การควบคุมอาหารกับโรคความดันโลหิตสูง

การควบคุมอาหารกับโรคความดันโลหิตสูง             การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันความดันโลหิตสูง สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยน้ำหนักตัวที่ลดลง 10 กิโลกรัม จะลดความดันโลหิตซิสทอลิค (ความดันช่วงหัวใจบีบตัว) ได้โดยเฉลี่ย 5-20 มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็ควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ต่อไป ควบคุมดัชนีมวลกาย = 18.5-22.9 Kg/m2 ลดการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง กิจกรรมการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ การรับประทานอาหารในรูปแบบ DASH Diet การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนมที่ไขมันต่ำ รวมถึงการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว การจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชายไม่เกิน 2 ดริ๊ง/วัน ผู้หญิงไม่เกิน 1 ดริ๊ง/วัน จำกัดการดื่มชา-กาแฟ เลิกสูบบุหรี่ ลดภาวะเครียด             โซเดียม (Sodium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ปรับสมดุลของของเหลวในร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ และมีผลต่อความดันโลหิต พบได้จากอาหารตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว ผัก โดยมีปริมาณเล็กน้อย แต่คนส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมเกินจากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ผงปรุงรสและอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูหยอง กุนเชียง รวมถึงอาหารกระป๋อง เช่น ผักกาดดอง ไข่เค็ม เต้าหู้ยี้ กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น การควบคุมปริมาณโซเดียมสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมของโซเดียมต่อวัน จะสามารถลดความดันได้ 2-8 มิลลิเมตรปรอท และหากผู้ป่วยบริโภคอาหารแบบ DASH Diet ร่วมกับการจำกัดปริมาณโซเดียม สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีกว่าการควบคุมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง             ปริมาณโซเดียมในอาหาร ยกตัวอย่าง ข้าวสวย 1 ทัพพี มีโซเดียม 20 มิลลิกรัม นม 240 มิลลิลิตร มีโซเดียม 120 มิลลิกรัม  ขนมปัง 1 แผ่น มีโซเดียม 130 มิลลิกรัม หมูหยอง 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 23 มิลลิกรัม ไส้กรอกหมู 30 กรัม  มีโซเดียม 200 มิลลิกรัม เนื้อหมูสุก 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 30 มิลลิกรัม             ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส ยกตัวอย่าง ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียม 815 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา มีโซเดียม 104 มิลลิกรัม ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 30 มิลลิกรัม ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา มีโซเดียม 238 มิลลิกรัม ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา มีโซเดียม 237 มิลลิกรัม เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนชา มีโซเดียม 500 มิลลิกรัม ซุปก้อน 1 ก้อน (10 กรัม) มีโซเดียม 1,760 มิลลิกรัม  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โรคผอม (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)

โรคผอม (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์)                 การที่ผู้ป่วยมีค่า Body Mass Index (BMI) ต่ำกว่า < 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร แต่ถ้าเป็นโรคผอมจะนับตั้งแต่ BMI<17.0 กิโลกรัม/ตารางเมตร                 สาเหตุเกิดจากร่างกายสูญเสียพลังงาน หรือใช้พลังงานไปมากกว่าที่ร่างกายได้รับ ก็จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงหรือมีน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ หรือได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น ความยากจน เบื่ออาหาร ไม่เบื่ออาหารแต่กลัวอ้วน จึงล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เรียกโรคนี้ว่าบูลิเมีย เนอร์โวซา (bulimia nervosa) เกิดค่านิยมผิดๆยิ่งผอมยิ่งสวย จิตเวชที่ไม่ทานอาหารเลยพบมากในกลุ่มนางแบบและวัยรุ่น ที่มักคิดว่าตัวเองอ้วน โรคทางกายที่ได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ เช่น มีปัญหาทางช่องปากและฟัน มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ทำให้การย่อยการดูดซึมผิดปกติ                 กลุ่มที่ใช้พลังงานมากกว่าปกติได้แก่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ออกกำลังกายอย่างหนัก รับประทานยาบางชนิดหรือการใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า โรคที่สูญเสียน้ำจนทำให้น้ำหนักลดลวดเร็ว เบาหวาน น้ำตาลในเลือดมากทำให้ปัสสาวะบ่อย โรคที่มีแคลเซียมในร่างกายสูงปกติ เช่นมะเร็งบางชนิด                 อันตรายของโรคผอม หากเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และกระดูกพรุน ตาโปน ถ้าเป็นโรคมะเร็ง หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการลุกลามจนรักษาไม่ได้ ถ้าเป็นการล้วงคออาเจียน หลังรับประทานอาหาร น้ำย่อยในกระเพาะมีกรด ทำให้เกิดแผลในกระพุ้งแก้ม ฟันผุ เสียวฟังได้ง่าย                 แนวทางการรักษาในโภชนบำบัด                 กรณีเป็นโรคกลัวอ้วน จำเป็นต้องได้รับการรักษาปรับความเข้าใจของผู้ป่วยและญาติ ให้ความรู้ด้านสารอาหารและโภชนาการ อาจจะใช้ยาช่วยภาวะทางจิตเวช                 กรณีกินเยอะ แต่ไม่อ้วน ไม่แนะนำให้กินอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด หรืออาหารที่มีไขมันสูง เพื่อให้ได้แคลอรี่มาก เพราะจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงได้ หรือมีพุงแทนที่จะมีกล้ามเนื้อเป็นอาหารเพิ่มโปรตีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่นนม ไข่ ถั่ว ธัญพืช ออกกำลังกาย เช่น ยกเวท โยคะ เพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรเบอรี่ การเพิ่มน้ำหนักควรเพิ่มพลังงานจากเดิม วันละ 500 Kcal/วัน โดยอาจจะเพิ่มมื้ออาหาร อย่าลืมว่าอาหารที่เพิ่มควรจะเป็นโปรตีน หรือข้าว แป้ง ธัญพืชขัดสีน้อยแทน ขนมหวานหรืออาหารมันๆ                - เพิ่มโปรตีนเป็น 1.5-2.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1  กิโลกรัม                - คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เพิ่มขึ้นวันละ300-500 แคลอรี่ต่อวัน จะทำให้น้ำหนักค่อยๆ เพิ่มขึ้น                - นม เป็นแหล่งโปรตีนควรดื่มพร้อมมื้ออาหาร ประมาณ 1-2 แก้ว หรือดื่มหลังออกกำลังกาย                - ไข่ ควรรับประทานทุกวัน วันละ1ฟอง ถ้ามีปัญหาไขมันในเลือดสูง ควรจำกัดการกินไข่แดง ไม่เกิน3ฟอง ต่อสัปดาห์ หรือรับประทานไข่ขาวแทน                - ข้าวสวย1ส่วน=1ทัพพี น้ำหนัก55กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ถ้าเป็นข้าวเหนียว1ส่วน หนักประมาณ35กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ข้าวยังมีโปรตีน แต่มีปริมาณที่น้อย                - พืชตระกูลถั่ว เป็นอีกทางเลือกเพราะให้พลังงานสูง ถั่วอัลมอนด์1กำมือ ประกอบด้วยโปรตีน 7กรัม และไขมันชนิดดี 18กรัม สามารถรับประทานเป็นของว่าง แต่ต้องจำกัดปริมาณ                - เนื้อแดง ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยกรดอะมิโน การรับประทานเนื้อแดงติดมันจะให้พลังงานมากกว่าเนื้อแดงไร้มัน                - เวย์โปรตีน เป็นแหล่งโปรตีนที่ได้รับความนิยมในหมู่นักกล้าม เพิ่มกล้ามเนื้อ ควรรับประทานก่อนหรือหลังออกกำลังกาย หรือคนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ควรรับประทานเวย์โปรตีนเพิ่ม                - ขนมปังโฮลเกรน อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี กินคู่กับโปรตีนช่วยเพิ่มน้ำหนักได้ดี                - อะโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันชนิดดี อะโควาโด 1 ลูกให้พลังงาน 332 กิโลแคลอรี มีวิตามินและเกลือแร่                 นอกจากการเพิ่มอาหารแล้ว ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่อาจส่งผลดีต่อการเพิ่มน้ำหนักได้ ดังนี้ ออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มกล้ามเนื้อที่พอเหมาะ ทำให้อยากอาหารมากขึ้น เน้นโปรตีนและข้าวแป้ง พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง แบ่งมื้ออาหารออกเป็นวันละ 5-6 มื้อ ไม่ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร ลดการกินเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะจะทำให้อยากอาหารลดลง งดการสูบบุหรี่ คนที่สูบบุรีมีแนวโน้มทำให้อยากอาหารลดลงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคไต

โภชนบำบัดอาหารผู้ป่วยโรคไต        การควบคุมอาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกของโรค จะช่วยชะลอความเสื่อมของไต โดยรับประทานโปรตีนต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้ยูเรีย มีปริมาณน้อยลง ไตส่วนที่เหลือทำงานได้เบาลง             ระยะของโรคไตเรื้อรังมี 5 ระยะ แบ่งตามค่าการกรองของไต (GFR)                         ระยะที่1   ค่า GFR > 90%                         ระยะที่2   ค่า GFR = 60-89%                         ระยะที่3   ค่า GFR = 30-59%                         ระยะที่4   ค่า GFR = 15-29%                         ระยะที่5   ค่า GFR < 15%             โปรตีน การรับประทานโปรตีน ร่างกายจะนำไปใช้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเกิดเป็นของเสีย ซึ่งไตทำหน้าที่ขจัดของเสียที่เกิดจากการกินโปรตีนมากเกินไป ส่งผลทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น กรณีรับประทานอาหารโปรตีนน้อยเกินอาจจะทำให้เกิดการขาดสารอาหาร เลือกโปรตีนคุณภาพดี คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อหมูสันใน เนื้อหมูไม่ติดฟัน อกไก่ไม่มีหนัง ไข่ขาว นมพร่องมันเนย นม Low fat หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูยอ แหนม แฮม ชีส โรคไตเรื้อรัง (ระยะก่อนฟอกเลือด) หรือมีค่า GFR ต่ำกว่า 30ml/min/1.73m²  ควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนน้อยหรือตามแพทย์กำหนด                         สูตรคำนวณโปรตีน : น้ำหนักตัวที่เหมาะสม× (0.6-0.8) = โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน (กรัม/วัน)                                 ตัวอย่าง เช่น ตัวน้ำหนักที่เหมาะสมเป็น 55 กิโลกรัม                                                 คำนวณโปรตีนได้ 55×0.8 = 44  กรัม/วัน โรคไตเรื้อรัง (ระยะฟอกเลือด) เลือกอาหารที่มีโปรตีนค่อนข้างสูง หรือตามแพทย์กำหนด สูตรคำนวณโปรตีน : น้ำหนักตัวที่เหมาะสม× 1.2 = โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน (กรัม/วัน)                 ตัวอย่าง เช่น ตัวน้ำหนักที่เหมาะสมเป็น 55 กิโลกรัม                 คำนวณโปรตีนได้ 55×1.2 = 66  กรัม/วัน                 ไขมัน เลือกน้ำมันชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันดอกทานตะวัน เลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม กะทิ                 คาร์โบไฮเดรต สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนฟอกเลือด เลือกรับประทานแป้งปลอดโปรตีน ได้แก่ วุ้นเส้น แป้งมัน สาคู เส้นเซี่ยงไฮ้ ข้าวขาวล้วน เส้นใหญ่                 โพแทสเซียม จำกัด2,000-3,000มก./วัน โพแทสเซียมมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ เมื่อมีภาวะไตเสื่อมการขับโพแทสเซียมจะลดน้อยลง ระดับโพแทสเซียมในเลือดควรน้อยกว่า 5 mEg/L ถ้าโพแทสเซียมในเลือดสูงจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หรือหยุดเต้นได้ ในผู้ป่วยที่ค่า GFR กรองได้ระดับ4-5 ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง                 ผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ แก้วมังกร แคนตาลูป แตงโม แตงไทย ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ทุเรียน มะขามหวาน ลำไยแห้ง อะโวคาโด สตอเบอรี่ ผลไม้กระป๋อง                 ผัก ที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลีม่วง กระชาย กระถิน แครอท ถั่วฝักยาว น้ำลูกยอ ลูกยอ ใบขี้เหล็ก สะเดา สะตอ มะรุม บล็อคโคลี่ มะเขือเทศ หัวปลี มะเขือ มะระจีน ผักหวาน หัวผักกาด เห็ดฟาง เห็ดหูหนู หอมแดง หน่อไม้ แห้ว เผือก มัน ฟักทอง รากบัว                 ผักใบเขียวทุกชนิด สามารถนำมาลวกหรือต้ม เพื่อลดโพแทสเซียมในผักลดลงได้ กรณีค่าโพแทสเซียมมากกว่า5.5 ให้งดกินผลไม้ทุกชนิด                 ฟอสฟอรัส มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก การที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูงจะส่งผลต่อกระดูกซึมแคลเซียม  ทำไมกระดูกไม่แข็งแรงและฟอสฟอรัสจะจับกับแคลเซียมในเลือด ทำให้เกิดหินปูนตามหลอดเลือด เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ฟอสฟอรัสเริ่มควบคุม เมื่อไตเสื่อมเข้าสู่ระยะที่3 พบมากใน นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนย คุกกี้ ขนมปัง ไอศครีม กาแฟผง ถั่วลิสง ถั่วแดง ไมโล โอวัลติน โกโก้ เป๊ปซี่ น้ำแร่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ข้าวโพด งา ทองหยิบ ไข่แดง แมลงต่างๆ เมล็ดพืช ปลากรอบ กุ้งแห้ง เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ปลากระป๋อง                 โซเดียม จำกัดไม่เกิน 2,000 มก./วัน อาหารเค็มทำให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังบวม การควบคุมอาหารได้แก่ การทำอาหารลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารสำเร็จรูป ลดการเติมน้ำปลา ซีอิ้ว เกลือ ใช้เครื่องปรุงสูตรโซเดียมต่ำ อาหารอื่นๆ ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ ไส้กรอก หมูหยอง ปลาเค็ม อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ของหมักดอง ปลาร้า กะปิ ผักดอง ขนมกรุบกรอบ เฟรนฟราย ผงฟู เป็นต้น ปริมาณน้ำสะอาดที่ควรดื่ม คำนวณได้จากปริมาตร ปัสสาวะต่อวัน + น้ำ 500 มิลลิลิตร งดเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น ยาต้ม ยาหมอ ยาลูกกลอน โรคไตมักจะขาดวิตามินบี6 , วิตามิน D , กรดโฟลิก , ธาตุสังกะสี และแคลเซียม                 การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรัง กรณีผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง รับประทานได้ แต่ ต้องจำกัดและไม่ควรเครียดเกินไป เพราะอาจจะทำให้ทรุดหนักได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคอ้วน

โภชนบำบัดผู้ป่วยโรคอ้วน               การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันของประเทศไทยแตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก เมื่อก่อนซื้อของในตลาด ปัจจุบันซื้ออาหารสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อปัญหาสุขภาพที่ตามมาจึงพบมากขึ้นได้แก่ ภาวะอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ปัญหาโรคอ้วนพบในหลายประเทศทั่วโลก จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า อัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว หลังปีพ.ศ. 2518 ประชากรโลกอายุมากกว่า18 ปีขึ้นไป เป็นโรคอ้วนถึง 650 ล้านคน             จะเห็นได้ว่าการเกิดภาวะโรคอ้วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น และยังพบว่าธุรกิจลดความอ้วนในไทยได้รับความนิยม เช่น คลินิกลดความอ้วน การโฆษณาต่างๆ การกินยาลดน้ำหนัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเมื่อเราอ้วน เราควรที่จะจำกัดการรับประทานอาหารหรือลดการบริโภคอาหาร บวกกับการออกกำลังกาย หากไม่ตั้งใจจริง ขาดความอดทน ไม่ปฏิบัติต่อเนื่องก็จะไม่ประสบความสำเร็จ             คำว่า “อ้วน” มี 2 ความหมาย คือ น้ำหนักเกินหรือท้วม(Overweight) กับ โรคอ้วน(Obesity) โดยคำนวณจากค่าดัชชีมวลกาย (BMI) โรคอ้วน  BMI > 30 กิโลกรัมตารางเมตร (เกณฑ์องค์การอนามัยโลก)             น้ำหนักเกินหรือท้วม หมายถึง ค่า BMI > 25 กิโลกรัมตารางเมตร             การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index)              BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม)                            ความสูง (เมตร)²             สาเหตุหลักของความอ้วน 1.พันธุกรรม 2.การทำงานผิดปกติของต่อมไร้ท่อ 3.พฤติกรรมการกิน 4.ขาดการออกกำลังกาย 5.สาเหตุอื่น เช่น สภาพแวดล้อม  การวัดเส้นรอบเอว                ผู้ชาย เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 36 นิ้ว (90 ซ.ม.)                ผู้หญิง เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 32 นิ้ว (80 ซ.ม.) รูปร่างอ้วนมี 2 รูปแบบ คือ Apple Shape และ Pear Shape               รูปร่าง แอปเปิ้ลเชฟ จะมีไขมันบริเวณหน้าท้องมากกว่าสะโพก               รูปร่าง แพร์เชฟ จะมีช่วงไหล่ และเอวที่เล็กกว่าสะโพก การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นอาหารกลุ่มไขมันต่ำ น้ำหนักค่อย ๆ ลดลงสม่ำเสมอ อาหารเผ็ดโดยเฉพาะพริก สามารถช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหลังเวลา18:00 น. ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหาร ควรเคี้ยวอาหารช้า ๆ อย่านอนดึก กำหนดพลังงานควรลดวันละ 300-500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน รับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ควรงดไขมัน เพิ่มการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงขนมหวาน ผลไม้ที่มีแป้งมาก เช่น ทุเรียน อาหารทอด อาหารมันมากๆ  เพิ่มการรับประทานใยอาหาร ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จำกัดการรับประทานอาหารกลุ่มข้าว แป้ง รับประทาน ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และจัดสัดส่วนให้เหมาะสม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับเด็ก

ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับเด็ก                   ช่วง 6 เดือนแรกอาหารที่ดีที่สุดของทารกนั้นคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารมากมาย เช่น DHA ช่วยบำรุงสมองและสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ เพราะในนมถั่วเหลือง (โคลอสตรัม) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่านมวัว 3,000 เท่า มีสารช่วยย่อย และช่วยเร่งการเจริญเติบโต                 อาหารสำหรับเด็กทารก 6 เดือน ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ปลาช่อน ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว หรือข้าวกล้องบด มันฝรั่งและไข่แดงบด น้ำซุปผัก ไข่ตุ๋น+ผักนิ่มๆ ผลไม้สุกจัดนิ่มๆ เช่นมะละกอบด, มะม่วงสุกบด, กล้วยน้ำหว้าบด, น้ำส้มคั้นสดไม่มีเมล็ด ไม่ควรปรุงรสใดๆ เป็นรสหวานธรรมชาติ ไข่แดงควรมีทุกมื้ออาหาร นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วมาบี้ใส่ในข้าวตุ๋น ถ้าคุณแม่กลัวลูกแพ้ไข่ขาว เริ่มให้รับประทานไข่ขาวเมื่ออายุครบ 1ขวบก็ได้ อาหารค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย สังเกตการรับประทานอาหารของทารก ว่าสิ่งไหนชอบสิ่งไหนไม่ชอบ                 อาหารสำหรับเด็ก 7 เดือน เน้นวัตถุดิบที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด ผักต้มนิ่มๆ 2-4 อย่างบดรวมกัน กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ จะได้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น                 อาหารสำหรับเด็ก  6-9 เดือน บางคนมีฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งหรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น มีการพัฒนาการหยิบจับของ เช่นหยิบอาหารกินเอง                อาหารสำหรับเด็ก 8-9 เดือน อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็กๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่มๆ ขนมปังแผ่น มันฝรั่ง พืชผัก ผลไม้ คละสีสัน มีความหยาบ ละเอียด มีกลิ่นรสหลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ถือรับประทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม อาหารโปรตีนสูงแต่นุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนกันไป ปริมาณอาหารที่เหมาะสมใน 1 มื้อ ของเด็กคือ ข้าวสวย 5 ช้อน เนื้อสัตว์ ไข่ 2 ช้อน ผักนิ่มๆ 2 ช้อน ผลไม้ 3 ชิ้นพอดีคำ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา                 อาหารสำหรับเด็กวัย10-12 เดือน เด็กสามารถกินอาหารหยาบได้ อาหารควรเปลี่ยนจากบดหรือสับ มาเป็นหั่นชิ้นเล็กแทน เช่น มักกะโรนีต้ม ข้าวต้ม หรือเนื้อปลาสับหยาบ กินอาหาร 3 มื้อ                 โภชนาการเด็ก 1-3 ปี เด็กช่วงนี้กำลังหัดเดิน ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยทารกสู่วัยเด็กเล็ก ลูกจะสนุกกับการเดินรอบๆ ค้นหารสิ่งใหม่ๆ การจัดอาหาร ต้องอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ วันละ 4-6 มื้อ (รวมมื้อว่าง) เน้นโปรตีน เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และได้รับพลังงานที่เพียงพอ วันละ 1,000 Kcal./วัน รวมให้นมแม่ด้วย พลังงานส่วนใหญ่มาจาก ข้าวแป้ง-ธัญพืช น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์ หมวดข้าวแป้ง รับประทานมื้อละ 1 ทัพพี เน้นข้าวกล้อง หรือ ข้าวซ้อมมื้อ เพราะมีแร่ธาตุ และวิตามินใยอาหารมากกว่าข้าวขาวปกติ หมวดเนื้อสัตว์ ควรรับประทานเป็น ไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู ปลา ไก่ ถั่วต้มเปื่อย หรือเต้าหู้ โปรตีนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโต ควรได้รับ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และควรได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ เด็กควรได้กินไข่ 1 ฟองทุกวัน และดื่มนมทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง หมวดไขมัน ไขมันนอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามิน A D E K เด็กได้รับน้ำมันชนิดดีต่อสุขภาพ 3 ช้อนชาต่อวัน หมวดผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ควรให้เด็กรับประทานผักหลากสีสัน ควรรับประทานผักมื้อละครึ่งทัพพี เป็นผักสีเข้ม เช่น เขียวเข้ม ส้มเข้ม แดงเข้ม เหลืองเข้ม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการรอบด้าน สมวัย หมวดผลไม้ มีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ควรรับประทานผลไม้สด มากกว่าผลไม้แปรรูป หรือน้ำผลไม้เพราะบางครั้งมีรสหวานมากเกินไป เฉลี่ย 1 วัน เด็กควรได้รับประทานผลไม้ 3 ส่วน หมวดนม ควรส่งเสริมให้เด็กดื่มนมทุกวัน  เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอ  เสริมสร้างมวลกระดูก เด็กควรดื่มนมจืดวันละ 2-3 แก้ว   ปริมาณอาหารที่เพียงพอ สำหรับเด็ก 4-6 ปี                                                 กลุ่มข้าวแป้ง         วันละ 5 ทัพพี                                                 กลุ่มผัก                  วันละ 3 ทัพพี                                                 กลุ่มผลไม้             วันละ 3 ส่วน                                                 กลุ่มนม                 วันละ 2-3 แก้ว (1 แก้ว ปริมาณ 240 มิลลิลิตร)                                                 กลุ่มเนื้อสัตว์        วันละ 4 ช้อนโต๊ะ (กรณีเด็กดื่มนมไม่ถึง 2-3 แก้วต่อวัน แล้วต้องเพิ่มเนื้อสัตว์ในอาหารขึ้นเล็กน้อย)                                                 กลุ่มไขมัน            น้ำมันวันละ 5 ช้อนชา (ควรเป็นไขมันดี)                                                 ส่วนน้ำตาล, เกลือ รับประทานได้เล็กน้อย                 การจัดอาหารสำหรับเด็ก คุณพ่อและคุณแม่สามารถยืดหยุ่นให้ลูกได้ บางมื้อลูกอาจรับประทานได้มาก บางมื้อรับประทานได้น้อย พ่อแม่ไม่ควรเครียดเกินไป และควรค้นหาสิ่งที่ลูกเราชอบ จัดอาหารที่รู้ใจ เช่น ดูว่าลูกชอบอะไรไม่ชอบอะไร สร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหาร การจัดอาหารต้องมีโอเมก้า 3  และโอเมก้า 6 เพราะมีในอาหารเท่านั้น ร่างกายสร้างเองไม่ได้ พบมากในปลาและเนื้อสัตว์ เน้นปลาทะเล ไขมันมีความสำคัญต่อระบบสมอง ควรเลือกไขมันที่ดีต่อสุขภาพ                 การที่เด็กได้รับโภชนาการที่ดีเพียงพอ สามารถดูได้จากส่วนสูง น้ำหนักที่สมดุล อยู่ในระดับปกติของกราฟวัดการเจริญเติบโต มีความร่าเริง สดใส ไม่เจ็บป่วยบ่อย เช่น เป็นหวัด ท้องเสีย                 การให้เด็กรับประทานอาหารมากเกินไป อาจจะทำให้เด็กเกิดภาวะอ้วนได้ หรือเด็กชอบรับประทานขนมหรือผลไม้รสหวานน้อยๆ เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

โภชนบำบัดควบคุมอาหารเมื่อเป็นเบาหวาน กินอย่างไรให้มีสุข?

การควบคุมอาหารกับโรคเบาหวาน จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ปัจจุบันคนไทยอายุมากกว่า 35 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากถึง 2.4 ล้านคน โดยมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ที่ไปพบแพทย์เพราะมีอาการอย่างอื่น เช่น แผลติดเชื้อ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เป็นต้น โดยอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบ่งง่ายๆ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. อาหารที่ “ไม่ควร” รับประทาน น้ำตาลทุกชนิดเช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปิ๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ขนมหวานต่างๆ         ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมข้นหวาน นมปรุงแต่งรสหวาน โยเกิร์ตปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกต อินทผลัม รวมถึงผลไม้กระป๋อง อาหารปรุงแต่งด้วยไขมันอิ่มตัว เช่นไขมันสัตว์ ไส้กรอก หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ เนยเทียม ครีม 2. อาหารที่รับประทานได้แต่ต้อง “จำกัดปริมาณ” อาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ขนมปัง เผือก มัน ฟักทอง อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาล และมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล และเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานให้เหมาะสมกับแรงงานและกิจกรรมที่ทำ การรับประทานข้าวน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ การเลือกรับประทานข้าวควรเลือกเป็น ข้าวกล้อง หรือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพราะมีใยอาหารสูง ผลไม้ ผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกัน ยิ่งรสหวานมากยิ่งมีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย องุ่น เงาะ มะม่วงสุก ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวาน ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน เช่น รับประทานวันละ 3 มื้อ มื้อละ7-8 ชิ้นพอดีคำ 3. อาหารที่รับประทานได้ “ไม่จำกัดปริมาณ” ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกวัน ทุกมื้ออาหาร รับประทานให้หลากหลายสี อาหารเหล่านี้แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ได้อย่างพอดี ได้แก่ ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ตำลึง บวบ ฟัก แตงกวา น้ำเต้า ถั่วฝักยาว ถั่วงอก เป็นต้น จะรับประทานในรูปผักสดหรืผักต้มก็ได้ แต่ไม่แนะนำในรูปน้ำผักปั่น โดยเฉพาะผักปั่นแยกกากทำให้เราไม่ได้รับใยอาหารเท่าที่ควร องค์การอนามัยโลกกำหนดให้บริโภคผักผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับปริมาณ 4-6  ทัพพี ถ้าเป็นผักลวกสุกต้องเพิ่มขึ้น 2 เท่า งานวิจัยพบว่าการกินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจร้อยละ 33 และโรคมะเร็งร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับคนที่กินผัก ผลไม้ ไม่ถึงเกณฑ์ ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร? ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรเรียนรู้ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทาน และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ประกอบด้วยข้าวหรืออาหารแป้งอื่น ๆ เนื้อสัตว์ไม่ติดทัน ไข่ น้ำนมพร่องมันเนย ผักทั้งสีเขียวและสีเหลือง ผลไม้ที่หวานน้อยในปริมาณที่แนะนำ สำหรับไขมันควรเลือกน้ำมันพืช จำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ในการผัดแทนการทอดเลี่ยงการใช้ไขมันอิ่มตัวเป็นประจำ เช่น น้ำมันหมู กะทิ เนย ฯลฯ  อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ควรเหมาะกับน้ำหนักตัว และแรงงานที่ใช้ เช่น หญิงที่น้ำหนักตัวปกติและทำงานเบารับประทานข้าวได้มื้อละ 2 – 3 ทัพพีเล็ก ชายที่ไม่อ้วนทำงานเบาถึงปานกลาง รับประทานข้าวได้มื้อละ 3 – 4 ทัพพีเล็ก ข้าว 1 ทัพพีเล็ก = ขนมปังปอน 1 แผ่น หรือ = ก๋วยเตี๋ยว 1 ทัพพี        = ขนมจีน 1 ทัพพี *ทัพพีเล็ก หมายถึง ทัพพีในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตักพูนพอควร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรใช้แนวทางการเลือกอาหารที่แนะนำไว้ และก่อนรับประทาน อาหารควรสำรวจรายการอาหารก่อน ถ้าเป็นอาหารบุพเฟ่ซึ่งมีอาหารหลากหลายควรดูให้ทั่ว และวางแผนการรับประทานอาหารในมื้อนั้นควรตักข้าวในปริมาณที่เคยรับประทาน ถ้าต้องการรับประทานทั้งข้าวและขนมปัง หรือแป้งชนิดอื่นด้วย ควรลดปริมาณแต่ละอย่างลง เลือกกับข้าวที่มีไขมันน้อยและมีผักมาก เช่น ต้ม ย่าง ยำ และผัด เนื้อสัตว์ตัดส่วนที่ติดมันและหนังออก เลี่ยงน้ำจิ้มที่มีรสหวาน หรือจิ้มแต่น้อย ผู้เป็นโรคเบาหวานอาจรับประทานขนมได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ควรเลือกขนมที่หวานน้อย และต้องวางแผนลดข้าว อาหารที่มีไขมัน รวมทั้งงดผลไม้ในมื้อนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่น ถ้ารับประทานเค้ก 1 ชิ้นเล็ก (ขนาด 1 x 1 นิ้ว) หรือถ้าขนมที่มีน้ำเชื่อม เช่น ซาหริ่ม ทับทิมกรอบ ให้ตักเพียงครึ่งถ้วย และลดข้าวลงประมาณ 1 ทัพพี จากที่เคยรับประทานไม่ควรงดข้าวและรับประทานแต่ขนมเพราะจะทำให้ไม่สามารถควบคุมรับน้ำตาลในเลือดได้และไม่ควรรับประทานขนมที่หวานจัดมาก เช่น ขนมเชื่อม ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา การรับประทานขนมหวานนี้ ผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานแต่น้อย พอคลายความ อยากเท่านั้น และไม่ควรทำบ่อย อาจทำในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเท่านั้น สำหรับเครื่องดื่ม ควรเลือกน้ำเปล่าหรือโซดาแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากจะดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว และดื่มแต่เพียงเล็กน้อย เช่น เบียร์หรือไวน์ ไม่เกิน 2 แก้ว ถ้าเป็นวิสกี้เจือจาง (45 มิลลิลิตร) ไม่เกิน 2 แก้ว สำหรับผู้ที่ยังติดรสหวาน อาจใช้น้ำตาลเทียม ซึ่งให้รสหวาน แต่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดเพิ่ม การนับคาร์บหรือคาร์โบไฮเครต คาร์โบไฮเครตเป็นอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งเมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือด พบได้ในอาหาร 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ข้าวแป้ง ผลไม้ นม/โยเกิร์ต ในขณะที่ผักและเนื้อสัตว์ มีน้อย จึงไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลมากนัก อาหาร 1 คาร์บ คือ อาหารที่มีคาร์โบเดรต ประมาณ 15 กรัม เช่น ข้าวสวย 1 ทัพพี , ข้าวเหนียว 1/2 ทัพพี , ขนมปัง1แผ่น , แอปเปิ้ล 1 ลูก , นมสด 240 ml , น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ  ปริมาณเฉลี่ยที่ควรรับประทาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ชาย ไม่เกิน 5 คาร์บ ต่อมื้อ ผู้หญิงไม่เกิน 4 คาร์บ ต่อมื้อ * หมายเหตุ : ปริมาณข้างต้นเป็นเพียงปริมาณเฉลี่ยเท่านั้น ผู้ป่วยแต่ละรายมีความต้องการคาร์โบไฮเดรตไม่เท่ากัน จึงควรปรึกษานักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ ถึงปริมาณเหมาะสมอีกครั้ง การแลกเปลี่ยนคาร์บ หมายถึง อาหารที่คาร์โบไฮเดรต เท่ากับสารอาหารแลกเปลี่ยนกันได้ การคำนวณหาความต้องการคาร์โบไฮเดรตในแต่ละวัน (ความต้องการพลังงานใน1วัน) ×50÷100= ______กิโลแคลอรี่ = กิโลแคลอรี่÷4=_______กรัมต่อวัน (คาร์โบไฮเดรต1กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่) (สัดส่วนของการกระจายพลังงาน CHO50% Prot30% Fat20%) * ผู้ป่วยสามารถดูตารางแสดงคุณค่าอาหารในหมวดอาหารแลกเปลี่ยนได้   โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ การคำนวณหาโปรตีนสำหรับบุคคลทั่วไป อยู่ที่ 0.8-1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม×0.8 กรัม = 40 กรัมต่อวัน เนื้อสัตว์1ส่วนจะมีโปรตีนอยู่ 7 กรัม *ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่นปลา , เนื้อสัตว์ , อกไก่ ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ การคำนวณหาความต้องการไขมันในแต่ละวัน (ความต้องการพลังงานใน1วัน)×30÷100=_______ Kcal. กิโลแคลอรี่÷9=_______กรัมต่อวัน น้ำมัน1ช้อนโต๊ะ มีไขมัน 15 กรัม ให้พลังงาน 135 Kcal. * ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก , น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

อาหารกับโรคไขมันในเลือดสูง

อาหารกับโรคไขมันในเลือดสูง                 โรคไขมันในเลือดสูงเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด                 สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ขาดการออกกำลังกาย การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเกินความจำเป็นของร่างกาย โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น พันธุกรรม                 ไขมันในเลือดที่สำคัญ ไตรกลีเซอไรด์ ร่างกายสร้างขึ้นได้เองจากน้ำตาล แป้ง แอลกอฮอล์ และส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร ถ้ารับประทานมากเกินไปสามารถทำให้หลอดเลือดอุดตันได้ คอเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง และส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แหล่งคอเลสเตอรอลในอาหารที่พบมาก เช่น ไข่แดง ปลาหมึก หอยนางรม เครื่องในสัตว์ นม เนย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 2.1 คอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-C) หากมีระดับสูงเกินไปจะไปสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน 2.2 คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-C) เป็นชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำ คอเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง                 เป้าหมายในการควบคุมไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ < 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คอเลสเตอรอลรวม < 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร LDL-C < 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร HDL-C > 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้ชาย ในผู้หญิง > 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร                 การเลือกรับประทานอาหาร เลี่ยงการรับประทานไขมันสัตว์ เช่น มันหมู หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมูติดมัน หนังสัตว์ มันไก่ หากจะรับประทานเนื้อไก่ ให้เลือกส่วนอกและส่วนที่ไม่ติดหนัง ใช้เนื่อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวให้น้อย เช่น เนื้อปลา อกไก่ เนื้อสันนอก สันใน เป็นต้น เลี่ยงการรับประทานไขมันจากมะพร้าว เช่น กะทิข้น ควรเลี่ยงการรับประทานเมนูแกงกะทิ เช่น แกงเผ็ด แกงแพนง แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ ควรใช้กะทิธัญพืชหรือนมพร่องมันเนยแทน เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต สมอง ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ไม่จำกัด เครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย เลี่ยงการใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และไขมันจากสัตว์ เช่น มันไก่ มันหมูหลอมเป็นน้ำมันเพื่อนำมาปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันรำข้าวทั้งผัดและทอดอาหาร โดยไม่ใช้ไฟแรงเกินไป หรือใช้น้ำมันพืชยี่ห้ออื่นๆ ตามชอบ เลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น เค้ก คุ้กกี้ พาย  ขนมปัง มันฝรั่งทอด น้ำมันทอดซ้ำ ลดการบริโภคอาหารที่เติมน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ขนมไทย เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง (สังเกตปริมาณน้ำตาลจากฉลากโภชนาการ) เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง งดหรือลดการสูบบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชขัดสีน้อย เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำ แกงเลียง แกงส้ม แกงป่า แกงจืด ต้มยำน้ำใส ปลา+นึ่งผัก ปลาย่าง อาหารผัดน้ำมันน้อย อาหารทอดไม่อมน้ำมัน อาหารอมน้ำมัน เช่น ไข่ฟู ปลาท่องโก๋ ไก่ชุบแป้งทอด เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง ปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ปลาทะเลดังกล่าวมีโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี รับประทานอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันตับปลา หากรับประทานในปริมาณที่มากก็สามารถทำให้อ้วนได้ เลือกรับประทานนมชนิดไขมันต่ำ เช่น นมพร่องมันเนย                                 ข้อแนะนำในการเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร น้ำมันมะกอก (Extravirgin olive oil)           = ทำสลัด น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า น้ำมันมะกอก (Pure olive oil) น้ำมันงา น้ำมันดอกทานตะวัน   = ปรุงอาหารทั่วไป น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันข้าวโพด                    = ห้ามทอดอาหาร น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มเคอร์เบิล            = ปรุงอาหารทั่วไป น้ำมันปาล์มโอเลอิน                                      = ทอดในอุณหภูมิสูง ทอดน้ำมันท่วม ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงควรงดน้ำมันชนิดที่ 4 และ 5                   ไขมัน MUFA เป็นไขมันธรรมชาติ พบในน้ำมันพืชบางชนิด ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันร้าย (LDL-C) ไม่มีผลต่อไขมันดี (HDL-C) พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เรพซีด น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา ถั่วอัลมอนด์ ถั่วลิสง                 ไขมัน PUFA เป็นไขมันจากธรรมชาติ พบมากในน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดไขมันร้าย (LDL-C) แต่ลดไขมันดี (HDL-C) ด้วย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM)

คุณแม่จะต้องมีการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด ได้แก่ การควบคุมอาหารประเภทข้าวแป้งและน้ำตาลอย่างเข้มงวด แต่หากควบคุมไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ยาอินซูลินฉีด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนใหญ่พบในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่3 เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes, GDM) สามารถแบ่งออกเป็น2ระดับความรุนแรง คือ                    Class A1 (glucose intolerance) พบได้ร้อยละ 90 ในหญิงตั้งครรภ์ รักษาด้วยการควบคุมอาหาร                    Class A2 (Overt DM) หมายถึงมี fasting hyperglycemia คือระดับน้ำตาลมากกว่า 105 มก./ดล. รักษาด้วยการฉีดอินซูลิน      หลักการควบคุมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่มื้อเดียว โดยแบ่งเป็น 3 มื้อหลัก อาหารว่าง 3 มื้อ รับประทานอาหารที่ให้พลังงานจากกลุ่มโปรตีน ไขมันชนิดดี หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮมสวีท เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน (เนื้อสัตว์) และผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักจำพวกใบ เพราะมีใยอาหารและวิตามินมาก ส่วนนม ควรรับประทานเป็นนมจืด หรือนมพร่องมันเนย ควรงดหรือหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป                 คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ หลังคลอดบุตร ระดับน้ำตาลจะดีขึ้นเอง แต่อย่างไรก็ตามสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มีภาวะน้ำตาลจะดีขึ้นเอง แต่อย่างไรก็ตามสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต สูงกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติ จึงควรดูแล และควบคุมอาหารอยู่สม่ำเสมอ ลดการรับประทาน ขนมหวาน เครื่องดื่มหวานต่างๆ แกงหวาน และควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกปี ความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่คุณแม่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ พิการแต่กำเนิดหรือแท้งบุตร (สำหรับคุณแม่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์) น้ำตาลในเลือดสูง ระบบประสาทพัฒนาได้ไม่ดี ความเสี่ยงของลูกน้อยหลังคลอด ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ น้ำหนักมากกว่า 4,500 กรัม น้ำตาลในเลือดต่ำ คลอดก่อนกำหนด ปัญหาการหายใจ มีโอกาสเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน COVID-19

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน COVID-19 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 โรคเรื้อรัง จัดเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ์จะเริ่มฉีดวัคซีนโควิด 19 ล็อตแรกในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ นอกจากเรื่องลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อมจะเป็นที่สนใจกันส่วนใหญ่แล้ว เพื่อตอบคำถามผู้ที่มีข้อสงสัยและความกังวล และเพื่อผลการทำงานของวัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดความเสี่ยง ผลข้างเคียง รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน  จึงได้สรุปคำแนะนำในการฉีดวัคซีน COVID-19 ดังนี้   ก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 - 2 วันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก หรือ ยกน้ำหนัก และ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ - กรณีเจ็บป่วย ไม่สบาย ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน ต้องรักษาตัวให้ทุเลาก่อน อย่างน้อย 2 วัน ถึงจะทำการฉีดวัคซีนได้ - วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี   - งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 วัน - รับประทานอาหารประจำมื้อ   ระหว่างขณะเข้ารับวัคซีนโควิด-19 - เมื่อถึงวันนัดหมายควรไปถึงสถานที่ฉีดก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที เตรียมบัตรประชาชน ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการลงทะเบียนผ่านไลน์ “หมอพร้อม” ในโทรศัพท์มือถือ - รักษามาตรการป้องกันพื้นฐานอย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง พกแอลกอฮอล์เจล การแต่งกาย สวมเสื้อที่สะดวกต่อการฉีดวัคซีน -วัดอุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิตก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน - ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัดและหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก - ผู้มาฉีดควรกินยาโรคประจำตัว มาตามปกติ ถ้า กินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ให้กินยาตามปกติแต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งๆ ตรงตำแหน่งที่ฉีด 1  นาที -หากมีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาประจำตัว โดยเฉพาะยากดภูมิหรือยาที่มีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เช่น ยารักษาโรคไมเกรน กลุ่ม ergotamine ควรปรึกษาแพทย์หรือแจ้งพยาบาลก่อนรับวัคซีน   หลังรับวัคซีนโควิด-19 - สังเกตอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาล 30 นาที ก่อนกลับบ้าน หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ให้รีบแจ้งพยาบาลหรือแพทย์ทันที - หลังฉีด 2 วัน อย่าใช้แขนข้างที่ฉีด อย่าเกร็ง หรือยกของหนัก - ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหว สามารถทานพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ด สามารถทานซ้ำได้ถ้าจำเป็นโดยเว้นระยะเวลาห่าง 6 ชั่วโมง ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่มนี้ กรณีจำเป็นควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ - เมื่อกลับบ้านแล้วควรประเมินอาการตัวเองต่อเนื่องอีก 48-72 ชั่วโมง บางรายอาจพบผลข้างเคียงเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลข้างเคียงเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม บริเวณที่ฉีด และผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้ต่ำๆ เมื่อยล้า หรือ มีลมพิษ ซึ่งหลังจากได้รับวัคซีนครึ่งชั่วโมง - 2 ชั่วโมง อาการจะค่อยๆ ลดลง แต่ถ้าไข้ขึ้นสูงมาก แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ควรกลับไปโรงพยาบาล หรือโทร 1669 เพื่อประเมินอาการทันที - การฉีดวัคซีนโควิด ควรห่างจากไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อย 1 เดือน   ข้อห้ามและข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนโควิด 19 วัคซีนทุกชนิดมีข้อห้ามคือ แพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนและเนื่องจากวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนใหม่จึงอาจไม่มีความรู้ในเรื่องปฏิกิริยาการแพ้ที่พบไม่บ่อย ในช่วงแรกจึงควรฉีดวัคซีนเหล่านี้ในสถานพยาบาลหรือสถานที่ ที่ให้การช่วยเหลือกรณีมีปฏิกิริยารุนแรง และควรเฝ้าระวังอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการดังต่อไปนี้ หลังได้รับวัคซีน รีบไปพบแพทย์ ณ สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทร 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง เหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือ หายใจไม่ออก อาเจียน มากกว่า 5 ครั้ง ผื่นขึ้นทั้งตัว ผิวหนังลอก มีจุดจ้ำเลือดออกจำนวนมาก ใบหน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ต่อมน้ำเหลืองโต ชัก หรือหมดสติ โดยข้อปฏิบัติตัวถือเป็นแนวทางที่ควรทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อลดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งนี้หลังจากได้วัคซีนเข็มแรกควรเตรียมตัวสำหรับการนัดหมายฉีดวัคซีนเข็มที่สอง ทั้งนี้ทุกคนยังคงต้องสวมหน้ากากรักษาระยะห่างและล้างมือทั้งก่อนระหว่างและหลังการฉีดวัคซีน   อ้างอิง : กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำสำหรับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในผู้เป็นเบาหวาน

คำแนะนำสำหรับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในผู้เป็นเบาหวาน เหตุใดผู้เป็นเบาหวานควรได้รับวัคซีน ? ผู้เป็นโรคเบาหวานหากคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดความรุนแรงจากการติดเชื้อได้มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรง และอัตราการเสียชีวิต จากโรคโควิด 19 ได้มากกว่าร้อยละ 90 ผู้ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด สามารถได้รับวัคซีนได้ โดยกดบริเวณที่ฉีดยาให้แน่นอย่างน้อย 2 นาที และแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนได้รับการฉีดวัคซีน *ผู้ที่กินยาวาร์ฟาริน ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวัดระดับการแข็งตัวของเลือด ให้เหมาะสมก่อนรับวัคซีน วัคซีนโควิด 19 กับระดับน้ำตาลในเลือด หลังฉีดวัคซีน อาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ควรมีการเจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอ ภายใน 48 ชั่วโมงหลังฉีดยา และหากมีน้ำตาลสูงควรฉีดยาแก้ระดับน้ำตาลที่สูงให้ลงมาเป็นปกติ หรือกินยาตามคำแนะนำของแพทย์ การดูแลตนเองหลังฉีดวัคซีน แนวทางอื่นๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด 19 ในผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอและฉีดยา หรือกินยา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ พักผ่อนและดูแลร่างกายให้แข็งแรง และผ่อนคลายจิตใจมีสุขภาวะที่ดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม