มีปริมาณน้อยลง ไตส่วนที่เหลือทำงานได้เบาลง             ระยะของโรคไตเรื้อรังมี 5 ระยะ แบ่งตามค่าการกรองของไต (GFR)                         ระยะที่1   ค่า GFR > 90%                         ระยะที่2   ค่า GFR = 60-89%                         ระยะที่3   ค่า GFR = 30-59%                         ระยะที่4   ค่า GFR = 15-29%                         ระยะที่5   ค่า GFR < 15%             โปรตีน การรับประทานโปรตีน ร่างกายจะนำไปใช้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเกิดเป็นของเสีย ซึ่งไตทำหน้าที่ขจัดของเสียที่เกิดจากการกินโปรตีนมากเกินไป ส่งผลทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น กรณีรับประทานอาหารโปรตีนน้อยเกินอาจจะทำให้เกิดการขาดสารอาหาร เลือกโปรตีนคุณภาพดี คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อหมูสันใน เนื้อหมูไม่ติดฟัน อกไก่ไม่มีหนัง ไข่ขาว นมพร่องมันเนย นม Low fat หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูยอ แหนม แฮม ชีส โรคไตเรื้อรัง (ระยะก่อนฟอกเลือด) หรือมีค่า GFR ต่ำกว่า 30ml/min/1.73m²  ควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนน้อยหรือตามแพทย์กำหนด                         สูตรคำนวณโปรตีน : น้ำหนักตัวที่เหมาะสม× (0.6-0.8) = โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน (กรัม/วัน)                                 ตัวอย่าง เช่น ตัวน้ำหนักที่เหมาะสมเป็น 55 กิโลกรัม                                                 คำนวณโปรตีนได้ 55×0.8 = 44  กรัม/วัน โรคไตเรื้อรัง (ระยะฟอกเลือด) เลือกอาหารที่มีโปรตีนค่อนข้างสูง หรือตามแพทย์กำหนด สูตรคำนวณโปรตีน : น้ำหนักตัวที่เหมาะสม× 1.2 = โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน (กรัม/วัน)                 ตัวอย่าง เช่น ตัวน้ำหนักที่เหมาะสมเป็น 55 กิโลกรัม                 คำนวณโปรตีนได้ 55×1.2 = 66  กรัม/วัน                 ไขมัน เลือกน้ำมันชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันดอกทานตะวัน เลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม กะทิ                 คาร์โบไฮเดรต สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนฟอกเลือด เลือกรับประทานแป้งปลอดโปรตีน ได้แก่ วุ้นเส้น แป้งมัน สาคู เส้นเซี่ยงไฮ้ ข้าวขาวล้วน เส้นใหญ่                 โพแทสเซียม จำกัด2,000-3,000มก./วัน โพแทสเซียมมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ เมื่อมีภาวะไตเสื่อมการขับโพแทสเซียมจะลดน้อยลง ระดับโพแทสเซียมในเลือดควรน้อยกว่า 5 mEg/L ถ้าโพแทสเซียมในเลือดสูงจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หรือหยุดเต้นได้ ในผู้ป่วยที่ค่า GFR กรองได้ระดับ4-5 ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง                 ผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ แก้วมังกร แคนตาลูป แตงโม แตงไทย ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ทุเรียน มะขามหวาน ลำไยแห้ง อะโวคาโด สตอเบอรี่ ผลไม้กระป๋อง                 ผัก ที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลีม่วง กระชาย กระถิน แครอท ถั่วฝักยาว น้ำลูกยอ ลูกยอ ใบขี้เหล็ก สะเดา สะตอ มะรุม บล็อคโคลี่ มะเขือเทศ หัวปลี มะเขือ มะระจีน ผักหวาน หัวผักกาด เห็ดฟาง เห็ดหูหนู หอมแดง หน่อไม้ แห้ว เผือก มัน ฟักทอง รากบัว                 ผักใบเขียวทุกชนิด สามารถนำมาลวกหรือต้ม เพื่อลดโพแทสเซียมในผักลดลงได้ กรณีค่าโพแทสเซียมมากกว่า5.5 ให้งดกินผลไม้ทุกชนิด                 ฟอสฟอรัส มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก การที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูงจะส่งผลต่อกระดูกซึมแคลเซียม  ทำไมกระดูกไม่แข็งแรงและฟอสฟอรัสจะจับกับแคลเซียมในเลือด ทำให้เกิดหินปูนตามหลอดเลือด เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ฟอสฟอรัสเริ่มควบคุม เมื่อไตเสื่อมเข้าสู่ระยะที่3 พบมากใน นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนย คุกกี้ ขนมปัง ไอศครีม กาแฟผง ถั่วลิสง ถั่วแดง ไมโล โอวัลติน โกโก้ เป๊ปซี่ น้ำแร่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ข้าวโพด งา ทองหยิบ ไข่แดง แมลงต่างๆ เมล็ดพืช ปลากรอบ กุ้งแห้ง เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ปลากระป๋อง                 โซเดียม จำกัดไม่เกิน 2,000 มก./วัน อาหารเค็มทำให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังบวม การควบคุมอาหารได้แก่ การทำอาหารลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารสำเร็จรูป ลดการเติมน้ำปลา ซีอิ้ว เกลือ ใช้เครื่องปรุงสูตรโซเดียมต่ำ อาหารอื่นๆ ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ ไส้กรอก หมูหยอง ปลาเค็ม อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ของหมักดอง ปลาร้า กะปิ ผักดอง ขนมกรุบกรอบ เฟรนฟราย ผงฟู เป็นต้น ปริมาณน้ำสะอาดที่ควรดื่ม คำนวณได้จากปริมาตร ปัสสาวะต่อวัน + น้ำ 500 มิลลิลิตร งดเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น ยาต้ม ยาหมอ ยาลูกกลอน โรคไตมักจะขาดวิตามินบี6 , วิตามิน D , กรดโฟลิก , ธาตุสังกะสี และแคลเซียม                 การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรัง กรณีผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง รับประทานได้ แต่ ต้องจำกัดและไม่ควรเครียดเกินไป เพราะอาจจะทำให้ทรุดหนักได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคอ้วน

โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคอ้วน               การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของประเทศไทยแตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก เมื่อก่อนซื้อของในตลาด ปัจจุบันซื้ออาหารสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อปัญหาสุขภาพที่ตามมาจึงพบมากขึ้นได้แก่ ภาวะอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ปัญหาโรคอ้วนพบในหลายประเทศทั่วโลก จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า อัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว หลังปีพ.ศ. 2518 ประชากรโลกอายุมากกว่า18 ปีขึ้นไป เป็นโรคอ้วนถึง 650 ล้านคน             จะเห็นได้ว่าการเกิดภาวะโรคอ้วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น และยังพบว่าธุรกิจลดความอ้วนในไทยได้รับความนิยม เช่น คลินิกลดความอ้วน การโฆษณาต่างๆ การกินยาลดน้ำหนัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเมื่อเราอ้วน เราควรที่จะจำกัดการรับประทานอาหารหรือลดการบริโภคอาหาร บวกกับการออกกำลังกาย หากไม่ตั้งใจจริง ขาดความอดทน ไม่ปฏิบัติต่อเนื่องก็จะไม่ประสบความสำเร็จ             คำว่า “อ้วน” มี 2 ความหมาย คือ น้ำหนักเกินหรือท้วม(Overweight) กับ โรคอ้วน(Obesity) โดยคำนวณจากค่าดัชชีมวลกาย (BMI) โรคอ้วน  BMI > 30 กิโลกรัมตารางเมตร (เกณฑ์องค์การอนามัยโลก)             น้ำหนักเกินหรือท้วม หมายถึง ค่า BMI > 25 กิโลกรัมตารางเมตร             การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index)              BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม)                            ความสูง (เมตร)²             สาเหตุหลักของความอ้วน 1.พันธุกรรม 2.การทำงานผิดปกติของต่อมไร้ท่อ 3.พฤติกรรมการกิน 4.ขาดการออกกำลังกาย 5.สาเหตุอื่น เช่น สภาพแวดล้อม  การวัดเส้นรอบเอว                ผู้ชาย เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 36 นิ้ว (90 ซ.ม.)                ผู้หญิง เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 32 นิ้ว (80 ซ.ม.) รูปร่างอ้วนมี 2 รูปแบบ คือ Apple Shape และ Pear Shape               รูปร่าง แอปเปิ้ลเชฟ จะมีไขมันบริเวณหน้าท้องมากกว่าสะโพก               รูปร่าง แพร์เชฟ จะมีช่วงไหล่ และเอวที่เล็กกว่าสะโพก การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นอาหารกลุ่มไขมันต่ำ น้ำหนักค่อย ๆ ลดลงสม่ำเสมอ อาหารเผ็ดโดยเฉพาะพริก สามารถช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหลังเวลา18:00 น. ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหาร ควรเคี้ยวอาหารช้า ๆ อย่านอนดึก กำหนดพลังงานควรลดวันละ 300-500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน รับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ควรงดไขมัน เพิ่มการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงขนมหวาน ผลไม้ที่มีแป้งมาก เช่น ทุเรียน อาหารทอด อาหารมันมากๆ  เพิ่มการรับประทานใยอาหาร ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จำกัดการรับประทานอาหารกลุ่มข้าว แป้ง รับประทาน ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และจัดสัดส่วนให้เหมาะสม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับเด็ก

ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับเด็ก                   ช่วง 6 เดือนแรกอาหารที่ดีที่สุดของทารกนั้นคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารมากมาย เช่น DHA ช่วยบำรุงสมองและสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ เพราะในนมถั่วเหลือง (โคลอสตรัม) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่านมวัว 3,000 เท่า มีสารช่วยย่อย และช่วยเร่งการเจริญเติบโต                 อาหารสำหรับเด็กทารก 6 เดือน ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ปลาช่อน ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว หรือข้าวกล้องบด มันฝรั่งและไข่แดงบด น้ำซุปผัก ไข่ตุ๋น+ผักนิ่มๆ ผลไม้สุกจัดนิ่มๆ เช่นมะละกอบด, มะม่วงสุกบด, กล้วยน้ำหว้าบด, น้ำส้มคั้นสดไม่มีเมล็ด ไม่ควรปรุงรสใดๆ เป็นรสหวานธรรมชาติ ไข่แดงควรมีทุกมื้ออาหาร นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วมาบี้ใส่ในข้าวตุ๋น ถ้าคุณแม่กลัวลูกแพ้ไข่ขาว เริ่มให้รับประทานไข่ขาวเมื่ออายุครบ 1ขวบก็ได้ อาหารค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย สังเกตการรับประทานอาหารของทารก ว่าสิ่งไหนชอบสิ่งไหนไม่ชอบ                 อาหารสำหรับเด็ก 7 เดือน เน้นวัตถุดิบที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด ผักต้มนิ่มๆ 2-4 อย่างบดรวมกัน กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ จะได้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น                 อาหารสำหรับเด็ก  6-9 เดือน บางคนมีฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งหรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น มีการพัฒนาการหยิบจับของ เช่นหยิบอาหารกินเอง                อาหารสำหรับเด็ก 8-9 เดือน อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็กๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่มๆ ขนมปังแผ่น มันฝรั่ง พืชผัก ผลไม้ คละสีสัน มีความหยาบ ละเอียด มีกลิ่นรสหลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ถือรับประทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม อาหารโปรตีนสูงแต่นุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนกันไป ปริมาณอาหารที่เหมาะสมใน 1 มื้อ ของเด็กคือ ข้าวสวย 5 ช้อน เนื้อสัตว์ ไข่ 2 ช้อน ผักนิ่มๆ 2 ช้อน ผลไม้ 3 ชิ้นพอดีคำ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา                 อาหารสำหรับเด็กวัย10-12 เดือน เด็กสามารถกินอาหารหยาบได้ อาหารควรเปลี่ยนจากบดหรือสับ มาเป็นหั่นชิ้นเล็กแทน เช่น มักกะโรนีต้ม ข้าวต้ม หรือเนื้อปลาสับหยาบ กินอาหาร 3 มื้อ                 โภชนาการเด็ก 1-3 ปี เด็กช่วงนี้กำลังหัดเดิน ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยทารกสู่วัยเด็กเล็ก ลูกจะสนุกกับการเดินรอบๆ ค้นหารสิ่งใหม่ๆ การจัดอาหาร ต้องอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ วันละ 4-6 มื้อ (รวมมื้อว่าง) เน้นโปรตีน เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และได้รับพลังงานที่เพียงพอ วันละ 1,000 Kcal./วัน รวมให้นมแม่ด้วย พลังงานส่วนใหญ่มาจาก ข้าวแป้ง-ธัญพืช น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์ หมวดข้าวแป้ง รับประทานมื้อละ 1 ทัพพี เน้นข้าวกล้อง หรือ ข้าวซ้อมมื้อ เพราะมีแร่ธาตุ และวิตามินใยอาหารมากกว่าข้าวขาวปกติ หมวดเนื้อสัตว์ ควรรับประทานเป็น ไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู ปลา ไก่ ถั่วต้มเปื่อย หรือเต้าหู้ โปรตีนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโต ควรได้รับ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และควรได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ เด็กควรได้กินไข่ 1 ฟองทุกวัน และดื่มนมทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง หมวดไขมัน ไขมันนอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามิน A D E K เด็กได้รับน้ำมันชนิดดีต่อสุขภาพ 3 ช้อนชาต่อวัน หมวดผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ควรให้เด็กรับประทานผักหลากสีสัน ควรรับประทานผักมื้อละครึ่งทัพพี เป็นผักสีเข้ม เช่น เขียวเข้ม ส้มเข้ม แดงเข้ม เหลืองเข้ม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการรอบด้าน สมวัย หมวดผลไม้ มีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ควรรับประทานผลไม้สด มากกว่าผลไม้แปรรูป หรือน้ำผลไม้เพราะบางครั้งมีรสหวานมากเกินไป เฉลี่ย 1 วัน เด็กควรได้รับประทานผลไม้ 3 ส่วน หมวดนม ควรส่งเสริมให้เด็กดื่มนมทุกวัน  เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอ  เสริมสร้างมวลกระดูก เด็กควรดื่มนมจืดวันละ 2-3 แก้ว   ปริมาณอาหารที่เพียงพอ สำหรับเด็ก 4-6 ปี                                                 กลุ่มข้าวแป้ง         วันละ 5 ทัพพี                                                 กลุ่มผัก                  วันละ 3 ทัพพี                                                 กลุ่มผลไม้             วันละ 3 ส่วน                                                 กลุ่มนม                 วันละ 2-3 แก้ว (1 แก้ว ปริมาณ 240 มิลลิลิตร)                                                 กลุ่มเนื้อสัตว์        วันละ 4 ช้อนโต๊ะ (กรณีเด็กดื่มนมไม่ถึง 2-3 แก้วต่อวัน แล้วต้องเพิ่มเนื้อสัตว์ในอาหารขึ้นเล็กน้อย)                                                 กลุ่มไขมัน            น้ำมันวันละ 5 ช้อนชา (ควรเป็นไขมันดี)                                                 ส่วนน้ำตาล, เกลือ รับประทานได้เล็กน้อย                 การจัดอาหารสำหรับเด็ก คุณพ่อและคุณแม่สามารถยืดหยุ่นให้ลูกได้ บางมื้อลูกอาจรับประทานได้มาก บางมื้อรับประทานได้น้อย พ่อแม่ไม่ควรเครียดเกินไป และควรค้นหาสิ่งที่ลูกเราชอบ จัดอาหารที่รู้ใจ เช่น ดูว่าลูกชอบอะไรไม่ชอบอะไร สร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหาร การจัดอาหารต้องมีโอเมก้า 3  และโอเมก้า 6 เพราะมีในอาหารเท่านั้น ร่างกายสร้างเองไม่ได้ พบมากในปลาและเนื้อสัตว์ เน้นปลาทะเล ไขมันมีความสำคัญต่อระบบสมอง ควรเลือกไขมันที่ดีต่อสุขภาพ                 การที่เด็กได้รับโภชนาการที่ดีเพียงพอ สามารถดูได้จากส่วนสูง น้ำหนักที่สมดุล อยู่ในระดับปกติของกราฟวัดการเจริญเติบโต มีความร่าเริง สดใส ไม่เจ็บป่วยบ่อย เช่น เป็นหวัด ท้องเสีย                 การให้เด็กรับประทานอาหารมากเกินไป อาจจะทำให้เด็กเกิดภาวะอ้วนได้ หรือเด็กชอบรับประทานขนมหรือผลไม้รสหวานน้อยๆ เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
<