ทันตกรรม

           โรงพยาบาลวิภาวดีให้บริการตรวจรักษาทางทันตกรรมอย่างครบวงจรตามมาตรฐานสากล โดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทันตบุคลากรที่ผ่านการอบรม ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ผ่านกระบวนการปลอดเชื้อตามมาตรฐานสากล 

ข้อมูลทันตกรรม

บริการและการรักษา     

                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

อุดฟัน

โดยใช้วัสดุสีเดียวกันฟัน หลังจากบูรณะบริเวณที่ผุแล้ว เราจะเห็นตัวฟันที่เราบูรณะแล้ว มีลักษณะเหมือนฟันธรรมชาติปกติ ก่อนที่จะมีการผุ     

                                                                                                                       

ปิดช่องว่างระหว่างฟัน

ในคนที่มีฟันหน้าห่าง เช่น ฟันคู่หน้าห่างกัน เราสามารถปิดช่องห่างนั้น โดยการอุดฟันโดยใช้วัสดุ สีเดียวกับฟัน หลังจากบูรณะแล้ว จะเห็นเป็นฟันธรรมชาติปกติอยู่ชิดกัน โดยไม่ต้องใช้วิธีจัดฟัน   

              

ต่อฟันที่หัก บิ่น

เช่น ฟันหน้า บนหรือล่าง ที่เกิดอุบัติเหตุ ล้มเกิดฟันหัก หรือบิ่นไป โดยที่รอยหักยังไม่ถึงโพรงประสาทฟัน เราสามารถบูรณะเติมส่วนที่หักหรือบิ่นไปให้เหมือนฟันปกติได้ โดยไม่ต้องทำครอบฟัน      

                   

ทันตกรรมสำหรับเด็ก   เรื่องน่ารู้ในการดูแลฟันเด็ก                                                                                                       

      การเริ่มตรวจสุขภาพในช่องปากของเด็ก  มีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรเริ่มตรวจตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น (หรืออายุประมาณ 6 เดือน) การพบทันตแพทย์นั้นไม่ใช่เพื่อตรวจซี่ฟันเท่านั้น  แต่คุณหมอจะมีโอกาส ได้พูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพฟัน และช่องปากให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก รวมถึงการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง

      สำหรับลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ท่านใด ที่เริ่มมีฟันผุไปบ้างแล้ว ก็ควรพบคุณหมอเพื่อเริ่มขั้นตอนการรักษาฟันผุ ความคิดในสมัยก่อนที่เชื่อว่า ฟันน้ำนมก็จะผุ เสียก็ไม่เป็นไร อีกประเดี๋ยวฟันแท้ก็จะขึ้นแล้วนั้น ไม่ถูกต้องค่ะ ถ้าต้องการให้ฟันแท้ดี ฟันน้ำนมจะต้องดีก่อน เมื่อฟันน้ำนมแข็งแรงทานอาหารได้ดี พัฒนาการของขากรรไกร และใบหน้าเป็นไปอย่างถูกต้อง เด็กสุขภาพแข็งแรง ฟันแท้ก็จะดีตามไปด้วย

 

ประโยชน์ของฟลูออไรด์ 

ฟลูออไรด์ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่า มีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันตแพทย์อาจจะแนะนำหลายๆ หนทาง ในการให้ฟลูออไรด์ในเด็ก ดังนี้ 

  1. การรับฟลูออไรด์จากน้ำดื่ม หรือการทานฟลูออไรด์เสริม ทั้งจากการได้รับจากน้ำดื่ม(ในบางบริเวณที่มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม) หรือจากการทานฟลูออไรด์เสริม โดยควรประเมินว่าควรทานหรือไม่จากทันตแพทย์
  2. การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์
  3. การแปรงฟันด้วย ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ หรือการใช้น้ำยาบ้วนปาก ที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบในเด็กที่มีอายุ 6 ปีขึ้น โดยจากผลการวิจัยพบว่าฟลูออไรด์ จะช่วยลดการเกิดฟันผุได้มากกว่า 50% ในเด็ก                                                                                                

ฟันผุจากขวดนม (Baby Bottle Tooth Decay)

        การเกิดฟันผุจากขวดนม พบว่าเป็นสาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็ก โดยเกิดจากการที่ฟันของเด็กสัมผัสกับของเหลว ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่เป็นประจำ เช่น นมขวด รวมถึงนมแม่ด้วย , น้ำผลไม้ และน้ำหวานต่างๆ การป้องกันการเกิดฟันผุในเด็ก เริ่มทำความสะอาดช่องปากให้เด็กทารกที่มีอายุเพียง 2-3 วันหลังจากการดูดนมแม่ทุกครั้ง โดยเริ่มจากการใช้ผ้าชุบน้ำหรือผ้าก๊อสเช็ดตามบริเวณเหงือกของเด็ก ทั้งนี้เพื่อขจัดคราบต่างๆออกไป อย่าให้เด็กอมขวดนมหรือดูดนมแม่ติดต่อกันนานมากเกินไป ห้ามให้เด็กดูดนมหรือน้ำหวานต่างๆจนกระทั่งเด็กหลับคาขวดนม ถ้าเด็กติดขวดนมจริงๆก็ให้ใช้น้ำเปล่าใส่ขวดนมให้เด็กดูดแทน พยายามให้เด็กเลิกดูดขวดนมโดยเร็วที่สุด และดื่มนมจากถ้วยแทนเมื่อเด็กเริ่มถือถ้วยเองได้แล้ว ปลูกฝังให้เด็กรู้จักการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสอนให้เด็กมีสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร

 

การเคลือบร่องฟัน

        การเคลือบร่องฟัน จะสามารถช่วยป้องกันฟันผุที่จะเกิดบนด้านบดเคี้ยว โดยวัสดุที่ใช้จะเป็นพลาสติกใสหรือมีสีอื่นๆ ก็ได้ โดยจะเคลือบไปบนด้านบดเคี้ยว อุดปิดหลุมและร่องบนตัวฟันของฟันหลัง ซึ่งเป็นที่ที่จะเกิดฟันผุได้บ่อยและยังช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

       เด็กชอบดูดนิ้ว

        ในทารกหรือเด็กเล็กการดูดนิ้วถือเป็นสิ่งปกติ อย่างไรก็ตามเมื่อฟันแท้เริ่มขึ้นมาในช่องปาก และถ้าเด็กยังคงติดนิสัยดูดนิ้วอยู่แล้วละก็ เด็กอาจจะมีความผิดปกติในการเจริญเติบโต ของอวัยวะในช่องปาก,โครงสร้างขากรรไกร รวมทั้งการเรียงตัวของฟันก็อาจจะผิดปกติไปด้วย ควรให้เด็กเลิกดูดนิ้วโดยเด็ดขาด ก่อนเด็กอายุ 4 ขวบ โดยพ่อแม่ควรจะให้รางวัลเด็ก เมื่อเด็กสามารถ หยุดหรือเลิกจากการดูดนิ้วได้ ถ้าการตักเตือนดีๆ เช่น การให้รางวัลหรือใช้เหตุผลไม่ได้ผล พ่อแม่อาจจะผ้าพันแผลพันที่ นิ้วเด็กเอาไว้เมื่อเด็กเข้านอน หรือจะใช้ถุงเท้าสวมมือเด็กเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กดูดนิ้วได้

 

ฟันยางป้องกัน

        เด็กที่ชอบออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเสมอๆ เช่น ฟุตบอล , ขี่จักรยาน , Roller Blade , Skate ควรจะใส่ฟันยางเอาไว้เพื่อป้องกันการกระแทกกันของฟัน ซึ่งจะทำอันตรายต่อฟัน เหงือกและช่องปากได้ฟันยางแบบสำเร็จรูป สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วๆไป และทำไว้หลายขนาดให้เลือกตามขนาดของช่องปาก อย่างไรก็ตามถ้าต้องการฟันยางที่สามารถใส่ได้พอดี กับช่องปากของเด็กแต่ละคน ทันตแพทย์ก็สามารถทำให้ได้ โดยสามารถปรึกษาทันตแพทย์ของท่านถึงฟันยางป้องกันได้

 

ภาวะฉุกเฉินต่างๆ

       การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินในทางทันตกรรมในเด็ก จะเป็นจุดตัดสินว่า เด็กจะสามารถเก็บรักษาฟันเอาไว้ได้ต่อไปหรือไม่ หากฟันหลุดออกมาจากช่องปากเนื่องจากอุบัติเหตุ ถ้าฟันสกปรกหรือมีฝุ่นผงติดอยู่ ให้จับที่ตัวฟันห้ามโดนรากฟันและล้างฟันด้วยน้ำเย็นที่ไหลเบาๆไม่เกิน 10 วินาที ห้ามขัดถูเพื่อเอาเศษเนื้อที่ติดอยู่ออก จากนั้นให้ใส่ฟันซี่นั้นกลับไป ในที่ที่มันหลุดออกมา แล้วจึงพาเด็กไปพบทันตแพทย์ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้นำฟันใส่ลงในถ้วยที่มีน้ำนมหรือน้ำเกลือ (normal saline) แล้วพาเด็กพร้อมกับฟันซี่นั้น ไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด ถ้าเป็นไปได้ควรไปพบทันตแพทย์ภายใน 30 นาที          ทั้งนี้หากเกิดอุบัติเหตุกับฟันและช่องปาก ผู้ปกครองควรนำบุตรหลานมาตรวจทันที เพื่อลดผลที่อาจตามมาหลังอุบัติเหตุและรับคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับอุบัติเหตุ

 

ทันตกรรมจัดฟัน

  • การจัดฟันด้วยเครื่องมือแบบถอดได้                                                                            
  • การจัดฟันแบบติดแน่น ด้วยเครื่องมือสีโลหะและสีเหมือนฟัน                                                    
  • การจัดฟันแบบเร็วด้วย Damon system                                                                                             
  • การจัดฟันแบบใส ไม่ต้องติดเหล็ก (Invisalign)                                                                                                                                       
  • การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) คือ การการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันที่อักเสบ หรือเป็นหนองออก ทำให้อาการเจ็บปวดหายไป แล้วยังมีฟันไว้ใช้งานได้ตามปกติ 

       ลักษณะและอาการแสดงของฟัน ที่อาจต้องรับการรักษารากฟัน   เมื่อการอักเสบหรือการติดเชื้อรุนแรงขึ้น เช่น กรณีที่ฟันผุลึกมากฟันถูกกระแทกแรงๆ จากอุบัติเหตุ ฟันที่แตกหักไปจนทะลุเข้าไปในโพรงฟันเนื้อเยื่อในโพรงฟันก็จะถูกทำลาย และเน่าตายไปในที่สุด  เมื่อเนื้อเยื่อในโพรงฟันมีการอักเสบมักเริ่มด้วยอาการเสียวฟันจากการดื่มน้ำเย็น น้ำร้อน จากนั้นการปวดอาจเกิดขึ้นเองแม้ไม่มีสิ่งกระตุ้นอาการเหล่านี้อาจเป็นๆ หายๆ หรือบางครั้งอาจปวดรุนแรงจนนอนไม่ได้สีของฟันอาจคล้ำลง แต่บางครั้งอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ เลยก็ได้ หากปล่อยให้การอักเสบนานไป อาจทำให้เชื้อโรคออกไปทำลายกระดูกรอบๆฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการเคี้ยวเจ็บ หรือเกิดตุ่มหนองทั้งภายในช่องปาก หรือบริเวณใบหน้า ถ้ากรณีที่กระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้

 

ผลเสียของการถอนฟัน แทนการรักษารากฟัน 

  • กระดูกบริเวณนั้นจะเกิดการยุบตัวลงไป ทำให้เมื่อทำฟันปลอมจะไม่สวยเหมือนฟันธรรมชาติ การบดเคี้ยวด้อยประสิทธิภาพลง
  • ถ้าฟัน ถูกถอนไปนานๆ โดยไม่มีการใส่ฟันปลอมทดแทน ฟันที่อยู่ข้างเคียงซี่ที่ถอนไปจะเกิดล้มเอียง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน ซึ่งทำให้เศษอาหารติด และอาจมีโรคเหงือกอักเสบตามมา
  • ฟันคู่สบ ของฟันที่ถูกถอนไป ก็สามารถยื่นเข้ามาในบริเวณของฟันที่ถูกถอนไป ทำให้มีระดับของฟันไม่สม่ำเสมอ กรณีที่ฟันยื่นลงมามากจนไปกัด ทำให้สันเหงือกอักเสบอาจต้องพิจารณาถอนฟันที่ยื่นยาวนั้นออกไปด้วย
  • การเคี้ยวอาหารเพียงข้างเดียว หรือมีการเคี้ยวเฉพาะบริเวณที่มีฟันอยู่ครบ อาจทำให้เกิดการสึกของฟัน หรือเกิดอาการปวดของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว และข้อต่อขากรรไกรได้

 

ขั้นตอนในการรักษาคลองรากฟัน 

       ทันตแพทย์ จะทำความสะอาดโพรงฟันให้ปลอดเชื้อด้วยเครื่องมือเล็กๆ ร่วมกับน้ำยาคลองรากฟัน และการใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟัน การรักษาปกติใช้เวลา 2-3 ครั้ง แต่ในบางกรณีสามารถทำให้เสร็จในครั้งเดียวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันแต่ละซี่ เมื่อคลองรากฟันสะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วทันตแพทย์จะอุดคลองรากฟันให้แน่นด้วยวัสดุอุดคลองรากฟันและซีเมนต์เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรั่วซึมของเชื้อโรคไปยังปลายราก

 

ข้อควรทราบในการรักษารากฟัน

  • เมื่อเริ่มทำการรักษาแล้ว ควรมารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและตรงตามนัด(ปกติสัปดาห์ละครั้ง) เพราะถ้าทิ้งช่วงนานเกินไปจะมีการสะสมของเชื้อโรค ทำให้ผลสำเร็จในการรักษาลดลง                               
  • ให้รับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์สั่ง หรือถ้ามีเหตุฉุกเฉิน หรือความผิดปกติใดๆ ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์                                                                                                                        
  • ระหว่างรับการรักษา ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานที่ฟันบริเวณนั้น โดยเฉพาะ 1 วันแรกหลังมารับการรักษา เพื่อให้วัสดุอุดชั่วคราวแข็งตัว                                                                                         
  • ถ้าวัสดุอุดชั่วคราวหลุด แตกหักหรือเสียหายควรรีบมาพบทันตแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด                                                                                                                                         
  • เมื่อรักษารากฟันเสร็จสมบูรณ์แล้ว ควรบูรณะฟันซี่นั้นๆด้วยวัสดุอุดฟันแบบถาวร หรือทำครอบฟันตามความเหมาะสม

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่แผนกทันตกรรม (ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ)

เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. โทร. 0-2058-1111 , 0-2561-1111 ต่อ 4520-21

add friends

 

ความรู้เกี่ยวกับฟันอื่นๆ

แพคเกจและโปรโมชั่นทันตกรรม

ทีมแพทย์ทันตกรรม

<